Skip to main content

 

ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 

<--break->สังคมไทยปัจจุบันมีประชาชนหลายกลุ่ม ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือประชาชนที่เป็นชนชั้นกลางรุ่นเก่า ที่เติบโตขึ้นมาจากดอกผลของการพัฒนาเศรษฐกิจในสมัยสงครามเย็นและสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ ใต้ร่มเงาของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 คนเหล่านี้ในที่สุดลุกขึ้นมาต่อสู้กับเผด็จการทหาร โดยการนำของนักศึกษา ที่อาจารย์ธีรยุทธเองมีคุณูปการอยู่มาก ในทศวรรษ 2510 หากแต่หลังจากนั้น เมื่อคนเหล่านี้กลับเข้ามาสู่ระบบ พวกเขากลับกลายเป็นคนมีฐานะทางสังคม ได้รับส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจอย่างมาก จนเติบโตมีอำนาจทางการเมืองขึ้นมา คนเหล่านี้คือคนส่วนใหญ่ของมวลชนนกหวีด ที่ไม่ได้เพิ่งก่อตัว "เริ่มขึ้นเล็กๆ จากคปท." อย่างที่อาจารย์กล่าว แต่เป็นกลุ่มมวลชนที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 2548

หากแต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อเกิดการกระจายรายได้ การกระจายอำนาจ และเกิดการปฏิรูปการเมืองให้พรรคการเมืองเข้มแข็งขึ้น หลังทศวรรษ 2530 ก็เกิดประชาชนชั้นกลางรุ่นใหม่ขึ้นมา พวกเขาคือผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย คือผู้สนับสนุนทักษิณ หากการแสดงออกทางการเมืองบนท้องถนนของมวลชนนกหวีดในขณะนี้คือการปฏวิติประชาชนล่ะก็ แล้วการแสดงออกบนท้องถนนของมวลชนคนเสื้อแดงในปี 2552-2553 ล่ะ อาจารย์จะเรียกว่าอะไร พวกเขาไม่ใช่ประชาชนหรืออย่างไร

ที่สำคัญคือ ความขัดแย้งในขณะนี้ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐแบบที่อาจารย์เคยต่อสู้ด้วยเมื่อ 40 ปีก่อน หากแต่เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนสองกลุ่มใหญ่ ที่ต่างฝ่ายต่างหนุนหลัง ต่างฝ่ายต่างมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับชนชั้นนำสองกลุ่ม ทั้งประชาชนและชนชั้นนำสองกลุ่มนี้ยังไม่สามารถเอาชนะกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะว่าเสียงข้างมากชนะเด็ดขาดก็ยัง เพราะไม่อย่างนั้นเสียงข้างมากจะถอยกราวรูดจนสุดซอยเมื่อเสนออะไรที่สังคมรับไม่ได้อย่างยิ่งออกมาหรือ จะว่าเสียงข้างน้อยชอบธรรมกว่าก็ไม่ถูก เพราะประชาชนที่สนับสนุนทักษิณเขาก็ได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งตามกติกาที่ชนชั้นนำอีกฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้นมาหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เช่นกัน 

ที่ผ่านมา เมื่อฝ่ายหนึ่งครองอำนาจรัฐ อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ยอมรับ เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งนั้นใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง ผ่านระบอบประชาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นใช้อำนาจนอกระบบ ผ่านการรัฐประหารและการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร มาคราวนี้ฝ่ายหนึ่งก็กำลังจะเล่นนอกกติกาประชาธิปไตยอีก ด้วยการใช้การยึดอำนาจโดยมวลชน รอการสนับสนุนจากกองกำลังทหาร เพื่อขึ้นสู่อำนาจทางลัดอีก

เมื่ออาจารย์ตั้งต้นการวิเคราะห์ผิด มีสมมุติฐานว่าใครคือประชาชนที่ผิดฝาผิดตัว ปัญหาของประเทศที่อาจารย์มองเห็นจึงผิดตามไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่าอาจารย์จะให้น้ำหนักกับปัญหาคอร์รัปชั่นของนักการเมืองว่าเป็นปัญหาหลักของประเทศ ทั้งๆ ที่ปัญหานี้เป็นเพียงปัญหาหนึ่งในอีกหลายๆ ปัญหาที่สำคัญในสังคมไทย แต่ถึงที่สุดแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นอาจารย์เสนอกลไกอะไรในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ที่ผ่านมาอาจารย์เคยเสนอเรื่องตุลาการภิวัฒน์ แต่เราอยู่กับตุลาการภิวัฒน์มานาน 7 ปีแล้วก็ยังไม่เห็นแก้อะไรได้ 

รัฐบาลที่อาจารย์ดูจะมีความหวังให้ คือรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลลานนท์ ซึ่งก็มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ยังไม่เห็นจะแก้ปัญหาอะไรได้ ซ้ำร้ายรัฐบาลนั้นเองก็มีเรื่องราวการคอร์รัปชั่นเช่นกัน แถมสังคมไทยยังเริ่มสงสัยกับกลไกตุลาการภิวัฒน์มากยิ่งขึ้นทุกวัน แล้วคราวนี้อาจารย์ยังจะสนับสนุนให้มวลชนนกหวีดกับ กปปส. เข้ามาแก้ไข คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นนักการเมืองมาก่อนหรอกหรือ พวกเขาไม่ใช่ตัวปัญหาในการวิเคราะห์ของอาจารย์อยู่ก่อนแล้วหรอกหรือ พวกเขาจะกลับตัวกลับใจได้ชั่วข้ามคืนหรอกหรือ

แทนที่จะทดลองเดินทางลัดที่เพิ่งพาสังคมไทยลงเหวมาแล้วอีก สู้เราลองหาทางสร้างกลไกอื่นๆ กันขึ้นมาใหม่ในระบอบที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้วดีไหม เช่น แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยการสร้างช่องทางให้อำนาจยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น ปรับองค์กรอิสระให้ถูกตรวจสอบถ่วงดุลง่ายขึ้นและไม่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายองค์กรที่ได้อำนาจจากประชาชนโดยตรง ปรับวิธีการเลือกตั้ง เช่น ข้อเสนอว่าด้วยไพรแมรีโหวต (primary vote) สร้างกลไกควบคุมการทุจริตแบบใหม่ๆ เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง และเป็นนายกสภา ประธานกรรมการบริหารองค์กรราชการ และกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายๆ แห่ง เพื่อกันการสร้างอำนาจอุปถัมภ์ในหมู่ชนชั้นนำ และทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่พ้นไปจากการเมืองด้วยการแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นต้น

ท้ายที่สุด ผมหวังว่าจะเข้าใจอาจารย์ผิดไปหากจะสรุปว่า ข้อเสนอของอาจารย์แฝงนัยดูถูกประชาชนหลายประการด้วยกัน หนึ่ง ดูถูกโดยมองข้ามหัวประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนทักษิณและยิ่งลักษณ์อยู่ สอง ดูถูกว่าพวกเขาแค่เป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางการเมืองด้วยการหว่านเงินและนโยบายแจกเศษเงินของนักการเมือง สาม ดูถูกว่าการเลือกตั้งของประชาชนไม่มีความหมาย

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง