Skip to main content

ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม

เป็นต้นว่า อาหารมีความหมายอย่างไร (เราอ่านเรื่องสามเหลี่ยมอาหารของเลวี่-สโตรทส์ กับอาหารต้องห้ามของแมร ดักลาส) ความหมายของอาหารแต่ละยุคต่างกันอย่างไร (เราอ่านเรื่องข้าวญี่ปุ่นของโอนูกิ-เทียนี่ย์ความเป็นมาของอาหารสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมวัฒนธรรมอย่างไร (เราอ่านเรื่องน้ำตาลของมินทซ์อาหารกับการแบ่งแยกชนชั้น (เราอ่านเรื่องอาหารการกินกับการแยกชนชั้นของบูร์ดิเออ) เรื่องผัสสะกับอาหารและสังคม (เราอ่านเรื่องผัสสะของชาวเกาะโทรเบียนโดยฮาวส์) 

 

สุดท้าย เราอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยสองชิ้น หนึ่งคืองานศึกษาประวัติศาสตร์อาหารจีนในกรุงเทพฯ (ของธเนศ วงศ์ยานนาวา) และสองคือตำรับอาหารชาววังในกรุงเทพฯ (ของสุนทรี อาสะไวย์) น่าสนใจว่า อาหารชาววังเต็มไปด้วยอาหารที่ปัจจุบันนี้ต้องเรียกว่า "ฟิวชั่น" เพราะมีอาหารดัดแปลงมากมาย นัยว่าเป็นการแข่งกันระหว่างวังต่างๆ อีกชิ้นอ่านความเปลี่ยนแปลงของอาหารจีนในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอร่อยที่เคลื่อนผ่านยุคต่างๆ ผ่านหลักคิดความอร่อยต่างยุค กระทั่งจะหา "อาหารจีนแท้" ที่ไหนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ที่ไหนๆ ในโลกก็แทบไม่ได้ทั้งสิ้น 

 

คำถามคือ ความเข้าใจอาหารดังกล่าว จะทำให้คนเขียนและคนอ่านบทความประวัติศาสตร์อาหารจีน หรือคนเขียนบทความอาหารชาววัง ปลงต่ออาหารจีน อาหารไทย แล้วกินอะไรก็ได้ เพียงเพราะเขาเองได้ค้นพบว่า อาหารจีน อาหารไทย ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครกิน มันก็อร่อยแบบของมันทั้งนั้นแหละ 

หรือเราจะเลือกกินอาหารเพียงเพราะมันเป็นรสนิยมส่วนตัวของเรา เพราะไม่ว่าจะกินหูฉลามร้านไหนในกรุงเทพฯ ก็ "ไม่แท้" จะกินผัดผักโสภนที่ไหน ก็ไม่จริงทั้งนั้น จะกินขนมไทย กินแกงไทยอะไร ก็ไม่แท้ เพราะล้วนถูกตัดแต่งดัดแปลงทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือ

แล้วอย่างนี้เราจะเรียกว่าอะไรอร่อยกันได้อย่างไร จะให้ความอร่อยเป็นเรื่องของท้องถิ่น ช่วงเวลาขอประวัติศาสตร์ และความชอบส่วนตนของคนเฉพาะกลุ่ม เท่านั้นหรือ มีความเป็นสถาบันของความอร่อยอยู่หรือไม่ ความอร่อยเชิงสังคมถูกสถาปนาขึ้นมาได้อย่างไร  

ต่อคำถามเหล่านี้ ผมลองนึกย้อนกลับไปยังข้อเสนอ (ของปิแอร์ บูร์ดิเออ) ที่เสนอให้เห็นถึงพลังดึงดันกันระหว่าง autonomous principle หรือพลังที่ก่อให้เกิดการสร้างความเป็นเอกเทศของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม กับ heteronomous principle หรือพลังที่ผลักให้ผลิตภันฑ์ทางวัฒนธรรมหมดความเป็นเอกเทศ ทั้งสองพลังไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกันอย่างที่ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียว ทั้งสองพลังเกี่ยวพันกับอำนาจทางการเมืองและชนชั้น 

คำถามต่อมาจากข้อเสนอนั้นคือ อาหารอร่อยคืออาหารที่มีค่าทางวัฒนธรรมค่อนไปทางความเป็นเอกเทศ หรือค่อนไปทางการทำลายความเป็นเอกเทศ อาหารอร่อย อร่อยสำหรับใครคนเดียว หรือสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มน้อยหรือหรือหลายๆ คน อาหาร mass food อย่าง "ฟาสต์ฟู้ด" กับอาหารเฉพาะถิ่นอย่าง "ลูทะฟิช" อร่อยหรือไม่อร่อยอย่างไร เพราะอะไร

สำหรับมื้อเมื่อวันก่อน เสียดายอย่างเดียวที่อาหารจานเด็ดของร้านคือปลาตะเพียนทอดหมดเสียก่อน แต่ก็ยังดีที่เราไม่ได้คุยกันเรื่องอาหาร มีแต่กินอาหารแล้วคุยกันเรื่องอื่นๆ ไม่อย่างนั้นอาหารคงหมดอร่อยลงไปมากทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์