Skip to main content

คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 

ในเหตุการณ์หน้าวัดประทุมฯ วันที่ 19 พฤษภา 53 คุณคือใครที่รายล้อมใต้ต้นมะขามนั้น หรือที่จริงคุณก็คือคนที่ตีศพนั้น

ถึงแม้ศาลอาญาจะมีคำสั่งชัดเจนว่า กองกำลังทหารของ ศอฉ. คือผู้รับผิดชอบต่อการสังหารคน 6 คนหน้าวัดประทุมฯ แต่ผมคิดว่าจะไม่มีการขอโทษจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้บัญชาการทหารในขณะนั้น เพราะเขาไม่คิดว่าตนเองผิด

ไม่เพียงเพราะเขาคิดเข้าข้างตนเอง แต่เพราะสังคมไทยส่วนหนึ่งได้เห็นดีเห็นงามกับการสังหารคน 6 คนนั้นไปแล้ว สังคมไทยส่วนที่สนับสนุนให้เสนอนายอภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค และยังได้ส่งเขาลงสมัครเป็นอันดับหนึ่งในบัญชีรายชื่อ ได้ยอมรับโดยไม่สงสัยไต่สวนใดๆ ว่า นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ด่างพร้อย คุณคือคนพวกนั้นหรือไม่

เมื่อถึงวันนี้แล้ว เมื่อมีการบ่งชี้ความผิดชัดเจนขึ้นแล้ว แน่นอนที่สุดว่าผู้สั่งการและผู้ลั่นไกสังหารสมควรที่จะต้องถูกดำเนินคดี 

แล้วพรรคนั้นและประชาชนที่เลือกพรรคนั้น ซึ่งไม่รู้ว่ารวมคุณด้วยหรือไม่ ที่ได้ให้การรับรองเขาไปแล้วว่าเขาไม่ต้องรับผิดต่อการสั่งการจนมีผลให้มีการสังหารผู้คนนับร้อย มีคนบาดเจ็บจำนวนกว่าสองพันคน และทำให้คนบริสุทธิ์อีกหลายร้อยคนต้องติดคุกฟรีล่ะ จะรับผิดชอบอย่างไร 

ผู้คน สื่อมวลชน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐ และรวมถึงตัวคุณด้วยหรือไม่ ที่ร่วมกันฆ่าคนที่วัดประทุมวันนั้นทางอ้อม ร่วมกันทำร้ายผู้ตายทางอ้อม จะต้องร่วมรับผิดชอบต่ออาชญากรรมนี้ด้วยหรือไม่

หรือเอาเข้าจริง จนถึงขนาดนี้แล้ว พวกคุณก็จะยังไม่สำนึกอะไร แล้วเริ่มก่อกรรมใต้ต้นมะขามกันอีกต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์