Skip to main content

หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 

โจทย์ของสังคมไทยในอดีตกับในปัจจุบันย่อมแตกต่างกัน ในอดีตนักศึกษาต่อสู้กับเผด็จการทหาร โจทย์มันน่ากลัว ท้าทาย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่ก็มีเป้าที่ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาที่ก็มองเห็นผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง แม้จะก้าวออกมาในนามของมวลชน แต่ท้ายสุด พวกเขาก็ทำเพื่อผลประโยชน์ของการเติบโตของชนชั้นตนเองนั่นแหละ 

ที่พูดอย่างนั้นเพราะอย่างที่เราเห็นคือ สุดท้ายในปัจจุบัน เมื่อพวกเขากลับออกจากป่าและก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ยังมีนักศึกษาสมัยนั้นเหลืออยู่อีกสักกี่คนกันที่ยังคิดถึงมวลชนอย่างบริสุทธิ์ใจ ถ้าพวกเขายังยึดมั่นอุดมการณ์เดิม ทำไมพวกเขาจำนวนมากจึงเฉลิมฉลองกับการรัฐประหาร 19 กย. 49 แล้วทำไมหัวขบวนของพวกเขาจำนวนมากจึงเงียบสนิทกับการสังหารหมู่กลางกรุงเมื่อพฤษภาคม 53 ทำไมพวกเขาจำนวนมากกลายมาเป็นผู้ดูหมิ่นดูแคลนและร่วมกดขี่ข่มเหงประชาชนที่พวกเขาเคยรักเสียเอง 

นักศึกษาแต่ละรุ่นเผชิญกับโจทย์ของตนเองและสังคมที่แตกต่างกัน อย่าว่าแต่รุ่น 40 ปีก่อนกับรุ่นนี้เลย นักศึกษารุ่นผม ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างรุ่น "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนกับนักศึกษาปัจจุบัน ก็ยังแตกต่างทั้งจากคนเดือนตุลาและนักศึกษาปัจจุบัน คนรุ่นผมยังสนใจเรื่องใหญ่ๆ เรื่องอำนาจรัฐ สังคมชนบท การพัฒนา กระทั่งยังมีคนฝันถึงสังคมนิยม ยังหาทางวิพากษ์ระบบทุนนิยม ยังวิพากษ์บริโภคนิยม พร้อมๆ กันนั้น ก็เริ่มเปิดรับความคิดใหม่ๆ เรื่องการเมืองวัฒนธรรม ความกระจัดกระจายของอำนาจ การต่อต้านอำนาจในชีวิตประจำวัน แต่ดูเหมือนความสนใจทั้งสองเรื่องนี้ในปัจจุบันยิ่งห่างจากกันไปทุกที

ที่จริงนักศึกษาปัจจุบันที่สนใจ "เรื่องใหญ่ๆ" ก็มีอยู่หรอก ดูได้จาก "ไอดอล" ของพวกเขาสิ อย่าง "สศจ." ก็พูดแต่เรื่องใหญ่ๆ นี่ก็แสดงว่านักศึกษาปัจจุบันก็หาทางต่อกรกับอำนาจเผด็จการแบบใหม่ที่น่าเกรงกลัวแต่ซ่อนรูปอย่างแยบยลอยู่เหมือนกัน แต่พร้อมๆ กันนั้น พวกเขาก็เข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์แรงๆ ของ "ธเนศ วงศ์ฯ" แล้วหาซื้องานเขียนอ่านยากของไอดอลคนนี้มาถือไปมา ทั้งที่ก็ล้วนเป็นงานเกี่ยวกับการเมืองวัฒนธรรม แต่จะว่าไป นักศึกษาที่ "ชาบู" สองไอดอลนี้ก็น่าจะเป็นนักศึกษาส่วนน้อย 

ความจริงก็คือ วัยรุ่นปัจจุบันส่วนใหญ่สนใจเรื่องสังคมวงกว้างน้อยลง ผมไม่เข้าใจตั้งแต่กลับมาสอนหนังสือใหม่ๆ แล้วว่าทำไมนักศึกษาชอบทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์เรื่องร้านกาแฟ ร้านเหล้า การดูหนังฟังเพลง ยิ่งเรื่องเซ็กซ์ยิ่งชอบศึกษากัน ชอบทำเป็นรายงานมาส่ง จนกระทั่งหลังๆ ผมต้องเตือนพวกเขาว่า "ถ้าใครจะทำเรื่องเซ็กซ์โดยไม่มีประเด็นใหม่ๆ แตกต่างไปจากที่รุ่นพี่ๆ คุณเคยทำมาแล้ว ผมจะไม่ให้ทำแล้ว เบื่ออ่านชีวิตเซ็กซ์ของพวกคุณเต็มทีแล้ว" 

แต่พอหลายปีเข้า ก็เริ่มเห็นประโยชน์ว่า ก็ดีเหมือนกันที่ทำให้เข้าใจโลกของคนยุคปัจจุบันมากขึ้น เช่น เข้าใจวรรณกรรมยุคใหม่ๆ เข้าใจเพลงปัจจุบัน เข้าใจภาษาใหม่ๆ เข้าใจการบริโภคของพวกเขา เข้าใจทัศนคติต่อเรื่องเพศของคนปัจจุบัน เข้าใจการให้ความหมายกับชีวิตตนเองของพวกเขา ฯลฯ ยิ่งหากพวกเขาไม่พยายามใช้ทัศนะแบบผู้ใหญ่หัวเก่ามาครอบตนเองแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เห็นชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันได้ชัดเจนมาก 

จากตรงนั้น ผมก็จะอาศัยบทเรียนจากวิชาที่สอนอยู่ สอดแทรกแลกเปลี่ยนกับประเด็นปัญหาใกล้ตัวที่พวกเขาสนใจไปทีละเล็กละน้อย เพื่อเชื่อมโยงประเด็นใกล้ตัวเขาให้ไปสู่ประเด็นที่กว้างใหญ่ของสังคม และพยายามให้เขาเข้าใจผู้คนที่มีชีวิตและฐานะความเป็นอยู่แตกต่างจากพวกเขาบ้าง เห็นใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกบ้าง เข้าใจความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมบ้าง ก็ทำเท่าที่พวกเขาจะรับได้ 

ผมไม่ชอบยัดเยียดให้นักศึกษาจะต้องกลายเป็นคนรับผิดชอบต่อสังคมในนามของ "จิตอาสา" ภายในหนึ่งภาคการศึกษาแบบที่อาจารย์บางคนทำหรอก เพราะผมสงสัยว่าปัจจุบันน้ียังมียังมีชนบทที่ไหนให้นักศึกษาไปพัฒนาอยู่อีกหรือ ยังมีชาวบ้านที่ไหนเดินขบวนไม่เป็น ยังเหลือประเด็นทางสังคมอะไรอีกที่รัฐและเอ็นจีโอที่ก็กินเงินเดือนรัฐยังไม่ได้เข้าไปจับต้อง สู้แลกเปลี่ยนกับพวกเขาในประเด็นที่พวกเขาสนใจไม่ดีกว่าหรือ 

สุดท้าย แน่นอนว่าสังคมไทยยังจะต้องรำลึกและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ตุลา 16, ตุลา 19 กันต่อไป แต่ผมคิดว่า ควรเลิกเอา "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนมาเป็นอุดมคติกดดันหรือกระทั่งยัดเยียดคนหนุ่มสาวยุคต่อๆ มาเสียทีเถอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร