Skip to main content

ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้

ผมเดาว่าการลดประชากรนักเรียนนั้นมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากการลดน้อยลงของประชากร คือเด็กเกิดน้อยลง จากที่เคยมีลูก 7-8 คน ปัจจุบันในชนบทก็มีกันแค่ 2-3 คนเป็นอย่างมาก แต่จากประสบการณ์ตอนที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งไม่ได้ห่างไกลกรุงเทพฯ มากมายเลย ผมมีข้อสังเกตต่อนโยบายนี้สั้นๆ ว่า 

1) โรงเรียนในหมู่บ้านที่ผมศึกษามีปัญหามากในการรักษาจำนวนนักเรียนให้ได้เกินร้อย วิธีหนึ่งก็คือการดึงเด็กไปเข้าโรงเรียนเร็วขึ้น คือเด็กจะเรียนชั้นอนุบาลและประถมเร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะก่อปัญหาอีกลักษณะหนึ่ง คือเด็กยังไม่พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้แบบกระทรวงศึกษาประเทศไทย

2) แต่เอาเข้าจริงๆ โรงเรียนไม่มีครูเพียงพอแก่การสอน วิธีแก้ปัญหาของครูใหญ่ (จะเรียกหรูๆ ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้) วิธีหนึ่งคือ ใช้โครงการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เปิดทีวีนำสัญญาญภาพทางไกลมาให้นักเรียนดู เป็นครูตู้ไป ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนครูมีไม่น้อยกว่าปัญหาการขาดแคลนเด็กนักเรียน 

3) เมื่อยุบโรงเรียน ปัญหาหนึ่งคือการเดินทาง อย่าคิดว่าเส้นทางสัญจรในชนบทจะดีเหมือนในกรุงเทพฯ ในกทม. ฝนตกหน่อยเราก็ร้องแทบเป็นแทบตายว่ารถติด เฉอะแฉะ เด็กเปียกปอน กลัวลูกหลานเป็นหวัด ฯลฯ 

แต่ในต่างจังหวัด ถนนไม่ได้ดีอย่างนี้ ถนนภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำท่วมทุกปี ถนนพังเสมอ ใครที่ว่าอบต. มักหากินกับการรับเหมาก่อสร้าง ก็ควรเข้าใจด้วยว่า ในชนบทน่ะ ถนนไม่ได้คอยถูกเนรมิตให้เรียบเนียน สะอาด แบบถนนหน้าบ้านพวกคุณในกทม.

เมื่อโรงเรียนถูกยุบรวมกัน นักเรียนต้องเดินทางไปต่างหมู่บ้านที่ไกลกันสัก 5-10 กิโลเมตร เส้นทางแค่นี้ดูไม่ไกลสำหรับคนมีรถขับในกทม. แต่ผู้ปกครองในต่างจังหวัดอย่างมากก็มีมอร์เตอร์ไซค์รับส่งลูก น้อยนักที่จะมีรถกะบะ หรืออย่างหรูปลอดภัยกว่ามอร์'ไซค์ก็รถอีแต๋น-อีแต๊กซึ่งก็ทุลักทุเล ไม่มีหรอกรถโรงเรียน หรือแม้แต่รถประจำทางก็แทบไม่มี การคงโรงเรียนขนาดเล็กในบางท้องถิ่นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ปกครอง

4) ผมเห็นโรงเรียนที่ถูกปิดตัวลงแล้วก็น่าเห็นใจ เพราะขนาดค่อนข้างใหญ่ ก็ไม่รู้ว่าหลังจากปิดตัวลงแล้วที่ดินและทรัพยากรที่รกร้างเห่านั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป

5) หากไม่มองปัญหาแบบเหมารวมรวบยอดและคิดว่าจะแก้ไขได้ด้วยการใช้นโยบายเดียวกันสาดไปทั่วประเทศ บางทีอาจจะต้องคิดถึงการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ไปว่า พื้นที่ไหนควรจัดการการศึกษาอย่างไร เช่น พื้นที่ไหนพร้อมที่ท้องถิ่นจะจัดการโรงเรียนเองได้ ก็ปล่อยเขาไปโดยกระทรวงศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่กำกับควบคุม พื้นที่ไหนยุบรวมแล้วไม่ก่อปัญหากับนักเรียนและผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้เลย พื้นที่ไหนจำเป็นต้องยอม "ขาดทุน" แต่ในเมื่อต้นทุนทางสังคมสูงกว่าหากจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก รัฐก็ต้องยอมขาดทุน ยอมจ่ายเพื่อเด็กๆ บ้างจะไม่ได้เชียวหรือ

คำพูดของรัฐมนตรีฯ สั้นๆ แต่มีความหมายและมีผลใหญ่หลวง หากแต่การศึกษาข้อเท็จจริงและทางเลือกของการแก้ปัญหาในระยะยาวแบบเข้าใจโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม เข้าใจโครงสร้างปัญหาที่นอกเหนือจากความคุ้มทุนที่คำนวนเฉพาะจำนวนนักเรียนกับห้องเรียน เห็นปัญหาการขาดแคลนครู รวมทั้งเห็นทางเลือกอื่นๆ เช่นการสร้างโรงเรียนนิติบุคคลให้อบต.ดูแลแล้วผู้ปกครองในท้องถิ่นมีส่วนร่วม จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าไหม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"