Skip to main content
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

 
ผมเคยเขียนงานชิ้นหนึ่งส่งอาจารย์ตอนเรียนปริญญาเอกเมื่อเกือบสิบปีก่อน หนึ่งในความเห็นที่อาจารย์ให้มาคือ "งานคุณอ่านแล้วเป็น magical realism มากเลย" 
 
อาจารย์ผมคนนี้ชื่อ Kirin Narayan เป็นนักมานุษยวิทยาที่เขียนนิยายด้วย เธอสอนวิชาการเขียนกับวิชาคติชนวิทยา ผมเรียนด้วยทั้งสองวิชา ในวิชาคติชนวิทยา ผมเขียนถึงคติความเชื่อเรื่อง "เงือก" ของชาวลาวที่อพยพไปอยู่ที่อเมริกา หลักๆ คือได้สัมภาษณ์พี่หรั่งกับพี่จัน ขอเล่าอย่างสั้นๆ
 
พี่หรั่งกับพี่จันเล่าถึงชีวิตในลาวก่อนสงครามระหว่างอเมริกันกับอินโดจีนที่มีไทยหนุนหลังอเมริกัน สองคนเล่าโดยโยงกับผีเงือกตลอด ผมจึงสนใจอยากรู้ว่า เงือกคืออะไร
 
พี่ทั้งสองบอกว่า เงือกเหมือนงูใหญ่ อาศัยตามวังน้ำ พี่หรั่งเล่าว่าตนเคยถูกผีเงือกเล่นงานบ่อย จากเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง ผมได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ผีเงือกชอบเล่นงานคนทำไม่ดี มีตอนหนึ่งพี่หรั่งเล่าเรื่องผีเงือกถูกพวกคอมมิวนิสต์จับมาฆ่ากลางถนน คนจึงกลัวพวกคอมมิวนิสต์มาก
 
ผมตีความว่า เงือกเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยน "ความดี" ในความหมายที่เล่าผ่านผีเงือกจึงเป็นความสมดุลของการแลกเปลี่ยน การตอบแทนกัน ช่วยเหลือกัน รวมทั้งการไม่เอาเปรียบธรรมชาติ คือความดีที่จะได้รับการคุ้มครอง แต่ผิดจากนี้จะถูกเงือกเล่นงาน ที่น่าสนใจคือท้ายสุด พี่สองคนรู้สึกเหมือนว่า  "ความดี" ได้ถูกทำลายลงด้วยพวกคอมมิวนิสต์
 
ผมถามพี่หรั่งว่า "แล้วในอเมริกามีเงือกไหม" พี่หรั่งบอกว่า "มี มีตัวหนึ่งชอบแปลงกายเป็นผู้หญิงมาตามเล่นงานพี่อยู่บ่อยๆ" พี่หรั่งเล่าอย่างจริงจังพร้อมการสนับสนุนรายละเอียดและความน่าสะพรึงกลัวเป็นระยะๆ จากพี่จัน
 
เรื่องของพี่หรั่งกับพี่จันคงมีความเป็นแมจิค่อล เรียลิสซึ่มในความหมายที่มากกว่าแค่การอยู่กับเงือกอย่างปกติธรรมดา แต่พี่หรั่งกับพี่จันยังบอกเล่าชีวิตหลังยุคสิ้นสุดของความหวังจากมุมของคนที่แทบจะไม่สามารถหวังอะไรได้มากเกินการทำชีวิตประจำวันให้เดินหน้าต่อไป
 
มาร์เกซเขียนถึงการต่อสู้ของประชาชน เขียนถึงความสูญเสียที่กัดกินชีวิตประจำวันของนักต่อสู้ที่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ไร้คนจดตำ เขียนถึงความสูญค่าของการล้มตาย เขียนถึงการจ่อมจมอยู่กับโลกน่าอัศจรรย์ในสายตาชาวโลกสมัยใหม่ แต่ก็กลับเป็นชีวิตอย่างปกติธรรมดาของชาวโลกส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางการติดต่อสังสรรค์กับคนต่างภพ เขียนถึงชีวิตสิ้นหวังหลังการต่อสู้เพื่อความหวัง
 
มาร์เกซคงบอกเล่าชีวิตของคนในยุคนี้ ที่ไม่รู้จะเรียกว่ายุคอะไรดี ได้อย่างจับใจ จนใครๆ ก็อ่านกัน ผมคิดว่า งานมาร์เกซคงไม่จับใจนักปฏิวัติรุ่นก่อนหน้าเขา ที่มีความหวังกับโลก และที่ยังคิดแทน วาดหวังให้ พร้อมอุ้มชูเป็นผู้นำให้กับชนผู้ทุกข์ยาก
 
ผมไม่คิดว่าจะมีนักคิดนักเขียนไทยยุค 60s, 70s คนไหนบ้างที่คร่ำครวญถึงงานมาร์เกซ ผมเดาว่า พวกเขาคงไม่อ่านมาร์เกซ ส่วนคนรุ่นผม ไม่รู้ทำไม งานที่ชวนให้สิ้นหวัง จมปลัก หลอกหลอนตนเองอยู่กับภพภูมิอื่น จึงส่งอิทธิพลให้มากนัก
 
ชีวิตหลังยุคอุดมการณ์ หรือที่บางคนเรียกว่าหลังประวัติศาสตร์ คงไม่เพียงเป็นความสิ้นสุดลงของอุดมการณ์ทางเลือกเพื่อความเสมอภาคแบบคอมมิวนิสต์ แล้วกลายเป็นการครอบงำของประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรอก 
 
ในขณะเดียวกันกับที่นักประชาธิปไตยยุคหลังอาณานิคมกำลังค้นหาแหล่งอ้างอิงประชาธิปไตยใหม่ๆ นอกโลกตะวันตกอยู่ หลังการเข้าร่วมต่อสู้กับนักโฆษณาขายความหวัง ผู้คนจำนวนมากกำลังสิ้นหวัง โดดเดี่ยว จมจ่อมกับชีวิตกึ่งฝันกึ่งจริงในทุกเมื่อเชื่อวัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร