Skip to main content

ดั้งเดิม

ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว


เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์ จะแสดงให้รู้ว่าเขตใครที่ว่านั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อลูกหลานเพิ่มมากขึ้น การจะแบ่ง จะซื้อจะขาย จำเป็นต้องมีกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจน


ถ้าทุกอย่างเป็นไปอย่างที่มันควรจะเป็นก็ไม่น่าจะมีอะไร แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเพราะว่า คนที่ต้องการทำโฉนดนั้น ต้องการมากกว่าคนอื่น ใช้สิทธิ์มาก่อนได้ก่อน เอาเจ้าหน้าที่ที่ดินมาทำโฉนดก่อนใคร วางอาณาเขตตัวเอง ล้ำเข้าไปในแดนคนอื่น ไม่เพียงแค่นั้น ยังอาศัยเส้นสายที่มีติดต่อหน่วยราชการมาทำถนนคอนกรีตผ่านหน้าบ้านตัวเอง แต่อ้อมล้ำเข้าไปในแดนคนอื่น


เมื่อบ้านหลังแรกทำเช่นนั้น บ้านหลังอื่นก็ต้องรีบทำตาม เพราะไม่รู้ว่าจะถูกใคร “กิน” ที่เข้าวันไหน แม้จะหลังคาบ้านเคียงกัน เป็นพี่น้องคลานตามกันมา แต่ก็จำเป็นต้องทำรั้ว ทั้งเพื่อแสดงเขตตัวเอง ทั้งเพื่อกันคนอื่นเข้ามาบุกรุก ใครไม่ทำรั้วก็กลายเป็นคนเสียเปรียบ


แต่เดิม จะเดินผ่านบ้านกันก็ยังต้องร้องบอก จะเอาพริก มะเขือ มะนาว ก็ต้องร้องขอ แต่ตอนนี้ใครอยากจะเข้ามาในบ้าน มาหยิบฉวยอะไรในบ้านไปโดยไม่บอกกล่าวเจ้าของก็ทำกันตามอำเภอใจ จอบ เสียม เครื่องมือทำการเกษตร มาหยิบยืมไม่เคยบอก เอามาคืนไม่เคยครบ พืลผลปลูกไว้ในสวน เคยขอกันกินนั้น ไม่มีปัญหา แต่พอเงินเข้าบังตา อะไรๆ ก็กลายเป็นของมีราคา เลยเกิดรายการ เก็บไปไม่บอก ขโมยผักในสวนไปขายกันอย่างไม่ละอาย แม่ค้าบางคน เคยมาขอซื้อกล้วยแล้วมาตัดไปเอง ก็กลายเป็นมาแอบตัดกล้วยไปไม่บอกไม่กล่าว ถือวิสาสะ เอาไปก่อน แล้วบอกทีหลัง ถ้าไม่ทวงก็ทำเฉยเสีย


บางบ้านเลี้ยงวัว จะเอาวัวมาผูกให้กินหญ้าหน้าบ้านคนอื่นก็ไม่เคยขอ ไม่เคยบอก บางทีวัวหลุดออกมาเหยียบต้นไม้ที่ปลูกไว้ ก็ไม่เคยรับผิดชอบ หากไม่อยากมีปากเสียงก็ต้องทน เพื่อนบ้านประเภทเห็นแก่ตัวจนน่าขนลุกก็มีเหมือนกัน ปลูกบ้านเทพื้นปูนเสียเต็มพื้นที่ตัวเอง ขยะ น้ำเสีย ก็ทิ้งใส่ที่บ้านคนอื่น ต้นกล้วยของเพื่อนบ้านมาขึ้นเคียงรั้วตัวเอง ก็แอบฟันทิ้ง


สุดท้าย แม้เสาคอนกรีต กับลวดหนาม จะแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จำต้องทำ เพื่อกันปัญหาจุกจิกกวนใจ ที่ไม่มีเงิน ก็เอาไม้มาปักแล้วเอาลวดธรรมดาผูก กระนั้นก็ยังมีเรื่องกระทบกระทั่งเพราะเพื่อนบ้านบางคน ไม่รู้จักคำว่า ความเกรงใจ


ความจริง ทุกที่ก็มีทั้งคนดีคนไม่ดี มีคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีคนเห็นแก่ตัว ปัญหามันคงจะไม่มาก ถ้าหากผู้นำชุมชนดีพอ แต่ทั้งคนก่อนนี้ และคนนี้ คงใช้คำว่าดีพอไม่ได้ เป็นผู้นำแต่เพียงในนามเท่านั้น เมื่อเรื่องน้ำเน่าในหมู่บ้านไม่เคยสะสาง มันก็เลยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมาก่อความรำคาญทุกวี่วัน


เมื่อผู้นำเป็นที่พึ่งไม่ได้ ชาวบ้านก็ต้องพึ่งตัวเอง ป้องกันตัวเอง

คนเล่นยา คนขายยา ขโมย

กลางค่ำกลางคืน ก็ระวังตัวเอาเอง
ตำรวจนั้น ไม่ต้องพูดถึง รู้ทั้งรู้ว่าใครยุ่งกับยาเสพติดก็ยังปล่อยให้ลอยนวล

อยู่กลางหมู่บ้าน แต่รู้สึกเหมือนอยู่โดดเดี่ยว และจริงๆ ถ้าอยู่โดดเดี่ยวกลางสวนกลางนา ยังอาจจะสบายเสียกว่า


ถึงที่สุดแล้ว รั้ว คงไม่สามารถกันพวกมิจฉาชีพ หรือคนที่ประสงค์ร้ายต่อทรัพย์สินของเราได้ หากมันต้องการจริงๆ รั้วเพียงแค่ทำให้พื้นที่ มีขอบเขตที่ชัดเจนขึ้น แสดงให้เห็นสิทธิ์อันชอบในอาณาจักรเล็กๆ ที่เรียกว่าบ้านของเรา สังคมวัตถุนิยมที่ส่งเสริมให้ความโลภเติบโตในใจคน ทำให้ความเคารพในสิทธิ์ของคนอื่นลดน้อยถอยลง ยิ่งการควบคุมในสังคมหละหลวมหย่อนยาน การละเมิดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น


รั้วบ้าน ยังพอกั้นได้ แต่รั้วสำหรับสิทธิ์ส่วนบุคคล ไม่ได้ชัดเจนอย่างนั้น แม้จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ขอบเขตอยู่ตรงไหน ก็ยังมีคนชอบปีนเข้ามา ขโมยบางอย่างไปจากเรา


ความสงบ

ศักดิ์ศรี

ความเป็นมนุษย์


มันอาจเริ่มจากคนเห็นแก่ตัวบางคน แล้วแผ่ขยายออกไปจนทำให้ทุกคนต้องสร้างรั้วของตัวเอง


รั้ว ที่บอกขอบเขตความเป็นส่วนตัว

แต่ไม่อาจกันขโมยได้ จะมีประโยชน์อะไร ? ...


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…