Skip to main content

ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"

แต่ผมอยากคิดเลยไปอีกนิดว่า การด่ากันคือการจัดลำดับความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นการต่อสู้ทางสังคมอย่างหนึ่งด้วยระบบสัญลักษณ์ เพียงแต่คนที่ใช้ระบบสัญลัษณ์แบบนี้ แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อมั่นในระบบสังคมแบบหนึ่งที่รองรับระบบสัญลักษณ์แบบนี้อยู่
 
ใครๆ ก็รู้ดีว่า คำด่าไม่ได้ทำให้คนต่างวัฒนธรรม ต่างภาษาเข้าใจและเจ็บใจได้เหมือนกันหมด เมื่อวาน ผมเพิ่งคุยกับหลานเรื่องคำด่า เธอเล่าว่าแม่ของเธอซึ่งเป็นคนแม่สาย มักพูดคำเมืองในบ้าน และด่าเป็นคำเมือง สำหรับเธอและพ่อเธอซึ่งโตมาในภาษากรุงเทพฯ คำด่าเมืองไม่ได้ทำให้เธอกับพ่อโกรธหรือเจ็บใจอะไร ซ้ำเธอและพ่อยังรู้สึกตลกและชอบฟังแม่ด่าหรือบ่นเป็นคำเมือง
 
นักมานุษยวิทยาอย่างเอ็ดมันด์ ลีชเคยพยายามอธิบายคำด่า ด้วยการจับชุดคำด่ามาวิเคราะห์โครงสร้าง ว่าทำไมคำบางคำจึงหยาบคายในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เช่นคำว่า "หมาตัวเมีย" (bitch) "ลูกแมว" (pussy) "หมู" (pig) "กระต่าย" (bunny) จึงกลายเป็นคำด่าหรือสัตว์ที่ต้องห้ามแต่ยั่วยวน สิ่งต้องห้ามมักเป็นที่ยั่วยวนของมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันมันก็น่ากลัว อันตราย และกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
 
ลีชวิเคราะห์ว่า สำหรับคนอังกฤษ สัตว์เหล่านี้อยู่ตรงกลางระหว่างพื้นที่ที่ไม่ไกลเกินไปแต่ก็ไม่ใกล้เกินไป สัตว์เหล่านี้จึงกินเป็นอาหารไม่ได้ bitch กับ pussy เป็นสัตว์เลี้ยง อยู่ในบ้าน มีฐานะเหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน ซึ่งแต่งงานกันไม่ได้ หมากับแมวจึงเป็นสัตว์ต้องห้าม ส่วน pig กับ bunny อยู่ระหว่าง "สัตว์ในคอก" (cattle) กับ "สัตว์ป่า" (wild) แม้จะกินได้ แต่ก็ไม่สะดวกใจ คำเรียกสัตว์เหล่านี้จึงกลายเป็นคำต้องห้ามไปด้วย 
 
เราจะเอาหลักเดียวกันนี้มาวิเคราะห์ "หมา" "เหี้ย" กับ "ควาย" ได้แค่ไหน ผมยังไม่แน่ใจเหมือนกัน แม้ว่ามันก็ดูเข้าเค้าอยู่ แต่สำหรับคนไทย บางทีมันอาจจะง่ายกว่านั้น เพราะโครงสร้างสังคมไทยมักวางอยู่บนลำดับชั้นสูงต่ำ เมื่อใครหรือสัตว์ใดถูกจัดให้อยู่ในลำดับขั้นที่ต่ำกว่า ก็จะกลายมาเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่อยากแตะต้อง และกลายเป็นคำด่า 
 
หมา เหี้ย ควายอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยนั้น กรณีควายถ้าเทียบกับวัว วัวดูจะมีฐานะสูงกว่า เพราะดื้อกว่าควาย ควายจึงต่ำกว่าคนอย่างเห็นได้ชัดกว่า ส่วนหมานั้นต่ำกว่่าแมวเพราะฝึกง่ายกว่า แมวไม่เชื่อคนเท่าหมา ส่วนเหี้ย คงมีฐานะต่ำเพราะกินอาหารเลว กินซากสัตว์เน่่าเหม็น เหมือนผี ต่างจากสัตว์อื่นที่ไม่กินสุกไปเลยหรือก็กินดิบสดไปเลย เหี้ยก็เลยกลายเป็นสัตว์ต้องห้าม ที่จริงคำว่า "สัตว์" ในภาษาไทยก็สื่อความเชิงชนชั้นชัดเจนอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษ คงไม่มีใครด่ากันด้วยคำนี้ เพราะจักรวาลวิทยาเขาต่างกับเรา
 
อวัยวะของร่างกายก็มีลำดับชั้นเช่นกัน อวัยวะเพศกับ "ส้นตีน" อยู่ในลำดับขั้นต่ำของภาษาไทย คำอธิบายแบบนี้น่าจะใช้กับคำเรียกคนได้ด้วย คำว่า "กะหรี่" อยู่ในฐานเดียวกับหรืออาจจะต่ำกว่า "บ้านนอก" "ขอทาน" "คนใช้" สังคมไทยเคยใช้คำว่า "ไพร่" ด่ากัน คำเรียกชาติพันธ์ุ เช่น "ลาว" "เจ๊ก" ก็ถูกนำมาใช้ดูถูกกันเพราะคนไทยจัดความสัมพันธ์ตามลำดับสูง-ต่ำดังกล่าว ในสังคมไทย การด่าจึงเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเพียงการเปล่งเสียง แต่ยังเป็นการจัดตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมระหว่างผู้ด่ากับผู้ถูกด่า การใช้คำด่าจึงผลักให้อีกฝ่ายหนึ่งต่ำลงด้วยสัญลักษณ์
 
คำด่าอยู่ในลำดับชั้นต่ำสุดของภาษาไทย ระหว่างคู่สนทนาที่ไม่เท่าเทียมกัน คนที่อยู่สูงกว่าพูดไปด่าไปกับคนที่อยู่ต่ำกว่าได้ แต่คนที่อยู่ต่ำกว่าไม่สามารถทำอย่างเดียวกันกับคนที่อยู่สูงกว่าได้ หรืออาจจะต้องใช้ภาษาอีกภาษาหนึ่ง เช่นราชาศัพท์ สนทนากับผู้ที่อยู่สูงกว่า 
 
แต่สำหรับคู่ขัดแย้งที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่จนแต้ม ไม่สามารถทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับนับถือตนเองได้ด้วยการหว่านล้อมด้วยมธุรสวาจา ไม่สามารถอธิบายโต้แย้งด้วยเหตุด้วยผลได้ พวกจนคำพูดไร้สติปัญญาก็จะใช้คำด่าแทน คำด่าของพวกเขาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พวกเขาไม่ใช่นักคิด ไม่ใช่นักประชาธิปไตยอะไรที่ไหน ก็แค่นักอนุรักษ์วัฒนธรรมลำดับชั้น ยึดมั่นกับวัฒนธรรมเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทยคนหนึ่งเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี