Skip to main content

ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ

1) "ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกกันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ยังรวมกันไม่ติดดีนัก กลุ่มที่กุมมวลชนไว้ได้มากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่มีแนวร่วมเฉพาะกาลเป็นอธิการบดี 24 สถาบัน นอกจากนั้นเป็นกลุ่มกระเส็นกระสายจากพันธมิตรฯ เดิม ที่ยังรวมไม่ติดกับ ปชป. 

ปัญหาของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคือ นอกจากเรื่องต้านทักษิณแล้ว ยังมองไม่ออกว่าเรื่องอะไรจะมาฉุดให้มวลชนออกมาได้อีก ขณะนี้ หลังจากกระแสต้านพรบ.เหมาเข่งซาลงแล้ว มวลชนกลุ่มนี้กำลังรอกระแสงมงายเรื่องเสียดินแดนเขาพระวิหารว่าจะดึงให้คนมาร่วมต้านได้เท่ากับกระแสต้านพรบ.ล้างผิดทักษิณหรือเปล่า  

นอกจากนั้น หากมวลชนที่ยืนร่วมกันอยู่ห่างๆ นี้หมดแรงเล่นการเมืองบนท้องถนน กำลังส่วนนี้จะหมดไปอย่างแทบจะกู้กลับมาได้อีกยาก ดังนั้น เป็นไปได้ว่าการเคลื่อนไหวมวลชนของกลุ่มนี้จะต้องจบเกมเร็วๆ จะต้องเร่งปฏิกิริยา ถ้อยคำจะรุนแรงไร้ความรับผิดชอบมากขึ้น และจะกระตุ้นกระแสรัฐประหารมากขึ้นเรื่อยๆ 

2) "ฝ่ายหนุนรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกหักกันเรื่องพรบ.เหมาเข่งสุดซอย มวลชนเสื้อแดงที่พยายามยืนระยะห่างกับนปช.และพรรคเพื่อไทย เช่นกลุ่มบก.ลายจุด พวกปัญญาชน เร่ิมระอากับพท.มากขึ้น ส่วนนปช.จะยังพยายามเชื่อมพรรคกับมวลชนเสื้อแดง แม้จะแสดงออกบ้างว่าพร้อมที่จะทัดทานเชิงหลักการกับพรรค แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าจะรักษาระยะห่างหับพรรคแค่ไหน พรรคเพื่อไทยจึงยังย่ามใจว่ามีมวลชนหนุน 

ข้อเสียเปรียบคือ พท.เริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญญาชนที่สามารถเป็นปากเป็นเสียงช่วยเถียงให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ พรรคเริ่มต้องพึ่งพลังมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่เดินถนน แต่ก็เริ่มระดมพลัง แสดงว่าการเมืองในห้องประชุมรัฐสภาเริ่มเสื่อมความชอบธรรม ขณะนี้จึงถูกดึงลงมาท้องถนนมากขึ้น 

3) "ความเสี่ยงของประเทศ" เนื่องจากมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกำลังน้อยกว่า ภาพยังไม่ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ติด จุดร่วมกันมีต่ำ ไม่เข้มแข็ง พลังส่วนนี้จึงต้องเร่งกระแส อาศัยจังหวะที่กำลังดูเข้มแข็ง จบเกมให้เร็ว คาดว่าสัปดาห์นี้กระแสปลุกรัฐประหารจะแรงขึ้น 

หากฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถดึงเกมการเมืองกลับไปสู่ห้องประชุม กลับไปสู่รัฐสภา ให้ออกจากการเมืองท้องถนนไปได้ หรือหากฝ่ายหนุนรัฐบาลลงไปเล่นการเมืองมวลชน การเมืองท้องถนนมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง หากเกิดการรัฐประหารขึ้นจริง จะเกิดการปะทะกันของทั้งประชาชนด้วยกันเองและประชาชนกับกองกำลังทหาร รวมทั้งอาจมีกองกำลังทหารที่แตกแถว เกิดภาวะสงครามกลางเมือง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง