Skip to main content

แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

แม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนา

หมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระ

แกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว พวกทหารญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกที่เป็นฝรั่งมาสร้างทางรถไฟอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน เชลยศึกพวกนี้ผอมโกรกแต่ต้องทำงานหนัก พอไม่มีแรงก็โดนเฆี่ยนโดนตี ที่ทนไม่ไหวตายไปก็มาก มีชาวบ้านสงสารเอาอาหารมาให้ พวกทหารญี่ปุ่นรู้เข้าก็ห้าม มีแม่ค้าคนหนึ่งสงสารพวกฝรั่งมาก แต่จะเอาของกินไปให้ก็กลัวพวกญี่ปุ่น เลยทำอุบายเอาหาบใส่ของมาเจาะรู พอเข้ามาใกล้บริเวณที่ทำทางรถไฟ ก็เอาขนมเอาผลไม้มาใส่หาบ เดินไปเขย่าไป ผลไม้ก็ร่วงลงตามทาง พวกเชลยฝรั่งก็มาเก็บไปกิน พอพวกผู้คุมมาเอาเรื่อง แกบอกว่า มันร่วงของมันเอง ไม่ได้ตั้งใจจะให้

ชะรอยว่า เชลยฝรั่งคงจะซึ้งใจจนกลายเป็นความรัก เพราะพอสถานการณ์พลิกกลับ ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยเหนืออักษะ ทหารญี่ปุ่นล่าถอยไป เชลยได้รับการปลดปล่อย อดีตเชลยคนหนึ่งก็พาแม่ค้าคนนั้นขึ้นเครื่องบินกลับไปอยู่เมืองฝรั่งด้วย

ผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีต่อชุมชนแถบนั้นอีกสองอย่าง คือหนึ่ง สนามบินที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ ได้กลายมาเป็นตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ของอำเภอท่ายาง ที่เรียกกันว่า “ตลาดหนองบ้วย” และสอง ทหารญี่ปุ่นติดใจ “กล้วยหอมทอง” ของท่ายางมาก จึงทำให้กล้วยหอมทอง กลายเป็นผลไม้ส่งออกญี่ปุ่นเป็นประจำนับแต่นั้นมา

ผมฟังหนแรก รู้เลยว่า นี่คือเรื่องจริงที่สามารถเปลี่ยนเป็นเรื่องเล่าชั้นดีได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือนวนิยาย

อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องผีที่ยายหอมบอกว่าเป็นเรื่องจริงในสมัยก่อน คือมีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อยายสุ่ม มีผีมาบอกว่าจะยกสมบัติให้ แต่แกปฏิเสธเพราะกลัวว่าจะต้องตายแล้วกลายไปเป็นผีเฝ้าสมบัติแทน ผีก็มาตื๊อไม่ยอมเลิก เอาไหใส่เพชรพลอยเต็มใบมาให้ดูกลางวันแสกๆ แกก็ไม่เอา พอแกจะไปทำนา ทำไร่ หรือออกไปไหน ผีก็ยกเอาไหใส่สมบัติตามไป ยายสุ่มเห็นเมื่อไรก็ต้องร้องว่า “...กูไม่เอาๆ เอาคืนไป...” ไหสมบัติมันลอยตาม แกก็ต้องวิ่งหนีเตลิดเปิดเปิง เป็นอย่างนี้อยู่นานหลายปี แน่นอนในเมื่อเป็นเรื่องผี เรื่องทั้งหมดแกจึงเห็นของแกอยู่คนเดียว

ฟังเรื่องนี้แล้วคิดภาพตามอาจสงสัยว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นคนสติไม่ดีหรือเปล่า แต่เปล่าเลย ยายสุ่มเป็นคนปกติ เพียงแต่จะเกิดอาการเวลาที่แกเห็นไหสมบัติของผี(ซึ่งไม่มีใครมองเห็น)เท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องดังที่คนแถวนั้น ในสมัยนั้นรู้จักกันทุกคน

ถ้าเป็นสมัยนี้ มีผีมายกสมบัติให้ คงจะวิ่งเข้าหารีบคว้าเอาไว้ก่อน เผลอๆ มีแย่งกันด้วย

เรื่องของยายหอมเองก็มี
แกเคยโดนงูกะปะงับเข้าที่เท้าซ้าย อาการสาหัสชนิดที่ว่า ต้องตัดเท้าทิ้งเท่านั้นแต่ “หลวงพ่อทองสุข” เกจิฯ ระดับตำนาน แห่งวัดโตนดหลวง ได้ช่วยรักษาจนหายเป็นปกติอย่างน่าอัศจรรย์

ทีแรกผมก็ไม่ทราบว่า หลวงพ่อทองสุข เป็นตำนานระดับไหน จนกระทั่ง มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระเครื่องท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า  ก็ระดับที่ เหรียญหลวงพ่อทองสุขรุ่นแรก ปัจจุบัน คนที่มีเขาเก็บใส่ตู้เซฟกันแล้ว

ยายหอมแกชอบเล่าเรื่องสมัยสาวๆ เพราะแกเป็นคนสวย ทำขนมเก่ง พอไปขายขนมในงานวัดก็มีหนุ่มๆ มารุมจีบ พอผัวแกเห็นเข้าก็หึง เลิกขาย เก็บของกลับบ้านทันที

เวลาเล่าเรื่องตอนที่แกเป็นสาวเสน่ห์แรง แกจะชอบใจมาก เล่าไปหัวเราะไป คนฟังต้องระวังดีๆ เดี๋ยวน้ำหมากกระเด็นใส่

ยายหอมกินหมากจัด ปากแดงทั้งวัน เข้าวัยแปดสิบ แกเดินหลังค่อม ต้องใช้ไม้เท้า แต่ยังหูตาดี เสียงดัง ปากจัด ไม่กลัวใครทั้งนั้น ลูกหลานคนไหนแกไม่ชอบ หรือไม่ถูกใจแกด่าเปิง แต่ถ้าคนไหนแกรัก ทำอะไรก็ถูกไปหมด

แกเป็นคนรุ่นที่เห็นไปรษณีย์ตอนล่วงเข้าวัยกลางคน เห็นโทรทัศน์กับโทรศัพท์ตอนมีหลานหลายคนแล้ว แกเห็นมาตั้งแต่มีเกวียน จนกระทั่งเกวียนเล่มสุดท้ายหมดไปและรถคันแรกแล่นเข้ามา

แกเล่าว่า สมัยก่อนจะเข้าเมืองเพชรฯ ก็ต้องออกเดินแต่เช้ามืด ไปถึงค่ำๆ  
“...ไอ้ห้างใหญ่ๆ ที่พวกมึงชอบไปกันน่ะ เมื่อก่อนเป็นที่ขี้กู...” แกเกทับ เพราะที่ตั้งห้างใหญ่ตอนนี้ เมื่อครึ่งศตวรรษก่อนเป็นป่าต้นสะแก ที่ใครผ่านก็ต้องแวะปลดทุกข์

สมัยที่แกเป็นสาว อยากได้น้ำตาลก็ต้องปลูกอ้อย อยากได้ฟืนได้ถ่านก็ต้องตัดต้องเผา อยากกินขนมก็ต้องโม่แป้ง    
แกชอบบอกหลานๆ ว่า “...สมัยพวกมึงสบาย อะไรก็มีขาย สมัยกู อยากได้อะไรต้องทำเองหมด...” ดังนั้น แม้แกจะมีฝีมือทำขนมอร่อย มีสูตรโบราณหลายสูตร แต่เวลาหลานๆ มาขอสูตรเพื่อลองทำบ้าง แกจึงบอกปัดรำคาญแกมประชดว่า
“...อย่าทำเลย พวกมึงไปซื้อกินเอาเหอะ ง่ายดี...”
    
เนื่องจากเป็นคนรุ่นบุกเบิก ยายหอมเลยมีที่เยอะ อยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ขายไปก็มาก ให้ลูกให้หลานก็มี แต่ลูกหลานที่อยู่ดูแลแกจริงๆ มีอยู่แค่ไม่กี่คน

พระแก่ๆ แถวนั้น รู้จักแกดี เพราะแกชอบทำบุญทีละมากๆ ซื้อเสาศาลาวัดบ้าง บริจาคทีละหลายหมื่นบ้าง แต่ถ้าแกไม่สนใจ ต่อให้มาหว่านล้อมแค่ไหนแกก็ไม่ให้ เคยมีคนมาขายพระแล้วอวดอ้างสรรพคุณว่า ถ้าซื้อแล้วไปถวายวัด ยายจะหายเจ็บหายป่วย ร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ได้บุญกุศลแรง หน้าตาอ่อนเยาว์ มีสง่าราศี เดี๋ยวจะถูกหวย เงินทองไหลมาเทมา ฯลฯ

ปรากฎว่าแกด่าคนขายเผ่นแน่บไปเลย
    
วันที่ยายหอมเริ่มไม่สบาย แกบอกว่า มีเส้นใยอะไรก็ไม่รู้ออกมาจากหน้าแก ดึงเท่าไรก็ไม่หมด แต่ให้คนอื่นมาจับก็ไม่เห็นมีอะไร แต่แกเถียงว่ามี แล้วแกก็นั่งแกะนั่งดึงทั้งวันทั้งคืน

แกให้ลูกหลานพาไปรักษาหลายที่ ทั้งหมอแผนปัจจุบัน ทั้งพระ ทั้งคนทรง ตระเวนไปทั่วเพชรบุรี ท่ายาง ชะอำ พระองค์หนึ่งมาดูอาการยายหอม แล้วท่านก็บอกลูกหลานว่า เป็นกรรมเก่าของแก รักษาไม่หายหรอก

ปีกว่าๆ ต่อมาแกก็ไม่สบาย เดินไม่ค่อยไหว อาการทรุดลงเรื่อยๆ  
เช้าวันหนึ่งแกก็จากไปอย่างสงบ

ยายหอมเป็นย่าของภรรยาผม แกให้ความเอ็นดูผมเหมือนเป็นหลานอีกคนหนึ่ง
เรื่องที่แกเล่าหลายๆ เรื่อง สำหรับผม มันฟังดูเหลือเชื่อ แต่สำหรับแกมันเป็นเรื่องปกติ
ทว่า เรื่องปกติในสมัยนี้ หลายเรื่อง เมื่อได้รู้ แกไม่อยากเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง
เวลาที่ผมมองรูปถ่ายแก(แน่นอน-รูปสมัยยังสาวที่แกภูมิใจ) ผมมักจะคิดถึงเรื่องที่แกเล่า และบุคลิกแบบคนโบราณของแก

เรื่องราวในอดีต ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมกับความตายของคนสมัยนั้น
ในอนาคต เมื่อปัจจุบันของเรากลายเป็นอดีต หัวใจของเรา อาจล้าต่อยุคสมัยเสียแล้ว ความชราภาพถีบเราออกห่างจากคนหนุ่มคนสาว

แต่สำหรับยายหอม แกไม่เคยกลัวยุคสมัย ไม่เคยแสดงให้เห็นว่าล้า ทั้งไม่เคยสนใจหรือตื่นเต้นตกใจต่อเทคโนโลยีความก้าวล้ำใดๆ ทั้งสิ้น  

ครั้งหนึ่ง หลานคนหนึ่ง โทรมาหาหลานอีกคนหนึ่ง บอกว่าอยากคุยกับแก หลานก็เลยยื่นโทรศัพท์มือถือให้ ยายหอมแกจับผิดๆ ถูกๆ เอาด้านที่ฟังมาพูด เอาด้านที่พูดมาฟัง พอหลานหัวเราะ แกด่าเปิง

“...ห่า...ก็กูไม่รู้นี่หว่า...พวกมึงมันบ้า คุยกับท่อนอะไรอยู่ได้ทั้งวัน...”
    

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…