Skip to main content

 

พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา

 
ในคำว่า "เอนกนิกรสโมสรสมมุติ" ที่มักใช้ยกย่องกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม ผู้เปี่ยมด้วยความเอาใจใส่ต่อราษฎร และส่อนัยว่า มิใช่กษัตริย์ทุกผู้ทุกนามจะทรงเป็นได้นั้น ย่อมบอกอยู่แล้วว่า กษัตริย์เป็นบุคคลสมมุติ เป็นเพียงภาพลักษณ์ เป็นเพียงภาพตัวแทนการมีอยู่ของ "เอนกนิกร" ที่ร่วมกันสมมุติให้บุคคลหนึ่งเป็นกษัตริย์
 
แล้วจะอะไรกันนักหนากับการกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์ หรือสมมุติพ่อ
 
ในกฎหมายที่ขณะนี้เรายังคงถูกครอบงำกดทับอย่างไร้เหตุผลปกติใดๆ จะอธิบายได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุอยู่แล้วว่า "ผู้ใดดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาตรร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ..." แล้วทำไมใครบางคนยังต้องมาดัดจริต เสนอหน้าเกินหน้าเกินตากฎหมาย ปกป้องกษัตริย์เกินหน้าที่สื่อมวลชน
 
ยิ่งสื่อมวลชนที่กินเงินเดือนจากภาษีราษฎร สื่อมวลชนที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของประชาชน อย่าง "ไทยพีบีเอส" ยิ่งต้องตระหนักให้มากว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ "ประชาธิปไตย" ที่ "อำนาจรัฐเป็นของประชาชน" มิใช่ของบุคคลพิเศษอื่นใด (แปลว่า มิใช่ของกษัตริย์และคณะบุคคลที่รายล้อมกษัตริย์)
 
กษัตริย์เป็นเพียงสมมุติพ่อ จึงสามารถวิจารณ์ได้ เพราะหากพ่อเรา "ไม่ทำอะไร" ก็แน่นอนว่าพ่อเราจะ "ไม่มีวันทำผิด" (can do no wrong) แต่:
 
“ที่เดอะคิง """ทำอะไร""" เค้าไม่วิจารณ์ แล้วก็บอก อย่าวิจารณ์ ที่จริงอยากให้วิจารณ์ เพราะว่าเราทำอะไรก็ต้องรู้ว่าเค้าเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าไม่พูด ก็หาว่าทำดีแล้ว...
 
“แต่ว่าความจริงก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวถ้าใครมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่า ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน..." (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 4 ธันวาคม 2548) 
 
การปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อบทบาทของกษัตริย์ ทั้งๆ ที่การวิจารณ์นั้นกระทำโดยสุจริตและถูกกฎหมาย นับได้ว่าเป็นการทรยศประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินเดือนที่เลี้ยงดูพวกคุณอยู่ 
 
หาก "ไทยพีบีเอส" จะยืนยันปกป้องกษัตริย์อย่างไร้จรรยาบรรณสื่อมวลชนเสียขนาดนี้ ก็ควรที่จะเปลี่ยนไปเป็น "องค์กรโฆษณาชวนเชื่อของกษัตริย์" ขอรับเงินเดือนจากกษัตริย์เสียเลยดีกว่า อย่าได้ลอยหน้าลอยตากินเงินเดือนราษฎรอย่างไม่ละอายใจอยู่อีกต่อไปเลย
 
 
 
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง