Skip to main content

ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ

1) "ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกกันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ยังรวมกันไม่ติดดีนัก กลุ่มที่กุมมวลชนไว้ได้มากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่มีแนวร่วมเฉพาะกาลเป็นอธิการบดี 24 สถาบัน นอกจากนั้นเป็นกลุ่มกระเส็นกระสายจากพันธมิตรฯ เดิม ที่ยังรวมไม่ติดกับ ปชป. 

ปัญหาของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคือ นอกจากเรื่องต้านทักษิณแล้ว ยังมองไม่ออกว่าเรื่องอะไรจะมาฉุดให้มวลชนออกมาได้อีก ขณะนี้ หลังจากกระแสต้านพรบ.เหมาเข่งซาลงแล้ว มวลชนกลุ่มนี้กำลังรอกระแสงมงายเรื่องเสียดินแดนเขาพระวิหารว่าจะดึงให้คนมาร่วมต้านได้เท่ากับกระแสต้านพรบ.ล้างผิดทักษิณหรือเปล่า  

นอกจากนั้น หากมวลชนที่ยืนร่วมกันอยู่ห่างๆ นี้หมดแรงเล่นการเมืองบนท้องถนน กำลังส่วนนี้จะหมดไปอย่างแทบจะกู้กลับมาได้อีกยาก ดังนั้น เป็นไปได้ว่าการเคลื่อนไหวมวลชนของกลุ่มนี้จะต้องจบเกมเร็วๆ จะต้องเร่งปฏิกิริยา ถ้อยคำจะรุนแรงไร้ความรับผิดชอบมากขึ้น และจะกระตุ้นกระแสรัฐประหารมากขึ้นเรื่อยๆ 

2) "ฝ่ายหนุนรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกหักกันเรื่องพรบ.เหมาเข่งสุดซอย มวลชนเสื้อแดงที่พยายามยืนระยะห่างกับนปช.และพรรคเพื่อไทย เช่นกลุ่มบก.ลายจุด พวกปัญญาชน เร่ิมระอากับพท.มากขึ้น ส่วนนปช.จะยังพยายามเชื่อมพรรคกับมวลชนเสื้อแดง แม้จะแสดงออกบ้างว่าพร้อมที่จะทัดทานเชิงหลักการกับพรรค แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าจะรักษาระยะห่างหับพรรคแค่ไหน พรรคเพื่อไทยจึงยังย่ามใจว่ามีมวลชนหนุน 

ข้อเสียเปรียบคือ พท.เริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญญาชนที่สามารถเป็นปากเป็นเสียงช่วยเถียงให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ พรรคเริ่มต้องพึ่งพลังมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่เดินถนน แต่ก็เริ่มระดมพลัง แสดงว่าการเมืองในห้องประชุมรัฐสภาเริ่มเสื่อมความชอบธรรม ขณะนี้จึงถูกดึงลงมาท้องถนนมากขึ้น 

3) "ความเสี่ยงของประเทศ" เนื่องจากมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกำลังน้อยกว่า ภาพยังไม่ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ติด จุดร่วมกันมีต่ำ ไม่เข้มแข็ง พลังส่วนนี้จึงต้องเร่งกระแส อาศัยจังหวะที่กำลังดูเข้มแข็ง จบเกมให้เร็ว คาดว่าสัปดาห์นี้กระแสปลุกรัฐประหารจะแรงขึ้น 

หากฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถดึงเกมการเมืองกลับไปสู่ห้องประชุม กลับไปสู่รัฐสภา ให้ออกจากการเมืองท้องถนนไปได้ หรือหากฝ่ายหนุนรัฐบาลลงไปเล่นการเมืองมวลชน การเมืองท้องถนนมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง หากเกิดการรัฐประหารขึ้นจริง จะเกิดการปะทะกันของทั้งประชาชนด้วยกันเองและประชาชนกับกองกำลังทหาร รวมทั้งอาจมีกองกำลังทหารที่แตกแถว เกิดภาวะสงครามกลางเมือง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี