Skip to main content

ผมติดตามละคร "แรงเงา" อย่างใกล้ชิด...จากที่เพื่อนๆ เล่ากันน่ะ ไม่ได้ดูเองหรอก (เพราะไม่มีทีวีดู ไม่ชอบดูทีวี และไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว) แต่ก็เกิดสงสัยว่า "ทำไมไอ้ผอ.มันโง่งี้(วะ)" ถ้าจะตอบว่า "ผู้ชายหล่อก็เหมือนผู้หญิงสวยนั่นแหละ มันโง่" ก็คงจะดูโง่ไปหน่อย ก็เลยลองคิดต่อดูว่า

หนึ่ง ที่จริงไม่ได้มีแต่ ผอ.ในละครแรงเงาโง่อยู่คนเดียวหรอก พระเอกละครไทยกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง มันก็โง่แบบนี้กันทั้งนั้นแหละ ส่วนใหญ่เลยนะผมว่า 

แบบทั่วไปคือ พระเอกโง่ไม่รู้ความต้องการของนางเอก โง่ไม่จำวันเกิดนางเอก โง่ไม่เข้าใจสักทีว่าผู้หญิงเขาชอบตัวเองอยู่ โง่รักใครไม่ถูกคน อะไรเงี้ย นับเป็นความโง่เบสิคของพระเอกในละครและหนังไทย แต่โง่อีกแบบคือ โง่จนถูกยัยนางร้ายมันปั่นหัวได้ตลอด โง่จนถูกยัยนางเอกแก่นแก้วแกล้งหรือหลอกเอาได้ตลอด โง่จนเกือบเสียคนรักไป โง่ตาหลอด 

หรือว่าความโง่ของพระเอกมันมีบทบาทสำคัญบางอย่าง โง่แบบนี้ถึงจะติดตลาด โง่แบบแรกมันธรรมดาไป คือต้องโง่ดักดานแบบถูกปั่นหัวโง่ๆ จนคนดูเขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว มีแต่ไอ้โง่หน้าหล่อนี่คนเดียวแหละที่ยังไม่รู้ตัวสักที

สอง ลองมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย ชาดกอย่างพระเวสสันดร ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสังคมไทยพื้นบ้านสมัยก่อน ก็ "ดูโง่" คือแม้จะไม่ถึงกับโง่ แต่ก็ดูดีแบบซื่อๆ แถมยังดูอ้อนแอ้น อ่อนช้อย บอบบาง สอดคล้องกับความใสซื่อดูโง่ๆ 

ดูเหมือนความโง่ของพระเอกจะอยู่คู่กับโลกละครของสังคมไทยมาตลอด คงไม่ใช่ว่าสังคมไทยชอบผู้ชายโง่ๆ หรอกนะ แต่ผมคิดว่าสังคมไทยชอบความโง่แบบหนึ่งมากกว่า ความโง่จึงมีบทบาทเฉพาะกับคนบางแบบ

สาม หรือว่านี่จะเป็นภาพด้านกลับของสังคมชายเป็นใหญ่ คือแทนที่จะให้ภาพสังคมที่ผู้ชายเก่ง ฉลาดพร้อม จัดการตัดสินใจอะไรได้ดีหมด แต่กลับให้ภาพผู้ชายอ่อนแอ น่าทะนุถนอม โง่แต่น่าอร้อกอ่ะ ผู้ชายหล่อและโง่จึงถูกเอาอกเอาใจ ถูกตามใจจนเหลิง พูดง่ายๆ คือ สังคมนี้เป็นสังคมเอาใจผู้ชายที่ดูดี (ไม่รู้จะรวมผู้ชายพูดดี ดีแต่พูดด้วยได้หรือเปล่า)

สี่ หรือว่านี่เป็นภาพด้านตรงของสังคมผู้หญิงเป็นใหญ่ อย่างบางเรื่องนางเอกโง่ พระเอกก็มักจะไม่โง่ตามไปด้วย เพราะถ้าโง่กันหมดก็จบกัน นางร้ายเอาไปกินหมด ถ้าเรื่องไหนพระเอกละครโง่ นางเอกและนางร้ายก็จะไม่โง่ อย่างเรื่องแรงเงาเป็นตัวอย่าง (ถูกหรือเปล่าครับแฟนละคร)

ผู้ชายโง่จึงเป็นวัตถุแห่งการตบตีแย่งชิงของพวกผู้หญิง เป็นรางวัลให้พวกผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์กันว่าใครแน่ก็เอาไอ้โง่นี่ไป ส่วนไอ้โง่นี่ไม่ต้องทำอะไร นั่งโง่ไปวันๆ ให้นังร้ายกับนังเอกตบตีกันเบื้องหลัง

ห้า ถ้าไม่คิดอะไรเลย นี่อาจเป็นเล่ห์กลทางการตลาด ที่คนทำละครตั้งใจทำให้คนดูฉลาดกว่าตัวละคร คนดูอ่านอะไรออกหมด แล้วคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่หรือทำไมตัวละครมันจะหายโง่สักที ละครไทยจึงสร้างความูมิใจให้คนดูว่ารู้เท่าทันความเลวร้ายของโลกในละครได้ดีกว่าตัวละครเองเสียอีก

ถ้าพระเอกไทยไม่โง่ ละครไทยคงจะกลายเป็นหนังนักสืบแบบฝรั่ง ที่พระเอกมันฉลาดอยู่คนเดียว จะไปสนุกอะไรสำหรับคนไทยที่ไม่อยากโง่กว่าตัวละคร
 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน