Skip to main content

 

ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 

<--break->สังคมไทยปัจจุบันมีประชาชนหลายกลุ่ม ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือประชาชนที่เป็นชนชั้นกลางรุ่นเก่า ที่เติบโตขึ้นมาจากดอกผลของการพัฒนาเศรษฐกิจในสมัยสงครามเย็นและสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ ใต้ร่มเงาของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 คนเหล่านี้ในที่สุดลุกขึ้นมาต่อสู้กับเผด็จการทหาร โดยการนำของนักศึกษา ที่อาจารย์ธีรยุทธเองมีคุณูปการอยู่มาก ในทศวรรษ 2510 หากแต่หลังจากนั้น เมื่อคนเหล่านี้กลับเข้ามาสู่ระบบ พวกเขากลับกลายเป็นคนมีฐานะทางสังคม ได้รับส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจอย่างมาก จนเติบโตมีอำนาจทางการเมืองขึ้นมา คนเหล่านี้คือคนส่วนใหญ่ของมวลชนนกหวีด ที่ไม่ได้เพิ่งก่อตัว "เริ่มขึ้นเล็กๆ จากคปท." อย่างที่อาจารย์กล่าว แต่เป็นกลุ่มมวลชนที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 2548

หากแต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อเกิดการกระจายรายได้ การกระจายอำนาจ และเกิดการปฏิรูปการเมืองให้พรรคการเมืองเข้มแข็งขึ้น หลังทศวรรษ 2530 ก็เกิดประชาชนชั้นกลางรุ่นใหม่ขึ้นมา พวกเขาคือผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย คือผู้สนับสนุนทักษิณ หากการแสดงออกทางการเมืองบนท้องถนนของมวลชนนกหวีดในขณะนี้คือการปฏวิติประชาชนล่ะก็ แล้วการแสดงออกบนท้องถนนของมวลชนคนเสื้อแดงในปี 2552-2553 ล่ะ อาจารย์จะเรียกว่าอะไร พวกเขาไม่ใช่ประชาชนหรืออย่างไร

ที่สำคัญคือ ความขัดแย้งในขณะนี้ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐแบบที่อาจารย์เคยต่อสู้ด้วยเมื่อ 40 ปีก่อน หากแต่เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนสองกลุ่มใหญ่ ที่ต่างฝ่ายต่างหนุนหลัง ต่างฝ่ายต่างมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับชนชั้นนำสองกลุ่ม ทั้งประชาชนและชนชั้นนำสองกลุ่มนี้ยังไม่สามารถเอาชนะกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะว่าเสียงข้างมากชนะเด็ดขาดก็ยัง เพราะไม่อย่างนั้นเสียงข้างมากจะถอยกราวรูดจนสุดซอยเมื่อเสนออะไรที่สังคมรับไม่ได้อย่างยิ่งออกมาหรือ จะว่าเสียงข้างน้อยชอบธรรมกว่าก็ไม่ถูก เพราะประชาชนที่สนับสนุนทักษิณเขาก็ได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งตามกติกาที่ชนชั้นนำอีกฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้นมาหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เช่นกัน 

ที่ผ่านมา เมื่อฝ่ายหนึ่งครองอำนาจรัฐ อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ยอมรับ เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งนั้นใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง ผ่านระบอบประชาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นใช้อำนาจนอกระบบ ผ่านการรัฐประหารและการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร มาคราวนี้ฝ่ายหนึ่งก็กำลังจะเล่นนอกกติกาประชาธิปไตยอีก ด้วยการใช้การยึดอำนาจโดยมวลชน รอการสนับสนุนจากกองกำลังทหาร เพื่อขึ้นสู่อำนาจทางลัดอีก

เมื่ออาจารย์ตั้งต้นการวิเคราะห์ผิด มีสมมุติฐานว่าใครคือประชาชนที่ผิดฝาผิดตัว ปัญหาของประเทศที่อาจารย์มองเห็นจึงผิดตามไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่าอาจารย์จะให้น้ำหนักกับปัญหาคอร์รัปชั่นของนักการเมืองว่าเป็นปัญหาหลักของประเทศ ทั้งๆ ที่ปัญหานี้เป็นเพียงปัญหาหนึ่งในอีกหลายๆ ปัญหาที่สำคัญในสังคมไทย แต่ถึงที่สุดแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นอาจารย์เสนอกลไกอะไรในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ที่ผ่านมาอาจารย์เคยเสนอเรื่องตุลาการภิวัฒน์ แต่เราอยู่กับตุลาการภิวัฒน์มานาน 7 ปีแล้วก็ยังไม่เห็นแก้อะไรได้ 

รัฐบาลที่อาจารย์ดูจะมีความหวังให้ คือรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลลานนท์ ซึ่งก็มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ยังไม่เห็นจะแก้ปัญหาอะไรได้ ซ้ำร้ายรัฐบาลนั้นเองก็มีเรื่องราวการคอร์รัปชั่นเช่นกัน แถมสังคมไทยยังเริ่มสงสัยกับกลไกตุลาการภิวัฒน์มากยิ่งขึ้นทุกวัน แล้วคราวนี้อาจารย์ยังจะสนับสนุนให้มวลชนนกหวีดกับ กปปส. เข้ามาแก้ไข คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นนักการเมืองมาก่อนหรอกหรือ พวกเขาไม่ใช่ตัวปัญหาในการวิเคราะห์ของอาจารย์อยู่ก่อนแล้วหรอกหรือ พวกเขาจะกลับตัวกลับใจได้ชั่วข้ามคืนหรอกหรือ

แทนที่จะทดลองเดินทางลัดที่เพิ่งพาสังคมไทยลงเหวมาแล้วอีก สู้เราลองหาทางสร้างกลไกอื่นๆ กันขึ้นมาใหม่ในระบอบที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้วดีไหม เช่น แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยการสร้างช่องทางให้อำนาจยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น ปรับองค์กรอิสระให้ถูกตรวจสอบถ่วงดุลง่ายขึ้นและไม่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายองค์กรที่ได้อำนาจจากประชาชนโดยตรง ปรับวิธีการเลือกตั้ง เช่น ข้อเสนอว่าด้วยไพรแมรีโหวต (primary vote) สร้างกลไกควบคุมการทุจริตแบบใหม่ๆ เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง และเป็นนายกสภา ประธานกรรมการบริหารองค์กรราชการ และกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายๆ แห่ง เพื่อกันการสร้างอำนาจอุปถัมภ์ในหมู่ชนชั้นนำ และทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่พ้นไปจากการเมืองด้วยการแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นต้น

ท้ายที่สุด ผมหวังว่าจะเข้าใจอาจารย์ผิดไปหากจะสรุปว่า ข้อเสนอของอาจารย์แฝงนัยดูถูกประชาชนหลายประการด้วยกัน หนึ่ง ดูถูกโดยมองข้ามหัวประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนทักษิณและยิ่งลักษณ์อยู่ สอง ดูถูกว่าพวกเขาแค่เป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางการเมืองด้วยการหว่านเงินและนโยบายแจกเศษเงินของนักการเมือง สาม ดูถูกว่าการเลือกตั้งของประชาชนไม่มีความหมาย

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์