Skip to main content


วันนี้ไปปราสาทสมบอรไปรกุก ออกไปนอกเมืองเสียมเรียบอย่างไกล ประทับใจเส้นทางและชีวิตชนบท ผู้รู้บอกเล่าว่า กลุ่มปราสทานี้เป็นแบบ "ก่อนพระนคร" ร่วมสมัยกับปราสาทจามที่เวียดนาม เป็นอิฐก่อแล้วสลักอิฐ เร่ิมมีหินสลักบ้างบนทับหลัง

แต่เมื่อวาน ตะลุยปราสาทสำคัญๆ อย่างหนักหน่วง จนนึกถึงว่าถ้าสังขารแย่กว่านี้คงเอ็นฉีกและลมจับเป็นระยะแน่ ถ้าเล่าย้อนไป คือไปชมปราสาทเนี้ยกปัง (นาคพัน) เปรียขัน (พระขรรค์) และตาพรม ที่เด่นคือตาพรมที่มีรากไม้พันเกี่ยวกอดก่ายปราสาทและกำแพง


แต่ช่วงเช้าวานอุทิศให้กับนครวัด ที่เขาว่าชมนครวัดแล้วตายตาหลับ ที่จริงอยากบอกว่า ชมนครวัดแล้วแทบจะตาย คือทั้งร้อนทั้งเดินไกลทั้งปีนป่ายสูงชัน แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีทางพบได้ในโบราณสถานใดๆ ของตอแหลแลนด์อย่างเด็ดขาด

ที่นครวัด ตั้งแต่ปากทางเข้า แค่เพียงประตูแนวแรก ก็เพลิดเพลินตะลึงงันกับนางอัปสร จนสาละวนอยู่นาน พอดีแดดสวย จึงทั้งถ่ายภาพและชื่นชมอย่างละเลียด กระทั่งใกล้เวลานัด จึงนึกขึ้นมาได้ว่า ยังไม่ได้ชมภาพกองทัพ "เสียมกุก" ตามคำอ่านและการตีความของจิตร ภูมิศักดิ์

เมื่อไปหาดูที่กำแพงทิศใต้ ทีแรกกังวลว่าจะหาภาพกองทัพเสียมกุกเจอไหม เพราะเหลืออยู่ตัวคนเดียว ไกด์กับชาวคณะล่วงหน้่าไปก่อนแล้ว แต่ก็หาพบจนได้ คงเพราะเห็นรูปนี้จนชินตาจากการอ่านงานของจิตร

เมื่อเห็นแล้วก็เข้าใจได้ว่า ทำไมจิตรถึงเห็นภาพความเกรียงไกรกองทัพเสียมกุก เพราะขนาดของภาพสลักเสียมกุกใหญ่กว่าที่คิดมาก ภาพสะดุดตาคือตัวแม่ทัพ การแต่งกาย และอากัปกิริยาที่พิศดารไร้ระเบียบแปลกตาต่างไปจากกองทัพอื่นๆ 

ภาพกองทัพสักสิบกว่ากองได้เรียงรายอยู่บนผนังระเบียง และหนึ่งในนั้นคือเสียมกุก ทำให้เข้าใจได้อีกเช่นกันว่า เสียมกุกน่าจะยิ่งใหญ่พอให้ถูกบันทึกไว้บนระเบียงนครวัดได้
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...