Skip to main content

นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*

ข้อเขียนนี้จึงไม่ได้จะต่อต้านซีเอ็ดเท่านั้น แต่ต่อต้านทัศนคติแบบซีเอ็ด ต้องการบอกกล่าวว่า หากสังคมปล่อยให้ทัศนคติแบบนี้ของซีเอ็ดดำรงอยู่ต่อไป ก็เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังถอยหลังในเรื่องภาษา วรรณคดี และความเข้าใจต่อเพศวิถี 
 
1) ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถี และความรัก เป็นเรื่องที่ยิ่งต้องส่งเสริมให้เกิดความรับรู้เข้าใจที่กว้างขวาง ไม่ใช่จะต้องมาเก็บซุกไว้ราวกับเป็นเรื่องเสียหายน่าอับอาย ขนาดสถาบันทางวิชาการอย่างศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) ก็ยังส่งเสริมให้ศึกษาเร่่ืองนี้ หรือซีเอ็ดจะไม่วางหนังสือของศูนย์มานุษย์ฯ อีกด้วย
 
ในระดับของข้อมูลข่าวสาร เช่น รู้กันทั่วไปว่ากษัตริย์ในโลกนี้บางพระองค์มีรสนิยมทางเพศแบบที่ซีเอ็ดกีดกัน หากจะปิดกั้นกัน สังคมไทยก็จะไม่ได้เรียนรู้ว่า รสนิยมทางเพศแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ สังคมไหนๆ ก็มีได้เหมือนกัน ไม่ได้แปลกอะไร
 
2) ซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ที่อ่านยากเย็นเท่านั้น แต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ หรือใครจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้ปฏิสนธิมาจากความใคร่ของบุพการี ที่มีจินตนาการทางเพศปะปนอยู่ในความรักและแรงปรารถนาจะสืบวงค์วาน 
 
หากสังคมไหนกำหนดว่า ห้ามคนร่วมเพศในวรรณกรรม ห้ามตัวละครแสดงอาการร่วมเพศ ก็นับได้ว่าสังคมนั้นกำลังปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
3) ซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ บ่มเพาะเชื้อความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ สร้างอคติทางเพศ อาจจะเข้าข่ายดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ไม่ต่างอะไรกับการกีดกันไม่ให้ "คนดำ" เข้าร้านอาหารในอเมริกาสมัยก่อน แน่นอนว่าแผงหนังสือในร้านซีเอ็ดเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของซีเอ็ด แต่หากร้านหนังสือทำอย่างนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกลูกค้า กีดกันลูกค้า ด้วยอคติทางเพศ
 
4) ซีเอ็ดกำลังจะทำลายภาษา การคัดเลือกเซ็นเซอร์จากเกณฑ์ของภาษาเป็นเกณฑ์ที่กำกวม ใครจะเป็นคนตัดสินว่าเล่มไหนหยาบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว การปิดกั้นนี้จะเป็นการทำลายภาษา "คำหยาบโลน ลามก ฯลฯ" มีพัฒนาการทางสังคมของมันเอง มีท้องถิ่นมีชาติพันธ์ุของมัน เช่นคำว่า "เหี้ย" นอกจากเป็นคำแล้ว ปัจจุบันยังกลายเป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก หมายถึง "มากๆ" "อย่างยิ่ง" หรือคำว่า "หำ" ในหนังสือที่ใช้สำนวนภาษาอีสาน หรือคำที่คนลาวใช้เรียก "ควาย" คนคัดเลือกของซีเอ็ดจะเข้าใจสถานะความหยาบหรือไม่หยาบในภาษาถิ่นแค่ไหน เป็นต้น
 
การทำลาย กีดกันการใช้ถ้อยคำ เป็นการทำลายสังคมของการสื่อสาร คำหยาบ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากเราจะกีดกันกันอย่างนั้นจริงๆ สังคมภาษานี้ก็จะแบนราบ ไร้อารมณ์ หมดรสนิยมของความหลาบโลน กีดกันการใช้ภาษาของคนในบางชนชั้น บางสังคม บางท้องถิ่น
 
5) ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง จึงเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้าย ทั้งที่คนอ่านเองก็มีวิจารณญาณตัดสินอะไรดีอะไรชั่วเองได้ หากจะเพิ่มความระมัดระวัง ก็อาจเลือกใช้วิธีติดเรทหนังสือตามวัยก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ขอให้คนขายของซีเอ็ดปฏิบัติตามจริงอย่างเคร่งครัดก็แล้วกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศที่เจริญทางปัญญาแล้วเขาทำกัน หรือซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่
 
ร้านหนังสือก็เหมือนห้องสมุด มันบอกสถานะทางปัญญาของสังคม เป็นมันสมอง บ่งบอกรสนิยมของสังคม หากร้านหนังสือกำหนดจัดวางคัดกรองเนื้อหาอย่างหนึ่ง นั่นก็กำลังสะท้อนให้เห็นส่วนหนึ่งว่า สังคมนั้นจะได้เห็นและไม่ได้เห็นอะไร สังคมนั้นมีฐานความรู้ความคิดกว้างหรือแคบแค่ไหน มีทัศนคติเช่นไร ยิ่งร้านหนังสือที่มีฐานลูกค้ากว้างอย่างซีเอ็ดด้วยแล้ว ยิ่งสามารถใช้บ่งบอกภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี
 
หากซีเอ็ดยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่าสังคมไทยควรงดสนับสนุนสินค้าซีเอ็ด ควรต่อต้านร้านหนังสือซีเอ็ด เพื่อไม่ให้ทัศนคติคับแคบแบบนี้สืบทอดในสังคมไทยต่อไป
 
* หมายเหตุ ร่วมลงชื่อคัดค้านซีเอ็ดได้ที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dHJuMWUxWEF0NTF0ZVNGNnNTZUFfV0E6MQ&ifq

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ