Skip to main content

แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

แม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนา

หมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระ

แกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว พวกทหารญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกที่เป็นฝรั่งมาสร้างทางรถไฟอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน เชลยศึกพวกนี้ผอมโกรกแต่ต้องทำงานหนัก พอไม่มีแรงก็โดนเฆี่ยนโดนตี ที่ทนไม่ไหวตายไปก็มาก มีชาวบ้านสงสารเอาอาหารมาให้ พวกทหารญี่ปุ่นรู้เข้าก็ห้าม มีแม่ค้าคนหนึ่งสงสารพวกฝรั่งมาก แต่จะเอาของกินไปให้ก็กลัวพวกญี่ปุ่น เลยทำอุบายเอาหาบใส่ของมาเจาะรู พอเข้ามาใกล้บริเวณที่ทำทางรถไฟ ก็เอาขนมเอาผลไม้มาใส่หาบ เดินไปเขย่าไป ผลไม้ก็ร่วงลงตามทาง พวกเชลยฝรั่งก็มาเก็บไปกิน พอพวกผู้คุมมาเอาเรื่อง แกบอกว่า มันร่วงของมันเอง ไม่ได้ตั้งใจจะให้

ชะรอยว่า เชลยฝรั่งคงจะซึ้งใจจนกลายเป็นความรัก เพราะพอสถานการณ์พลิกกลับ ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยเหนืออักษะ ทหารญี่ปุ่นล่าถอยไป เชลยได้รับการปลดปล่อย อดีตเชลยคนหนึ่งก็พาแม่ค้าคนนั้นขึ้นเครื่องบินกลับไปอยู่เมืองฝรั่งด้วย

ผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีต่อชุมชนแถบนั้นอีกสองอย่าง คือหนึ่ง สนามบินที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ ได้กลายมาเป็นตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ของอำเภอท่ายาง ที่เรียกกันว่า “ตลาดหนองบ้วย” และสอง ทหารญี่ปุ่นติดใจ “กล้วยหอมทอง” ของท่ายางมาก จึงทำให้กล้วยหอมทอง กลายเป็นผลไม้ส่งออกญี่ปุ่นเป็นประจำนับแต่นั้นมา

ผมฟังหนแรก รู้เลยว่า นี่คือเรื่องจริงที่สามารถเปลี่ยนเป็นเรื่องเล่าชั้นดีได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือนวนิยาย

อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องผีที่ยายหอมบอกว่าเป็นเรื่องจริงในสมัยก่อน คือมีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อยายสุ่ม มีผีมาบอกว่าจะยกสมบัติให้ แต่แกปฏิเสธเพราะกลัวว่าจะต้องตายแล้วกลายไปเป็นผีเฝ้าสมบัติแทน ผีก็มาตื๊อไม่ยอมเลิก เอาไหใส่เพชรพลอยเต็มใบมาให้ดูกลางวันแสกๆ แกก็ไม่เอา พอแกจะไปทำนา ทำไร่ หรือออกไปไหน ผีก็ยกเอาไหใส่สมบัติตามไป ยายสุ่มเห็นเมื่อไรก็ต้องร้องว่า “...กูไม่เอาๆ เอาคืนไป...” ไหสมบัติมันลอยตาม แกก็ต้องวิ่งหนีเตลิดเปิดเปิง เป็นอย่างนี้อยู่นานหลายปี แน่นอนในเมื่อเป็นเรื่องผี เรื่องทั้งหมดแกจึงเห็นของแกอยู่คนเดียว

ฟังเรื่องนี้แล้วคิดภาพตามอาจสงสัยว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นคนสติไม่ดีหรือเปล่า แต่เปล่าเลย ยายสุ่มเป็นคนปกติ เพียงแต่จะเกิดอาการเวลาที่แกเห็นไหสมบัติของผี(ซึ่งไม่มีใครมองเห็น)เท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องดังที่คนแถวนั้น ในสมัยนั้นรู้จักกันทุกคน

ถ้าเป็นสมัยนี้ มีผีมายกสมบัติให้ คงจะวิ่งเข้าหารีบคว้าเอาไว้ก่อน เผลอๆ มีแย่งกันด้วย

เรื่องของยายหอมเองก็มี
แกเคยโดนงูกะปะงับเข้าที่เท้าซ้าย อาการสาหัสชนิดที่ว่า ต้องตัดเท้าทิ้งเท่านั้นแต่ “หลวงพ่อทองสุข” เกจิฯ ระดับตำนาน แห่งวัดโตนดหลวง ได้ช่วยรักษาจนหายเป็นปกติอย่างน่าอัศจรรย์

ทีแรกผมก็ไม่ทราบว่า หลวงพ่อทองสุข เป็นตำนานระดับไหน จนกระทั่ง มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระเครื่องท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า  ก็ระดับที่ เหรียญหลวงพ่อทองสุขรุ่นแรก ปัจจุบัน คนที่มีเขาเก็บใส่ตู้เซฟกันแล้ว

ยายหอมแกชอบเล่าเรื่องสมัยสาวๆ เพราะแกเป็นคนสวย ทำขนมเก่ง พอไปขายขนมในงานวัดก็มีหนุ่มๆ มารุมจีบ พอผัวแกเห็นเข้าก็หึง เลิกขาย เก็บของกลับบ้านทันที

เวลาเล่าเรื่องตอนที่แกเป็นสาวเสน่ห์แรง แกจะชอบใจมาก เล่าไปหัวเราะไป คนฟังต้องระวังดีๆ เดี๋ยวน้ำหมากกระเด็นใส่

ยายหอมกินหมากจัด ปากแดงทั้งวัน เข้าวัยแปดสิบ แกเดินหลังค่อม ต้องใช้ไม้เท้า แต่ยังหูตาดี เสียงดัง ปากจัด ไม่กลัวใครทั้งนั้น ลูกหลานคนไหนแกไม่ชอบ หรือไม่ถูกใจแกด่าเปิง แต่ถ้าคนไหนแกรัก ทำอะไรก็ถูกไปหมด

แกเป็นคนรุ่นที่เห็นไปรษณีย์ตอนล่วงเข้าวัยกลางคน เห็นโทรทัศน์กับโทรศัพท์ตอนมีหลานหลายคนแล้ว แกเห็นมาตั้งแต่มีเกวียน จนกระทั่งเกวียนเล่มสุดท้ายหมดไปและรถคันแรกแล่นเข้ามา

แกเล่าว่า สมัยก่อนจะเข้าเมืองเพชรฯ ก็ต้องออกเดินแต่เช้ามืด ไปถึงค่ำๆ  
“...ไอ้ห้างใหญ่ๆ ที่พวกมึงชอบไปกันน่ะ เมื่อก่อนเป็นที่ขี้กู...” แกเกทับ เพราะที่ตั้งห้างใหญ่ตอนนี้ เมื่อครึ่งศตวรรษก่อนเป็นป่าต้นสะแก ที่ใครผ่านก็ต้องแวะปลดทุกข์

สมัยที่แกเป็นสาว อยากได้น้ำตาลก็ต้องปลูกอ้อย อยากได้ฟืนได้ถ่านก็ต้องตัดต้องเผา อยากกินขนมก็ต้องโม่แป้ง    
แกชอบบอกหลานๆ ว่า “...สมัยพวกมึงสบาย อะไรก็มีขาย สมัยกู อยากได้อะไรต้องทำเองหมด...” ดังนั้น แม้แกจะมีฝีมือทำขนมอร่อย มีสูตรโบราณหลายสูตร แต่เวลาหลานๆ มาขอสูตรเพื่อลองทำบ้าง แกจึงบอกปัดรำคาญแกมประชดว่า
“...อย่าทำเลย พวกมึงไปซื้อกินเอาเหอะ ง่ายดี...”
    
เนื่องจากเป็นคนรุ่นบุกเบิก ยายหอมเลยมีที่เยอะ อยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ขายไปก็มาก ให้ลูกให้หลานก็มี แต่ลูกหลานที่อยู่ดูแลแกจริงๆ มีอยู่แค่ไม่กี่คน

พระแก่ๆ แถวนั้น รู้จักแกดี เพราะแกชอบทำบุญทีละมากๆ ซื้อเสาศาลาวัดบ้าง บริจาคทีละหลายหมื่นบ้าง แต่ถ้าแกไม่สนใจ ต่อให้มาหว่านล้อมแค่ไหนแกก็ไม่ให้ เคยมีคนมาขายพระแล้วอวดอ้างสรรพคุณว่า ถ้าซื้อแล้วไปถวายวัด ยายจะหายเจ็บหายป่วย ร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ได้บุญกุศลแรง หน้าตาอ่อนเยาว์ มีสง่าราศี เดี๋ยวจะถูกหวย เงินทองไหลมาเทมา ฯลฯ

ปรากฎว่าแกด่าคนขายเผ่นแน่บไปเลย
    
วันที่ยายหอมเริ่มไม่สบาย แกบอกว่า มีเส้นใยอะไรก็ไม่รู้ออกมาจากหน้าแก ดึงเท่าไรก็ไม่หมด แต่ให้คนอื่นมาจับก็ไม่เห็นมีอะไร แต่แกเถียงว่ามี แล้วแกก็นั่งแกะนั่งดึงทั้งวันทั้งคืน

แกให้ลูกหลานพาไปรักษาหลายที่ ทั้งหมอแผนปัจจุบัน ทั้งพระ ทั้งคนทรง ตระเวนไปทั่วเพชรบุรี ท่ายาง ชะอำ พระองค์หนึ่งมาดูอาการยายหอม แล้วท่านก็บอกลูกหลานว่า เป็นกรรมเก่าของแก รักษาไม่หายหรอก

ปีกว่าๆ ต่อมาแกก็ไม่สบาย เดินไม่ค่อยไหว อาการทรุดลงเรื่อยๆ  
เช้าวันหนึ่งแกก็จากไปอย่างสงบ

ยายหอมเป็นย่าของภรรยาผม แกให้ความเอ็นดูผมเหมือนเป็นหลานอีกคนหนึ่ง
เรื่องที่แกเล่าหลายๆ เรื่อง สำหรับผม มันฟังดูเหลือเชื่อ แต่สำหรับแกมันเป็นเรื่องปกติ
ทว่า เรื่องปกติในสมัยนี้ หลายเรื่อง เมื่อได้รู้ แกไม่อยากเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง
เวลาที่ผมมองรูปถ่ายแก(แน่นอน-รูปสมัยยังสาวที่แกภูมิใจ) ผมมักจะคิดถึงเรื่องที่แกเล่า และบุคลิกแบบคนโบราณของแก

เรื่องราวในอดีต ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมกับความตายของคนสมัยนั้น
ในอนาคต เมื่อปัจจุบันของเรากลายเป็นอดีต หัวใจของเรา อาจล้าต่อยุคสมัยเสียแล้ว ความชราภาพถีบเราออกห่างจากคนหนุ่มคนสาว

แต่สำหรับยายหอม แกไม่เคยกลัวยุคสมัย ไม่เคยแสดงให้เห็นว่าล้า ทั้งไม่เคยสนใจหรือตื่นเต้นตกใจต่อเทคโนโลยีความก้าวล้ำใดๆ ทั้งสิ้น  

ครั้งหนึ่ง หลานคนหนึ่ง โทรมาหาหลานอีกคนหนึ่ง บอกว่าอยากคุยกับแก หลานก็เลยยื่นโทรศัพท์มือถือให้ ยายหอมแกจับผิดๆ ถูกๆ เอาด้านที่ฟังมาพูด เอาด้านที่พูดมาฟัง พอหลานหัวเราะ แกด่าเปิง

“...ห่า...ก็กูไม่รู้นี่หว่า...พวกมึงมันบ้า คุยกับท่อนอะไรอยู่ได้ทั้งวัน...”
    

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…