Skip to main content

ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551

ครั้งแรกที่เจอไสว ผมประทับใจมาก ผมคิดว่าไม่มีใครที่รู้จักไสวแล้วจะไม่พูดถึงทรงผมหัวฟูของเขา ที่ปกคลุมหน้าและจมูกแป้นๆ ของเขา ระหว่างนั้นเขายังมีสถานภาพนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาทักผมด้วยภาษาถิ่นบ้านเกิดเขา พอผมตอบกลับ เขาบอกว่า "อ้าว! คนไทยหรอ? นึกว่าลาว" ผมยิ้มๆ งงๆ เพราะเพิ่งรู้ว่าคนอีสานเรียกคนบางกอกว่า "คนไทย"

ไสวเป็นคนน่าคบหา อัธยาศัยดี มีรอยยิ้มเสมอ ผมเจอไสวอีกไม่กี่ครั้ง แต่ก็เหมือนรู้จักกันมานาน อาจจะเพราะเขาเป็นคนใจดีกับทุกคน สมัยนั้นไสวเป็นศิลปินสีน้ำดาวรุ่งที่โด่งดังมาก เขาเล่าให้ผมฟังว่า พอเรียนถึงสักปีสอง ตามหลักสูตรเขาก็จะเรียนเขียนสีน้ำ ไสวบอกเขาชอบสีน้ำมาก และก็คิดว่าเขายังเรียนสีน้ำไม่จบสักที แม้ว่าหลักสูตรจะให้เรียนสั้นๆ แต่ไสวบอก "ก็เราคิดว่าเรายังเรียนสีน้ำไม่จบนี่นา จะให้ทิ้งสีน้ำขยับไปเขียนสีน้ำมันได้อย่างไร" 

ไสวก็เลยตระเวนหาวัตถุแห่งการแต้มสีน้ำของเขาไปเรื่อยๆ ทำอย่างนั้นจนกระทั่งได้เปิดงานแสดงเดี่ยว ยิ่งในยุคนั้นเป็นยุคฟองสบู่ ภาพเขียนสีน้ำไสวแม้บางชิ้นจะเล็กๆ ขนาดเท่ากระดาษ A4 เมื่อสักปี 2528-2530 ไสวก็ทำเงินได้ไม่ต่ำกว่าภาพละ 5,000-8,000 บาทแล้ว แสดงงานแต่ละครั้งไสวจึงได้เงินเป็นกอบเป็นกำมาก

ภาพเขียนสีน้ำของไสวบางมาก สมัยที่ผมรู้จักเขา เขาชอบเขียนทุ่งหญ้า ทุ่งข้าว ภูเขา บางทีเขาใช้สีสดๆ แต่ไสวแทบจะไม่เขียนสีทับกันเลย เขาใช้วิธีแทรกสีเข้าไปในแต่ละทีพู่กันอย่างไรไม่ทราบ ทำให้สีมันเหลื่อมๆ กันตลอด เขาเขียนแนวสีชุ่ม งานฉ่ำตาตลอดทั้งชิ้น ไม่เน้นให้เป็นรูปเป็นร่าง เลยทำให้งานเขาแลดูเหมือนอยู่ระหว่างงาน impressionist กับ abstract 

ผมไม่ได้เจอไสวอีกนาน จนกระทั่งเมื่อผมจบปริญญาตรีใหม่ๆ ไปทำงานบริษัทโฆษณา ช่วงนั้นไสวก็คงเหมือนศิลปินคนอื่นๆ ที่การเงินตกสะเก็ด ไสวรับงานเขียนภาพประกอบงานโฆษณาซึ่งเพื่อนเขาที่ทำงานในบริษัทเดียวกับผมติดต่อให้ ผมรับหน้าที่ติดตามงานของไสว ก็เลยได้เจอและคุยกับไสวอีก

มีวันหนึ่ง ผมนัดเจอเขาที่โรงอาหารเศรษฐฯ มธ. ท่าพระจันทร์ ไสวบอกว่า "เราชอบพวกธรรมศาสตร์ว่ะ" ผมถาม "ทำไมล่ะ" ไสวบอก "เราชอบมาอ่านงานเขียนตามกำแพงข่าว เราเรียนศิลปะ เขียนงานอะไรแบบนี้ไม่ได้ วิเคราะห์สังคมไม่เป็น ไม่ได้อ่านหนังสือแบบพวกนาย" ผมพูดตอบไปว่า "แต่เราก็เขียนรูปไม่ได้อย่างพวกนาย" 

เขายิ้มๆ แล้วเราก็คุยเรื่องงานศิลปะกัน สนทนาไปสักพักไสวก็เปรยขึ้นมาว่า "นายคุยเรื่องศิลปะได้เยอะมาก รู้เรื่องศิลปะดีพอสมควร นายน่าจะมาเป็นผู้จัดการให้เราว่ะ เราอยากได้ผู้จัดการคอยติดต่อโน่นนี่ ติดต่อแกลอรี่ ติดต่อสื่ออะไรให้" ผมยิ้ม บอก "ทำไม่เป็นหรอก"

เมื่อรู้ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว ผมอึ้งพอสมควร ไม่ได้สนิทกับไสว ไม่ได้เจอเขาบ่อยนัก แต่เหมือนคนรู้จักกันมานาน ชีวิตผมเองก็คงเหมือนกับหลายๆ คน ที่เป็นผลมาจากส่วนผสมเล็กน้อยของคนหลายๆ คน หนึ่งในนั้นมีไสว วงษาพรมรวมอยู่ดัวย เมื่อคืนก็เลยดื่มอาลัยให้ไสว แล้วก็ขอเขียนคำอาลัยไสวสั้นๆ ไว้ตรงนี้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้