Skip to main content

วันนี้เปิดห้องเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษาด้วยการคุยสืบเนื่องกับบทเรียนเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เรื่อง "ภาษากับความคิดและโลกทัศน์" มีวิดีโอในยูทูปที่น่าสนใจสองเรื่อง เรื่องหนึ่งว่าด้วยหมอสอนศาสนาที่ถูกชนพื้นเมืองในป่าอะเมซอนแปลงให้กลายเป็นนักมานุษยวิทยาภาษา วันนี้เปิดอีกเรื่องว่าด้วยการเห็นสีที่จำกัดของคนต่างวัฒนธรรมที่มีมโนทัศน์เรื่องสีต่างกัน (เอาไว้วันหลังมาเล่าแล้วกันครับ)

เรื่องที่อยากเล่าตอนนี้คือ บทเรียนจากนักศึกษาที่อธิบายคำในพจนานุเกรียนที่น้า Art Bact' เอามาแปะไว้ในกลุ่ม "ต่อปาก..." แถมน้าแบ่คยังแนะนำคำว่า "วทน" ผมงงอยู่คืนหนึ่งเต็มๆ เพราะไม่ได้อยู่ในโลกออนไลน์มากเท่าเขามาก่อน (มีนักศึกษาอีกคนมาอธิบายให้ใน ฟบ แต่ผมไม่ได้อ่านก่อนเข้าห้องเรียน)

ในห้องเรียนวันนี้ นักศึกษาคนหนึ่งอธิบายอย่างยืดยาวว่า (ใครรู้แล้วทนอ่านไปแล้วกันครับ) "เรื่องทั้งหมดเกิดในโลกของทวิตเตอร์ค่ะ พวกเกรียนหมั่นไส้ วทน. อาจารย์รู้จักไหมคะ คนที่ทำหนังสือ อด. อ่ะค่ะ เขาชอบทวิตอะไรเลี่ยนๆ ประเภท 'วันนี้ฉันตื่นนอนขึ้นมา อาบน้ำ แล้วบรรลุธรรม' แบบ 'อิ้วอม' น่ะค่ะ...

"พวกนั้นก็ตามเกรียนเขาในทวิตเตอร์ วทน. สักพัก วทน.ทนไม่ได้ ก็ไล่บล็อคพวกมาเกรียนไปทั่ว บลาๆๆ..." (ใน "ดราม่าแอดดิค" น่าจะมีรายละเอียด) คำนี้ก็เลยเป็นที่เข้าใจกันทั่ว" ตามความหมายในพจนานุเกรียนว่า 

@wthn [censored] - ใช้เพื่อกิจการแซะ แล้วโดนบล็อคโดนอัตโนมัติเท่านั้น
[ตัวอย่าง] ใครไม่โดน วทน บล็อคนี่โคตรไม่อินดี้

นักศึกษาแนะให้ลองเปิดอีกคำหนึ่งคือ "ดงบังวงแตก" ผมนี่งงไปเลย ลองดูครับว่าหมายถึงอะไร แต่เมื่ออ่านคำแปลแล้ว ก็ไม่เข้าใจหรอก ถ้าไม่ได้อยู่ในโลก "เกรียน"

ผมชอบพจนานุเกรียนในหลายๆ มิติด้วยกัน แง่หนึ่ง ผมว่าโลกปัจจุบันมันแปลกแยกแตกต่างห่างเหินจริงๆ แต่มันไม่ใช่ในความหมายแย่หรอก ผมมองว่ามันปกติธรรมดา เพราะโลกปัจจุบันมันสร้างความเชื่อมต่อแบบใหม่ๆ เกิดสังคมใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นที่ใครทุกคนจะต้องรู้จักเข้าใจทุกเรื่องของคนที่เรารู้จักไปเสียทุกอย่าง นักศึกษาผมเข้าใจสิ่งเดียวกับที่น้าแบ่คเข้าใจเป๊ะ ทั้งๆ ที่เขาไม่รู้จักกันมาก่อนเลย

อีกแง่หนึ่ง ผมนึกเลยเถิดไปถึงเรื่องโลกทัศน์กับภาษา ภาษาน่าจะเชื่อมโยงกับโลกทัศน์จริงๆ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในโลกของภาษาเดียวกัน ก็ยังไม่สามารถเข้าใจกันได้ด้วยชุดคำศัพท์ที่แยกย่อยชุมชนภาษาลงไปมากขนาดนี้ และแม้ว่าจะรู้คำเหล่านั้น แต่ถ้าไม่มีการอธิบายความหมายเชิงบริบทที่ยืดยาว ก็คงไม่มีทางเข้าใจกันได้ง่ายๆ

อีกอย่าง พจนานุเกรียนเปิดโอกาสให้ใครก็ร่วมบัญญัติศัพท์เกรียนได้ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพจนานุเกรียนมีใครคอยควบคุมการบัญญัติคำใหม่อย่างไรหรือไม่ แต่หากเราค้นคำที่ไม่มีในพจนานุเกรียน เขาก็จะขึ้นแบบฟอร์มให้กรอก เป็นการแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ นี่หากจะไม่ถึงกับนับว่าเป็นการทำลายเอกสิทธิ์ในการบัญญัติศัพท์ ก็ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการบัญญัติศัพท์จากผู้ใช้ภาษาเองได้ ไม่เหมือนพจนานุกรมของสถาบันทรงเกียรติบางแห่ง

ขอให้ชาวเกรียนจงเจริญภาษา มีปัญญาสร้างคำใหม่ๆ ให้ครูภาษาไทยต้องเวียนเกล้า กันไปอีกยาวนาน


ขอบคุณน้าแบ่คที่แนะนำ http://pojnanukrian.com/


เผยแพร่ครั้งแรกใน
:Yukti Mukdawijitra

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์