Skip to main content

การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้

หากดูเฉพาะในฝ่ายของผู้ชุมนุมเองแล้ว ผมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมมีความแตกต่างกันมากมายหลายกลุ่ม หลายวัตถุประสงค์ ภายใต้จุดร่วมเดียวกันคือ "หวังดีต่อประเทศชาติ" หากเรายึดเอาความหวังดีต่อประเทศชาติเป็นแกนพิจารณาหลัก ผมว่าคู่ขัดแย้งต่างๆ ก็น่าจะพอคุยกันได้

สำหรับ กปปส. พรรคปชป. และกลุ่มมวลชนที่ร่วมชุมนุมกลุ่มอื่นๆ พวกเขาคงอยากได้อำนาจมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และกำจัดทักษิณให้สิ้นซาก ส่วนผู้พยายามเป็น king maker ก็คงคิดว่าหากกำจัดทักษิณได้และครองอำนาจไว้สักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถทำให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปอย่างที่พวกเขามั่นใจได้ แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น พวกเขากำลังเอาชีวิต ความปลอดภัยของประชาชนเป็นตัวประกันหรือไม่ 

ประชาชนที่เข้าร่วมทั่วไปจำนวนมากเขาอยากเห็นอะไร ผมเชื่อโดยสนิทใจว่า พวกเขาอยากเห็นประเทศชาติเจริญขึ้นในประเด็นใหญ่ที่มีไม่น่าจะเกิน 2 ประเด็น คือการธำรงสถาบันกษัตริย์ไว้ และการกำจัดนักการเมืองโกง 

หากปัญหามีเท่านี้ เราควรมาพิจารณาว่า การรักษาสถาบันฯ ไว้และการกำจัดคนโกงนั้น ทำด้วยวิธีที่ศิวิไลซ์กว่าการชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้หรือไม่ กระบวนการยุติธรรมที่เรามีอยู่ก็ทำงานกำจัดคนโกงและปกป้องสถาบันฯ มาตลอดไม่ใช่หรือ

ถ้าอย่างนั้น คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การรักษาสถาบันฯ และการไล่คนโกงนั้น เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองหนึ่ง ของคนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง จากอีกกลุ่มการเมืองหนึ่ง อีกชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง แกนนำการชุมนุมและพวกผู้ถือหางระดับสูง พวกเขานำเอาความหวังดีต่อประเทศชาติของผู้เข้าร่วมชุมนุม มาเป็นข้ออ้างหล่อเลี้ยงการชุมนุม ที่ตัวเขาเองมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อตนเองหรือไม่ 

และเมื่อมาถึงทุกวันนี้แล้ว ที่เราห็นความสูญเสียต่อประชาชนอันเนื่องมาจากความรุนแรงจากฝ่ายต่างๆ เราเห็นความเกลียดชัง ละเลงเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ความเกลียดชังที่สร้างด้วย "ถ้อยคำเหยียดคน" (hate speech) หรือคำพูดรุนแรงทำร้ายจิตใจกันนั่นแหละ ที่มันจะกลับมาหล่อเลี้ยง "ความรุนแรงทางตรง" ด้วยกระสุนปืน 

ในบรรดากลุ่มนักกิจกรรมและนักวิชาการ ผมเห็นความหวังดี ความกระตือรือล้นของคนทุกกลุ่ม แต่ที่น่าเสียใจคือ คนบางคนดูจะให้ความสำคัญกับเป้าหมาย มากกว่าวิธีการ และผมคิดว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมแตกหักกับเพื่อนๆ ที่ยังหนุนการชุมนุมอยู่ 

ที่ร้ายกว่านั้นคือ พวกนักวิชาการและ NGOs ที่กระสันจะปฏิรูป พวกเขาดูเหมือนจะยอมเลี้ยงวิกฤตของประเทศเอาไว้เป็นตัวประกัน เพื่อแลกโอกาสที่จะให้ตนได้อำนาจปฏิรูปนอกวิถีทางประชาธิปไตย 

สุดท้าย ผมก็สงสัยว่า เราจะปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย หรือจะยอมสูญเสียชีวิตคนมากไปกว่านี้อีก เพียงเพื่อพยุงอำนาจต่อรองไว้ จะต้องรอให้สูญเสียอีกเท่าไหร่ พวกคุณที่ชุมนุมอยู่และที่เลี้ยงกระแสการชุมนุมไว้จึงจะยอมกลับมาสนับสนุนการเลือกตั้ง หยุดการชุมนุม เปิดการเจรจา แล้วค่อยคิดเรื่องการปฏิรูปกันหลังจากที่อะไรต่อมิอะไรมันสงบนิ่งกว่านี้ ไม่ดีกว่าหรือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน