Skip to main content

เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชนRespect My Vote. อาจจะแปลเป็นไทยตามตัวอักษรได้ว่า "จงเคารพคะแนนเสียงของฉัน" แต่ประโยคนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นดังนี้

1) ผู้กล่าว Respect My Vote กำลังเรียกร้องให้ผู้ฟังเคารพสิทธิในการใช้อำนาจแสดงออกทางการเมืองของประชาชน การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงออกซึ่งอำนาจการตัดสินใจของประชาชนที่ดีที่สุดเท่าที่นักประชาธิปไตยจะคิดได้ในขณะนี้ การเลือกตั้งอาจมีได้หลายวิธีการ แต่โดยหลักการพื้นฐาน มันคือการเชื่อมโยงประชาชนกับผู้แทนของประชาชน และเป็นเครื่องมือตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้แทนด้วยประชาชนเอง การเคารพสิทธิการเลือกตั้งจึงเท่ากับเป็นการเคารพอำนาจการตัดสินใจและอำนาจการตรวจสอบของประชาช

2) Respect My Vote ประกาศว่า "คนเท่ากัน" เป็นการแสดงให้เห็นค่าความเป็นคนเสมอกัน ความเท่าเทียมกันเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เท่ากันไม่ใช่ว่าต้องเหมือนกัน ผู้คนไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่ว่าจะเกิดในตระกูลใด ไม่ว่าจะเรียนสูงแค่ไหน ทำงานประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะแตกต่างกันเพียงใด ไม่ว่าจะสีผิวใด อาศัยอยู่ถิ่นไหน ไม่ว่าจะมีคุณธรรมสูงส่งหรือต่ำต้อยเพียงใด หากเป็นคนแล้ว ย่อมเท่าเทียมกัน 

3) ผู้ถือป้าย Respect My Vote กำลังเรียกร้องให้ผู้อ่านเคารพการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พวกเขาแสดงความกังวลว่า ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยกำลังถูกคุกคาม ถูกโค่นล้ม หรือแม้แต่ถูกทำให้สะดุดหยุดลงอีกครั้ง กระบวนการประชาธิปไตยที่สะดุดหยุดลงไม่ได้เพียงริบอำนาจประชาชนไปอยู่ในมือของคนกลุ่มเล็ก ๆ หากแต่ยังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายต่าง ๆ มากมาย ยังลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออก ในการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจ และยังจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ประเทศอีกมาก 

4) การชูป้าย Respect My Vote เป็นการแสดงออกของคนด้อยอำนาจทางการเมือง คนที่ไม่มีที่ทางสำคัญทางการเมือง หากแต่มีพลังในการต่อกร คัดง้างกับผู้มีอำนาจ ด้วยเครื่องมืออันสงบของพวกเขา หรืออย่างน้อยที่สุดคือ การปลุกเตือนสำนึกทางประชาธิปไตยของทั้งผู้ปกครองและประชาชนผู้หลับใหล ให้ตื่นจากการสร้างระบอบที่ไม่เป็นธรรม ให้ตื่นขึ้นมาต่อสู้กับระบอบที่ไม่เป็นธรรม การชูป้าย Respect My Vote เป็นการแสดงให้เห็นพลังต่อสู้ของประชาชนคนเล็กคนน้อย ที่กำลังถูกข่มเหงโดยอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย 

5) คำกล่าว Respect My Vote เป็นการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติ ผู้ใช้ประโยคนี้คือนักสันติวิธี พวกเขาเพียงเขียนอักษร เพียงชูป้าย เพียงต้องการให้มองเห็นรับรู้ การแสดงออกของชายผู้ชูป้ายคนแรกอาจเป็นการรบกวนผู้อื่นบ้าง หากแต่เมื่อกระแสถูกจุดติดแล้ว ป้ายถ้อยคำก็นี้ถูกเขียนอย่างเงียบ ๆ ชูขึ้นอย่างเงียบ ๆ และใช้ต่อ ๆ มาในการชุมนุมของประชาชนอย่างสงบ ในขบวนการจุดเทียนเพื่อประชาธิปไตยที่กำลังแพร่ไปทั่วในขณะนี้ 

ผู้ปกครองหรือกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่กำลังลิดรอนอำนาจทางการเมืองของประชาชน พวกคุณจงสำเหนียกด้วยว่า การต่อสู้ของประชาชนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว หากพวกคุณยังไม่เคารพอำนาจของประชาชน ยังไม่เข้าใจความหมายของถ้อยแถลงว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน พวกคุณอาจสูญเสียแม้ฐานะอำนาจที่ตนเคยมีอยู่ในขณะนี้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก