Skip to main content

ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง


ว่ากันว่า เนื่องจากพวกผู้ใหญ่ในอดีตมัวสาละวนอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าว จึงไม่ได้มีเวลาดูแลเด็กๆ วันนี้จึงจัดเทศกาลเพื่อเอาใจพวกเด็กๆ เป็นการปลอบขวัญและแสดงความรักต่อลูกหลาน 

วันไหว้พระจันทร์ของเวียดนามจึงให้อารมณ์ที่แตกต่างจากในเมืองไทย ซึ่งมีแต่การขายขนมไหว้พระจันทร์ ประกวดขนมไหว้พระจันทร์ยักษ์ และชิงตลาดขนมกันด้วยไส้ขนมสูตรพิศดารต่างๆ นานาจนเหลือจะจินตนาการและรับประทานได้

แต่ไม่รู้ทำไม ความทรงจำเกี่ยวกับ "เต้ดจุงม์ทู" ของผมมักมีสายฝน อากาศชื้นแฉะ และค่อนข้างเย็นๆ คงเป็นเพราะปีแรกๆ ของวันไหว้พระจันทร์ในฮานอยของผมเป็นวันที่ฝนโปรยปราย 

แต่พวกเด็กๆ ก็สนุกสนานกันเต็มที่ เด็กฮานอยถืิอลูกโป่งหลากสีสัน เดินไปมายามค่ำคืน พวกเด็กออกมาเที่ยวเล่นกันตามลำพังเป็นกลุ่มๆ ตามสถานที่สาธารณะ 

ปกติเด็กฮานอยเป็นตัวของตัวเองจนผมกลัว ผมเคยถูกเด็กถ่มน้ำลายแกล้งบนรถเมล์โดยที่แม่เขาไม่ได้ว่าสักคำ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมีพลังท้าทายคนโตๆ อย่างน่าประหลาด พอวันปีใหม่ของเด็กๆ มาถึง ผมจึงหลบอยู่ในบ้านเป็นหลัก

พอถึงปลายเดือนตุลาคม ต่อเดือนพฤศจิกายน อากาศในฮานอยจึงจะแห้งลง แทบไม่มีฝน เย็นสบาย จนบางวันต้องใส่เสื้อสองตัว เป็นช่วงเดือนที่เหมาะแก่การเดินเล่นเรื่อยเปื่อยในเมืองฮานอยอย่างยิ่ง

สำหรับผม สถานที่พิเศษของเดือนพฤศจิกายนในฮานอยคือถนน Nguyễn Du ซึ่งตั้งชื่อตามกวีเวียดนามคนสำคัญในต้นศตวรรษที่ 19 ไม่มีใครที่ศึกษาเรื่องเวียดนามแล้วจะไม่รู้จักเหงวียน ซู เนื่องจากผลงานอันโด่งดังของท่านชื่อ "ตำนานแห่งเกี่ยว" (Truyện Kiều) ซึ่งดัดแปลงมาจากวรรณคดีจีนอีกทีหนึ่ง (หากต้องการทราบเรื่องราว จะหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก)

ถนนเหงวียนซูปลูกต้น hoa sữa (ไม่สามารถเขียนด้วยอักษรมหัศจรรย์ได้ ที่ใกล้เคียงหน่อยคือเขียนว่า ฮวา เสือ แปลตามตัวว่าดอกน้ำนม หรือชื่อไทยว่าพระยาสัตบัน หรือต้นตีนเป็ด) เรียงรายริมถนน ฮวาเสือบนถนนเหวงียนซูสูงชลูด แตกกิ่งก้านที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนสวยงาม ประดุจไม้ดัดต้นโต 

เพียงรูปทรงสูงชลูดและกิ่นก้านที่ตัดผ่านฟ้าใสในฤดูใบไม้ร่วง ก็ชวนให้แหงนหน้ามองไม่รู้เบื่อ 

พลันเมื่อถึงเดือนสิบเอ็ด ฮวาเสือออกดอกสะพรั่ง ส่งกลิ่นรัญจวนอบอวนไปทั่วท้องถนน จนต้องหาโอกาสไปนั่งจิบกาแฟในร้านคุ้นเคยบนถนนเหวงียนซูอยู่เนืองนิจ

หวังว่าจะได้กลับไปฮานอยในฤดูฮวาเสืออีกครั้งในเร็ววันนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร