Skip to main content

ผมติดตามละคร "แรงเงา" อย่างใกล้ชิด...จากที่เพื่อนๆ เล่ากันน่ะ ไม่ได้ดูเองหรอก (เพราะไม่มีทีวีดู ไม่ชอบดูทีวี และไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว) แต่ก็เกิดสงสัยว่า "ทำไมไอ้ผอ.มันโง่งี้(วะ)" ถ้าจะตอบว่า "ผู้ชายหล่อก็เหมือนผู้หญิงสวยนั่นแหละ มันโง่" ก็คงจะดูโง่ไปหน่อย ก็เลยลองคิดต่อดูว่า

หนึ่ง ที่จริงไม่ได้มีแต่ ผอ.ในละครแรงเงาโง่อยู่คนเดียวหรอก พระเอกละครไทยกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง มันก็โง่แบบนี้กันทั้งนั้นแหละ ส่วนใหญ่เลยนะผมว่า 

แบบทั่วไปคือ พระเอกโง่ไม่รู้ความต้องการของนางเอก โง่ไม่จำวันเกิดนางเอก โง่ไม่เข้าใจสักทีว่าผู้หญิงเขาชอบตัวเองอยู่ โง่รักใครไม่ถูกคน อะไรเงี้ย นับเป็นความโง่เบสิคของพระเอกในละครและหนังไทย แต่โง่อีกแบบคือ โง่จนถูกยัยนางร้ายมันปั่นหัวได้ตลอด โง่จนถูกยัยนางเอกแก่นแก้วแกล้งหรือหลอกเอาได้ตลอด โง่จนเกือบเสียคนรักไป โง่ตาหลอด 

หรือว่าความโง่ของพระเอกมันมีบทบาทสำคัญบางอย่าง โง่แบบนี้ถึงจะติดตลาด โง่แบบแรกมันธรรมดาไป คือต้องโง่ดักดานแบบถูกปั่นหัวโง่ๆ จนคนดูเขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว มีแต่ไอ้โง่หน้าหล่อนี่คนเดียวแหละที่ยังไม่รู้ตัวสักที

สอง ลองมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย ชาดกอย่างพระเวสสันดร ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสังคมไทยพื้นบ้านสมัยก่อน ก็ "ดูโง่" คือแม้จะไม่ถึงกับโง่ แต่ก็ดูดีแบบซื่อๆ แถมยังดูอ้อนแอ้น อ่อนช้อย บอบบาง สอดคล้องกับความใสซื่อดูโง่ๆ 

ดูเหมือนความโง่ของพระเอกจะอยู่คู่กับโลกละครของสังคมไทยมาตลอด คงไม่ใช่ว่าสังคมไทยชอบผู้ชายโง่ๆ หรอกนะ แต่ผมคิดว่าสังคมไทยชอบความโง่แบบหนึ่งมากกว่า ความโง่จึงมีบทบาทเฉพาะกับคนบางแบบ

สาม หรือว่านี่จะเป็นภาพด้านกลับของสังคมชายเป็นใหญ่ คือแทนที่จะให้ภาพสังคมที่ผู้ชายเก่ง ฉลาดพร้อม จัดการตัดสินใจอะไรได้ดีหมด แต่กลับให้ภาพผู้ชายอ่อนแอ น่าทะนุถนอม โง่แต่น่าอร้อกอ่ะ ผู้ชายหล่อและโง่จึงถูกเอาอกเอาใจ ถูกตามใจจนเหลิง พูดง่ายๆ คือ สังคมนี้เป็นสังคมเอาใจผู้ชายที่ดูดี (ไม่รู้จะรวมผู้ชายพูดดี ดีแต่พูดด้วยได้หรือเปล่า)

สี่ หรือว่านี่เป็นภาพด้านตรงของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่ อย่างบางเรื่องนางเอกโง่ พระเอกก็มักจะไม่โง่ตามไปด้วย เพราะถ้าโง่กันหมดก็จบกัน นางร้ายเอาไปกินหมด ถ้าเรื่องไหนพระเอกละครโง่ นางเอกและนางร้ายก็จะไม่โง่ อย่างเรื่องแรงเงาเป็นตัวอย่าง (ถูกหรือเปล่าครับแฟนละคร)

ผู้ชายโง่จึงเป็นวัตถุแห่งการตบตีแย่งชิงของพวกผู้หญิง เป็นรางวัลให้พวกผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์กันว่าใครแน่ก็เอาไอ้โง่นี่ไป ส่วนไอ้โง่นี่ไม่ต้องทำอะไร นั่งโง่ไปวันๆ ให้นังร้ายกับนังเอกตบตีกันเบื้องหลัง

ห้า ถ้าไม่คิดอะไรเลย นี่อาจเป็นเล่ห์กลทางการตลาด ที่คนทำละครตั้งใจทำให้คนดูฉลาดกว่าตัวละคร คนดูอ่านอะไรออกหมด แล้วคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่หรือทำไมตัวละครมันจะหายโง่สักที ละครไทยจึงสร้างความูมิใจให้คนดูว่ารู้เท่าทันความเลวร้ายของโลกในละครได้ดีกว่าตัวละครเองเสียอีก

ถ้าพระเอกไทยไม่โง่ ละครไทยคงจะกลายเป็นหนังนักสืบแบบฝรั่ง ที่พระเอกมันฉลาดอยู่คนเดียว จะไปสนุกอะไรสำหรับคนไทยที่ไม่อยากโง่กว่าตัวละคร
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้