Skip to main content

ผ่านมาสี่วัน ถ้าจะให้บอกว่าประทับใจอะไรกับปราสาทหินบ้าง คงยากที่จะบอก เพราะวิ่งผ่านหินก้อนต่างๆ มากมายเสียจนไม่ทันได้หยุดคิดกับอะไรต่างๆ ดีที่ได้นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักมานุษยวิทยามากมายมาให้ความรู้ข้างๆ หูเวลาท่านถกเถียงกัน จึงพอจะเก็บเกี่ยวเชื่อมโยงอะไรมาได้บ้าง

แต่ที่ประทับใจจริงๆ เห็นจะได้แก่แสงและที่ว่างในเมืองเสียมเรียบ ความร่มรื่นของโบราณสถาน การปิคนิค และลักษณะเฉพาะตัวของโบราณสถานแต่ละแห่ง

ที่แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ที่ผมเคยไปคือ เมืองเสียมเรียบยามค่ำคืนสวยงามมาก ไม่ใช่ด้วยความสว่างไสว แต่ด้วยความสลัวมัวซัว เสียมเรียบไม่สว่างจ้า หากไม่นับร้านประเภทสะดวกซื้อแล้ว ไม่ว่าจะร้านไหน สถานที่ราชการ หรือจะเป็นโรงแรมใหญ่โต บริษัทห้างร้าน ถนนหนทาง เสียมเรียบจะส่องสว่างเพียงแสงเรื่อเรือง ไม่จัดจ้า น้อยที่มากที่จะปล่อยแสงนีออนขาวแสบตา แต่ละที่ล้วนคุมความเข้มแสงไว้เพียงไฟสีเหลือง 

น่ายินดีที่แสงจ้าของนีออนซึ่งได้ทำลายเสน่ห์ของเมืองต่างๆ ไปเสียแล้ว ยังไม่สามารถทำลายความงามของแสงสลัวในเสียมเรียบได้ อยากจะหวังว่านโยบายแสงสลัวจะยังอยู่คู่เสียมเรียบต่อไปอีกนาน

เสียมเรียบมีที่ว่างมากมาย ประชากรจำนวนเบาบางคงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดที่ว่างเหล่านี้ ที่ใดมีคูน้ำ ก็เหมือนกับจะถูกเติมแต้มด้วยดอกบัวชนิดต่างๆ ตลอดไปจนถึงชานเมืองและในชนบท ที่ว่างในเสียมเรียบปกคลุมไม่เพียงสถานที่ราชการ โรงแรม หรือกระทั่งในที่ซึ่งเรียกว่าสถานบันเทิงยามค่ำคืน หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ ไม่ใช่ว่าที่ว่างหน้าสถานบันเทิงหรือร้านอาหารจะเป็นเพียงที่จอดพาหนะ แต่ยังเป็นสวนร่มรื่น 

นอกจากที่ว่างทางราบแล้ว เสียมเรียบยังเก็บที่ว่างทางสูงไว้ ด้วยกฎห้ามสร้างอาคารสูงเกินสี่ชั้น จึงไม่ต้องมีการแข่งกันสร้างหอคอยสูงตระหง่าน เอาไว้นอนชมปราสาทนครวัดกันแต่เพียงผู้มั่งคั่งร่ำรวย

โบราณสถานแต่ละแห่งที่ไป ยกเว้นแต่เพียงปราสาทนครวัด แต่ละแห่งล้วนร่มรื่น (ที่จริงนครวัดเองบริเวณโดยรอบก็ร่มรื่น) ถ้าไม่นับปราสาทบางปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุมตัวอาคารอยู่ ปราสาทหลายต่อหลายแห่งน่าปูเสื่อนั่งจิบไวน์หรือเอาอาหารไปนั่งกินกันอย่างยิ่ง ที่ที่ประทับใจในความร่มรื่นที่สุดสำหรับผมคือปราสาทสมบอรไปรกุก ซึ่งตั้งอยู่ในป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้หลายหลากชนิด ทั้งแสงที่ลอดใบไม้ลงมา ทั้งเสียงนกกา ทั้งลมเอื่อยๆ ทำให้การชมปราสาทต้องถูกรบกวนด้วยความงามของธรรมชาติเป็นระยะๆ 

บางปราสาทที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมากนัก ยิ่งน่าอภิรมณ์ เพราะไม่มีเสียงโหวกเหวกของนักท่องเที่ยว ที่ไม่รู้จะเดินทางมาแสนไกลเพื่อมาตะโกนคุยกันไปทำไม จะได้ยินเสียงนกร้องท่ามกลางแมกไม้ ช่วยให้การปีนป่ายก้อนหินเหล่านี้ได้อรรถรสมากขึ้น

สิ่งที่ดูแปลกตาน่าศึกษาอีกประการคือ การปิคนิคของชาวกัมพูชา คนเสียมเรียบนิยมพาครอบครัวไปนั่งปูเสื่อปูผ้า กินข้าวหรือเพียงนั่งเล่นนั่งคุยกันตามสวนสาธารณะ ตามริมถนนที่ร่มรื่น หรือตามโบราณสถาน หรือแม้แต่ตามข้างถนนระหว่างจังหวัดบริเวณที่มีร่มไม้ ผมไม่แน่ใจว่ามีคนไทยกี่มากน้อยที่ทำอย่างนี้ แต่ตอนเด็กๆ พ่อแม่มักพาครอบครัวผมไปเที่ยวปิคนิคตามที่ต่างๆ อย่างนี้เหมือนกัน 

ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมชาวเสียมเรียบจึงชอบปิคนิคกัน แต่นึกถึงจากประสบการณ์ผมเองแล้ว ก็เดาว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าการได้เปลี่ยนบรรยากาศการสังสันท์ของครอบครัว จากในบ้านที่คับแคบและร้อนระอุ มายังที่โปร่งโล่งและลมเชย ก็ทำให้มีความสุขอย่างง่ายๆ ได้เช่นกัน

ถ้าไม่นับบางปราสาทดังๆ อย่างนครวัดแล้ว แม้ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับโบราณสถานแต่ละแห่ง ผมก็ประทับกับลักษณะเฉพาะของปราสาทแต่ละแห่ง หากไม่พยายามระลึกชื่อปราสาท ชื่อผู้สร้าง ศักราชที่สร้าง และเทพเจ้าประจำแต่ละปราสาท ผมก็จะจำปราสาทแต่ละที่ได้จากเอกลักษณ์ของปราสาทแต่ละแห่ง เช่น มีปราสาทที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมทั่วไปหมด ปราสาทที่มีน้ำท่วมเต็มไปหมด ปราสาทที่สร้างให้มีสระน้ำในนั้น ปราสาททรงปิรามิด ปราสาทอิฐ ปราสาทที่มีหน้าคนบนยอด ปราสาทที่มีมอสเยอะ ปราสาทที่ล้มระเนระนาดแทบจะทั้งหมด 

ความเฉพาะตนของปราสาทเหล่านี้ทำให้ทึ่งว่า มนุษย์ช่างจินตนาการกับหินให้กลายเป็นพื้นที่และรูปทรงลักษณะต่างๆได้มากมายเพียงนี้ได้อย่างไรกัน ผมคิดถึงว่า หากเอาหินให้ผมทำอะไรให้แตกต่างกันสักห้าก้อน ผมก็คงหมดปัญญาคิดอะไรแปลกใหม่ไปตั้งแต่หินก้อนที่สามแล้ว แต่คนโบราณเหล่านี้ทำไมจึงช่างสร้างสรรค์อะไรได้ไม่รู้จบมากมายขนาดนี้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร