Skip to main content

"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..

แต่นี่ธรรมศาสตร์ทำอะไร ออกแบบสำรวจความเห็นเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา เพื่ออะไรกัน ไม่รู้จะอะไรกันนักหนากับเรื่องเครื่องแบบและการแต่งกายของนักศึกษา ตกลงธรรมศาสตร์จะอยู่กันไม่ได้ถ้านักศึกษาแต่งกาย "ไม่สุภาพ" อย่างนั้นหรือ

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะแต่งตัวถูกกาละเทศะอะไรหรือไม่ ผมอยากถามว่า จะแต่งอะไรมันเกี่ยวอะไรกับการเรียนการสอน เกี่ยวอะไรกับศักยภาพทางความคิด เกี่ยวอะไรกับการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือแม้แต่เกี่ยวอะไรกับจริยธรรมของนักศึกษา เกี่ยวอะไรกับความดีความชั่ว

ไม่เห็นหรือไงว่าชุดนักศึกษาที่เขาสวมกันจริงๆ น่ะสั้นแสนสั้น เห็นอะไรถึงไหนๆ ยิ่งกว่าบรรดาชุดไปรเวทอันน่ารังเกียจของพวกครูบาอาจารย์ดัดจริตมากนัก ผมไม่แคร์หรอกว่าเขาจะใส่อะไรมาเรียน ให้เขามาเรียนก็พอแล้ว และแค่นี้เท่าที่ประเทศนี้ยังมีเครื่องแบบนักศึกษาอยู่ ยังสนใจเรื่องการแต่งกายมาเรียนของนักศึกษาอยู่ ผมก็อายชาวโลกเขามากพอแล้ว พอทีเถอะ ขำจะตายอยู่แล้ว

ผมระอากับผู้บริหารที่ชอบใช้วาทศิลป์ของตัวเลข แสร้งว่าเป็นสถิติ ในการบริหารองค์กร การวิจัยสำรวจน่ะมันเป็นวิชาของรัฐ เขามีไว้เพื่อการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ หากตั้งโจทย์ทำแบบสำรวจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อทางเลือกอื่นๆ แล้ว ก็จะกลายเป็นการใช้อำนาจของผลสำรวจครอบงำวิถีปฏิบัติของผู้คนได้ หากไม่โปร่งใสในการรายงายผลการสำรวจแล้ว ผลโพลก็นำไปสู่การฉ้อฉลของการใช้ตัวเลขได้ และหากผู้อ่านผลสำรวจไม่เข้าใจข้อจำกัดของการวิจัยสำรวจแล้ว ก็จะหลงกลลวงของสถิติเสแสร้งแบบนี้ได้ไม่ยากนัก  

แต่ถ้าแน่จริง ช่วยบอกวิธีการสุ่มตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง ค่าเบี่ยงเบน วิธีการทางสถิติ และแนวคิดเบื้องหลังการสำรวจนี้ให้ครบถ้วนด้วย หาไม่แล้วผลการศึกษานี้ก็จะเป็นเพียงการเล่นกลกับวาทศิลป์ของตัวเลข ที่ไม่ใช่แม้แต่จะเป็นสถิติ 

ผมไม่ตอบแบบสอบถามนี้หรอก ไม่อยากเป็นเหยื่อของการวิจัยทางสถิติแบบมักง่าย และไม่อยากให้นักศึกษาต้องเป็นเหยื่อของการวิจัยทางสถิตินี้ 

(รูปที่นำมาลงนี้ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ของตัวเองแบบใสสะอาดก็มี แต่ไม่ได้ถ่ายมา ขอบคุณอาจารย์ท่านนั้นที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้