Skip to main content

เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 

ผู้ประกาศว่า "จงศึกษาผู้คนสามัญ" ศึกษา "มวลชนนิรนาม" ผู้เป็น "คนส่วนใหญ่ที่ดูต่ำต้อยเสมอชนกลุ่มน้อย" และคือผู้ประกาศว่า "การอ่านคือการฉกฉวย" ก็ชวนให้นึกถึงคำชวนเชิญของมิตรออนไลน์ผู้หนึ่ง ที่ให้เขียนเรื่องการอ่าน

ทุกวันนี้ดูเหมือนโลกออนไลน์ชวนให้เราอ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก เราอยากอ่านเรื่องราวของคนอื่น อยากอ่านเรื่องส่วนตัวที่คนแชร์ อยากอ่านเรื่องแปลกใหม่ที่ไม่เคยรับรู้ อยากอ่านเรื่องน่ารู้เจือประสบการณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ทั้งนั้น เร่่ืองน่าอ่านต้องสั้น ต้องไม่ซับซ้อนนัก ต้องไม่เฉพาะเจาะจงลึกลับจนเกินไป 

ในโลกออนไลน์ เหมือนคนอ่านสร้างงานเขียน ด้วยการกดไลท์หรือการเงียบงัน ด้วยการแซว จนถึงถากถาง ของชนเสมือนนิรนามต่อนักเขียนนามระบือ กระทั่งนักเขียนบางคนถึงกับทนคำเสียดสี ถากถางเหล่านั้นไม่ไหว จนนักอ่านช่างถากถางบางคนต้องไปสร้างพื้นที่ลี้ภัยการ "บล๊อก" ปิดกั้นการเข้าถากถางของนักเขียนนิรนามบางคน

ในยามที่ต้องกลับมา "อ่านซ้ำ (ๆๆๆ)" งานเขียนของบรมครูทางมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่ง ตามคำเชื้อเชิญของ "เจ้าห้องอ่าน" (The Reading Room) ผมไม่ได้คิดถึง "อสัญกรรมของประพันธกร" หรือ "ประพันธกรคืออะไร?" ของนักวิเคราะห์วัฒนธรรมการเขียน-การอ่านอีกสองผู้ แต่ผมกลับคิดถึง "การอ่านคือการฉกฉวย" ของผู้ที่เพิ่งจั่วหัวข้อเขียนนี้ไป นั่นเพราะไม่ได้อยู้ในอารมณ์ที่จะถอดรื้อการเขียน มากเท่ากับอยากเฉลิมฉลองการอ่าน

ท่านว่า การอ่านคือการผลิตในกระบวนการของการบริโภค ความหมายของตัวบทที่มีผู้ผลิตขึ้นมา ไม่ได้สำคัญมากไปกว่าความหมายที่การอ่านประกอบสร้างขึ้นมา การอ่านคือการฉกฉวยเนื้อหา ฉกฉวยความหมาย ที่ผู้เขียนอาจไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ 

แต่อย่าสับสนกับการขโมยผลงานคนอื่นนะครับ นี่ไม่ได้ต้องการยุให้เที่ยวขโมยงานใครต่อใครไปใช้นะครับ การฉกฉวยที่ว่านี้คือการฉกฉวยด้วยการผลิตความหมาย ต่างจากการขโมยผลงานคนอื่นไปเป็นของตน

ครูทางการอ่านของผมอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอ่านสิ่งที่เราอยากอ่าน เราอ่านเอาเรื่องที่เราอยากรู้ ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่ผู้เขียนอยากบอกเล่าเท่านั้น ท่านว่า จงอ่านเพื่อหาว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ข้อเขียนนั้นๆ บอกอะไรในตัวเรา จงอ่านเพื่อหาสิ่งที่หนังสือพูดกับเรา และหากพบว่ามีความหมายบางอย่างที่หนังสือพูดกับเราเพียงคนเดียว ไม่ได้พูดกับผู้อ่านคนอื่น นั่นแหละที่เราได้เจออะไรใหม่ๆ เข้าให้แล้ว 

หรือหากจะกลับมาพูดแบบครูที่ว่าการอ่านคือการฉกฉวย เมื่อนั้นเองที่การอ่านคือการผลิต เมื่อนั้นเองที่ผู้อ่านไม่ได้เป็นเพียงผู้บริโภคความหมาย

นั่นคือ "เศรษฐกิจด้านการบริโภค" ของการอ่าน ยิ่งบริโภคยิ่งผลิต ยิ่งใช้ยิ่งงอกเงย ยิ่งกัดกินยิ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยิ่งบริโภคยิ่งล้างผลาญ ยิ่งฟุ่มเฟือย ยิ่งทำลายล้าง อย่างที่นักเทศน์ที่เข้าใจการบริโภคเพียงในแง่ร้ายเข้าใจ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยุกติ มุกดาวิจิตร  
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 สุนทรียศาสตร์และการเมืองของสิ่งไร้รสนิยม (aesthetics and politics of kitsch)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 หากจำเป็นต้องหักหาญมิตรภาพกัน ก็ขอให้แน่ใจว่ามิตรสหายเราได้ละเมิดหลักการใหญ่ๆ ที่มิตรภาพไม่ควรได้รับการปลอบประโลมโอบอุ้มกันอีกต่อไป แต่หากเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไป ก็โปรดอย่าเปิดแนวรบจิกกัดมิตรสหายที่แทบไม่มีที่ยืนอยู่บนผืนหนังเดียวกันไปเสียทุกอนูความหมายเลยครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทต่อไป เมื่อนักมานุษยวิทยามานั่งศึกษาชุมชนเกรียนออนไลน์ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี