Skip to main content


วันนี้ไปปราสาทสมบอรไปรกุก ออกไปนอกเมืองเสียมเรียบอย่างไกล ประทับใจเส้นทางและชีวิตชนบท ผู้รู้บอกเล่าว่า กลุ่มปราสทานี้เป็นแบบ "ก่อนพระนคร" ร่วมสมัยกับปราสาทจามที่เวียดนาม เป็นอิฐก่อแล้วสลักอิฐ เร่ิมมีหินสลักบ้างบนทับหลัง

แต่เมื่อวาน ตะลุยปราสาทสำคัญๆ อย่างหนักหน่วง จนนึกถึงว่าถ้าสังขารแย่กว่านี้คงเอ็นฉีกและลมจับเป็นระยะแน่ ถ้าเล่าย้อนไป คือไปชมปราสาทเนี้ยกปัง (นาคพัน) เปรียขัน (พระขรรค์) และตาพรม ที่เด่นคือตาพรมที่มีรากไม้พันเกี่ยวกอดก่ายปราสาทและกำแพง


แต่ช่วงเช้าวานอุทิศให้กับนครวัด ที่เขาว่าชมนครวัดแล้วตายตาหลับ ที่จริงอยากบอกว่า ชมนครวัดแล้วแทบจะตาย คือทั้งร้อนทั้งเดินไกลทั้งปีนป่ายสูงชัน แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีทางพบได้ในโบราณสถานใดๆ ของตอแหลแลนด์อย่างเด็ดขาด

ที่นครวัด ตั้งแต่ปากทางเข้า แค่เพียงประตูแนวแรก ก็เพลิดเพลินตะลึงงันกับนางอัปสร จนสาละวนอยู่นาน พอดีแดดสวย จึงทั้งถ่ายภาพและชื่นชมอย่างละเลียด กระทั่งใกล้เวลานัด จึงนึกขึ้นมาได้ว่า ยังไม่ได้ชมภาพกองทัพ "เสียมกุก" ตามคำอ่านและการตีความของจิตร ภูมิศักดิ์

เมื่อไปหาดูที่กำแพงทิศใต้ ทีแรกกังวลว่าจะหาภาพกองทัพเสียมกุกเจอไหม เพราะเหลืออยู่ตัวคนเดียว ไกด์กับชาวคณะล่วงหน้่าไปก่อนแล้ว แต่ก็หาพบจนได้ คงเพราะเห็นรูปนี้จนชินตาจากการอ่านงานของจิตร

เมื่อเห็นแล้วก็เข้าใจได้ว่า ทำไมจิตรถึงเห็นภาพความเกรียงไกรกองทัพเสียมกุก เพราะขนาดของภาพสลักเสียมกุกใหญ่กว่าที่คิดมาก ภาพสะดุดตาคือตัวแม่ทัพ การแต่งกาย และอากัปกิริยาที่พิศดารไร้ระเบียบแปลกตาต่างไปจากกองทัพอื่นๆ 

ภาพกองทัพสักสิบกว่ากองได้เรียงรายอยู่บนผนังระเบียง และหนึ่งในนั้นคือเสียมกุก ทำให้เข้าใจได้อีกเช่นกันว่า เสียมกุกน่าจะยิ่งใหญ่พอให้ถูกบันทึกไว้บนระเบียงนครวัดได้
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน