Skip to main content
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

 
ผมเคยเขียนงานชิ้นหนึ่งส่งอาจารย์ตอนเรียนปริญญาเอกเมื่อเกือบสิบปีก่อน หนึ่งในความเห็นที่อาจารย์ให้มาคือ "งานคุณอ่านแล้วเป็น magical realism มากเลย" 
 
อาจารย์ผมคนนี้ชื่อ Kirin Narayan เป็นนักมานุษยวิทยาที่เขียนนิยายด้วย เธอสอนวิชาการเขียนกับวิชาคติชนวิทยา ผมเรียนด้วยทั้งสองวิชา ในวิชาคติชนวิทยา ผมเขียนถึงคติความเชื่อเรื่อง "เงือก" ของชาวลาวที่อพยพไปอยู่ที่อเมริกา หลักๆ คือได้สัมภาษณ์พี่หรั่งกับพี่จัน ขอเล่าอย่างสั้นๆ
 
พี่หรั่งกับพี่จันเล่าถึงชีวิตในลาวก่อนสงครามระหว่างอเมริกันกับอินโดจีนที่มีไทยหนุนหลังอเมริกัน สองคนเล่าโดยโยงกับผีเงือกตลอด ผมจึงสนใจอยากรู้ว่า เงือกคืออะไร
 
พี่ทั้งสองบอกว่า เงือกเหมือนงูใหญ่ อาศัยตามวังน้ำ พี่หรั่งเล่าว่าตนเคยถูกผีเงือกเล่นงานบ่อย จากเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง ผมได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ผีเงือกชอบเล่นงานคนทำไม่ดี มีตอนหนึ่งพี่หรั่งเล่าเรื่องผีเงือกถูกพวกคอมมิวนิสต์จับมาฆ่ากลางถนน คนจึงกลัวพวกคอมมิวนิสต์มาก
 
ผมตีความว่า เงือกเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยน "ความดี" ในความหมายที่เล่าผ่านผีเงือกจึงเป็นความสมดุลของการแลกเปลี่ยน การตอบแทนกัน ช่วยเหลือกัน รวมทั้งการไม่เอาเปรียบธรรมชาติ คือความดีที่จะได้รับการคุ้มครอง แต่ผิดจากนี้จะถูกเงือกเล่นงาน ที่น่าสนใจคือท้ายสุด พี่สองคนรู้สึกเหมือนว่า  "ความดี" ได้ถูกทำลายลงด้วยพวกคอมมิวนิสต์
 
ผมถามพี่หรั่งว่า "แล้วในอเมริกามีเงือกไหม" พี่หรั่งบอกว่า "มี มีตัวหนึ่งชอบแปลงกายเป็นผู้หญิงมาตามเล่นงานพี่อยู่บ่อยๆ" พี่หรั่งเล่าอย่างจริงจังพร้อมการสนับสนุนรายละเอียดและความน่าสะพรึงกลัวเป็นระยะๆ จากพี่จัน
 
เรื่องของพี่หรั่งกับพี่จันคงมีความเป็นแมจิค่อล เรียลิสซึ่มในความหมายที่มากกว่าแค่การอยู่กับเงือกอย่างปกติธรรมดา แต่พี่หรั่งกับพี่จันยังบอกเล่าชีวิตหลังยุคสิ้นสุดของความหวังจากมุมของคนที่แทบจะไม่สามารถหวังอะไรได้มากเกินการทำชีวิตประจำวันให้เดินหน้าต่อไป
 
มาร์เกซเขียนถึงการต่อสู้ของประชาชน เขียนถึงความสูญเสียที่กัดกินชีวิตประจำวันของนักต่อสู้ที่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ไร้คนจดตำ เขียนถึงความสูญค่าของการล้มตาย เขียนถึงการจ่อมจมอยู่กับโลกน่าอัศจรรย์ในสายตาชาวโลกสมัยใหม่ แต่ก็กลับเป็นชีวิตอย่างปกติธรรมดาของชาวโลกส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางการติดต่อสังสรรค์กับคนต่างภพ เขียนถึงชีวิตสิ้นหวังหลังการต่อสู้เพื่อความหวัง
 
มาร์เกซคงบอกเล่าชีวิตของคนในยุคนี้ ที่ไม่รู้จะเรียกว่ายุคอะไรดี ได้อย่างจับใจ จนใครๆ ก็อ่านกัน ผมคิดว่า งานมาร์เกซคงไม่จับใจนักปฏิวัติรุ่นก่อนหน้าเขา ที่มีความหวังกับโลก และที่ยังคิดแทน วาดหวังให้ พร้อมอุ้มชูเป็นผู้นำให้กับชนผู้ทุกข์ยาก
 
ผมไม่คิดว่าจะมีนักคิดนักเขียนไทยยุค 60s, 70s คนไหนบ้างที่คร่ำครวญถึงงานมาร์เกซ ผมเดาว่า พวกเขาคงไม่อ่านมาร์เกซ ส่วนคนรุ่นผม ไม่รู้ทำไม งานที่ชวนให้สิ้นหวัง จมปลัก หลอกหลอนตนเองอยู่กับภพภูมิอื่น จึงส่งอิทธิพลให้มากนัก
 
ชีวิตหลังยุคอุดมการณ์ หรือที่บางคนเรียกว่าหลังประวัติศาสตร์ คงไม่เพียงเป็นความสิ้นสุดลงของอุดมการณ์ทางเลือกเพื่อความเสมอภาคแบบคอมมิวนิสต์ แล้วกลายเป็นการครอบงำของประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรอก 
 
ในขณะเดียวกันกับที่นักประชาธิปไตยยุคหลังอาณานิคมกำลังค้นหาแหล่งอ้างอิงประชาธิปไตยใหม่ๆ นอกโลกตะวันตกอยู่ หลังการเข้าร่วมต่อสู้กับนักโฆษณาขายความหวัง ผู้คนจำนวนมากกำลังสิ้นหวัง โดดเดี่ยว จมจ่อมกับชีวิตกึ่งฝันกึ่งจริงในทุกเมื่อเชื่อวัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"