Skip to main content

วันนี้เปิดห้องเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษาด้วยการคุยสืบเนื่องกับบทเรียนเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เรื่อง "ภาษากับความคิดและโลกทัศน์" มีวิดีโอในยูทูปที่น่าสนใจสองเรื่อง เรื่องหนึ่งว่าด้วยหมอสอนศาสนาที่ถูกชนพื้นเมืองในป่าอะเมซอนแปลงให้กลายเป็นนักมานุษยวิทยาภาษา วันนี้เปิดอีกเรื่องว่าด้วยการเห็นสีที่จำกัดของคนต่างวัฒนธรรมที่มีมโนทัศน์เรื่องสีต่างกัน (เอาไว้วันหลังมาเล่าแล้วกันครับ)

เรื่องที่อยากเล่าตอนนี้คือ บทเรียนจากนักศึกษาที่อธิบายคำในพจนานุเกรียนที่น้า Art Bact' เอามาแปะไว้ในกลุ่ม "ต่อปาก..." แถมน้าแบ่คยังแนะนำคำว่า "วทน" ผมงงอยู่คืนหนึ่งเต็มๆ เพราะไม่ได้อยู่ในโลกออนไลน์มากเท่าเขามาก่อน (มีนักศึกษาอีกคนมาอธิบายให้ใน ฟบ แต่ผมไม่ได้อ่านก่อนเข้าห้องเรียน)

ในห้องเรียนวันนี้ นักศึกษาคนหนึ่งอธิบายอย่างยืดยาวว่า (ใครรู้แล้วทนอ่านไปแล้วกันครับ) "เรื่องทั้งหมดเกิดในโลกของทวิตเตอร์ค่ะ พวกเกรียนหมั่นไส้ วทน. อาจารย์รู้จักไหมคะ คนที่ทำหนังสือ อด. อ่ะค่ะ เขาชอบทวิตอะไรเลี่ยนๆ ประเภท 'วันนี้ฉันตื่นนอนขึ้นมา อาบน้ำ แล้วบรรลุธรรม' แบบ 'อิ้วอม' น่ะค่ะ...

"พวกนั้นก็ตามเกรียนเขาในทวิตเตอร์ วทน. สักพัก วทน.ทนไม่ได้ ก็ไล่บล็อคพวกมาเกรียนไปทั่ว บลาๆๆ..." (ใน "ดราม่าแอดดิค" น่าจะมีรายละเอียด) คำนี้ก็เลยเป็นที่เข้าใจกันทั่ว" ตามความหมายในพจนานุเกรียนว่า 

@wthn [censored] - ใช้เพื่อกิจการแซะ แล้วโดนบล็อคโดนอัตโนมัติเท่านั้น
[ตัวอย่าง] ใครไม่โดน วทน บล็อคนี่โคตรไม่อินดี้

นักศึกษาแนะให้ลองเปิดอีกคำหนึ่งคือ "ดงบังวงแตก" ผมนี่งงไปเลย ลองดูครับว่าหมายถึงอะไร แต่เมื่ออ่านคำแปลแล้ว ก็ไม่เข้าใจหรอก ถ้าไม่ได้อยู่ในโลก "เกรียน"

ผมชอบพจนานุเกรียนในหลายๆ มิติด้วยกัน แง่หนึ่ง ผมว่าโลกปัจจุบันมันแปลกแยกแตกต่างห่างเหินจริงๆ แต่มันไม่ใช่ในความหมายแย่หรอก ผมมองว่ามันปกติธรรมดา เพราะโลกปัจจุบันมันสร้างความเชื่อมต่อแบบใหม่ๆ เกิดสังคมใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นที่ใครทุกคนจะต้องรู้จักเข้าใจทุกเรื่องของคนที่เรารู้จักไปเสียทุกอย่าง นักศึกษาผมเข้าใจสิ่งเดียวกับที่น้าแบ่คเข้าใจเป๊ะ ทั้งๆ ที่เขาไม่รู้จักกันมาก่อนเลย

อีกแง่หนึ่ง ผมนึกเลยเถิดไปถึงเรื่องโลกทัศน์กับภาษา ภาษาน่าจะเชื่อมโยงกับโลกทัศน์จริงๆ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในโลกของภาษาเดียวกัน ก็ยังไม่สามารถเข้าใจกันได้ด้วยชุดคำศัพท์ที่แยกย่อยชุมชนภาษาลงไปมากขนาดนี้ และแม้ว่าจะรู้คำเหล่านั้น แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความหมายเชิงบริบทที่ยืดยาว ก็คงไม่มีทางเข้าใจกันได้ง่ายๆ

อีกอย่าง พจนานุเกรียนเปิดโอกาสให้ใครก็ร่วมบัญญัติศัพท์เกรียนได้ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพจนานุเกรียนมีใครคอยควบคุมการบัญญัติคำใหม่อย่างไรหรือไม่ แต่หากเราค้นคำที่ไม่มีในพจนานุเกรียน เขาก็จะขึ้นแบบฟอร์มให้กรอก เป็นการแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ นี่หากจะไม่ถึงกับนับว่าเป็นการทำลายเอกสิทธิ์ในการบัญญัติศัพท์ ก็ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการบัญญัติศัพท์จากผู้ใช้ภาษาเองได้ ไม่เหมือนพจนานุกรมของสถาบันทรงเกียรติบางแห่ง

ขอให้ชาวเกรียนจงเจริญภาษา มีปัญญาสร้างคำใหม่ๆ ให้ครูภาษาไทยต้องเวียนเกล้า กันไปอีกยาวนาน


ขอบคุณน้าแบ่คที่แนะนำ http://pojnanukrian.com/


เผยแพร่ครั้งแรกใน
:Yukti Mukdawijitra

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้