Skip to main content

 

การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวงประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

 

ความไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นแล้วในสยาม 

 

การบอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

 

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

 

ข้อเสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

 

ข้อเสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

 

แต่ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

 

จะมีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์