Skip to main content

คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 

ในเหตุการณ์หน้าวัดประทุมฯ วันที่ 19 พฤษภา 53 คุณคือใครที่รายล้อมใต้ต้นมะขามนั้น หรือที่จริงคุณก็คือคนที่ตีศพนั้น

ถึงแม้ศาลอาญาจะมีคำสั่งชัดเจนว่า กองกำลังทหารของ ศอฉ. คือผู้รับผิดชอบต่อการสังหารคน 6 คนหน้าวัดประทุมฯ แต่ผมคิดว่าจะไม่มีการขอโทษจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้บัญชาการทหารในขณะนั้น เพราะเขาไม่คิดว่าตนเองผิด

ไม่เพียงเพราะเขาคิดเข้าข้างตนเอง แต่เพราะสังคมไทยส่วนหนึ่งได้เห็นดีเห็นงามกับการสังหารคน 6 คนนั้นไปแล้ว สังคมไทยส่วนที่สนับสนุนให้เสนอนายอภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค และยังได้ส่งเขาลงสมัครเป็นอันดับหนึ่งในบัญชีรายชื่อ ได้ยอมรับโดยไม่สงสัยไต่สวนใดๆ ว่า นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ด่างพร้อย คุณคือคนพวกนั้นหรือไม่

เมื่อถึงวันนี้แล้ว เมื่อมีการบ่งชี้ความผิดชัดเจนขึ้นแล้ว แน่นอนที่สุดว่าผู้สั่งการและผู้ลั่นไกสังหารสมควรที่จะต้องถูกดำเนินคดี 

แล้วพรรคนั้นและประชาชนที่เลือกพรรคนั้น ซึ่งไม่รู้ว่ารวมคุณด้วยหรือไม่ ที่ได้ให้การรับรองเขาไปแล้วว่าเขาไม่ต้องรับผิดต่อการสั่งการจนมีผลให้มีการสังหารผู้คนนับร้อย มีคนบาดเจ็บจำนวนกว่าสองพันคน และทำให้คนบริสุทธิ์อีกหลายร้อยคนต้องติดคุกฟรีล่ะ จะรับผิดชอบอย่างไร 

ผู้คน สื่อมวลชน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐ และรวมถึงตัวคุณด้วยหรือไม่ ที่ร่วมกันฆ่าคนที่วัดประทุมวันนั้นทางอ้อม ร่วมกันทำร้ายผู้ตายทางอ้อม จะต้องร่วมรับผิดชอบต่ออาชญากรรมนี้ด้วยหรือไม่

หรือเอาเข้าจริง จนถึงขนาดนี้แล้ว พวกคุณก็จะยังไม่สำนึกอะไร แล้วเริ่มก่อกรรมใต้ต้นมะขามกันอีกต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน