Skip to main content
 
นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก

 
กลางเมืองชิคาโก ในสวนสหัสวรรษ (Millennium Park) ผมชื่นชมกับการที่เขาดัดแปลงพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะขนาดมหึมา ที่รวมพื้นที่สารพัด ไม่ว่าจะเป็นลานโล่งที่มีเวทีรองรับการจัดงานแสดงหรือผู้คนอาจมานั่งเล่นนอนเล่นวิ่งเล่นหรือกระทั่งจิบเบียร์เย็นๆ ได้ มีสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่และกลมกลืนกับมวลชนหลายชิ้น ที่คนชื่นชอบมากเห็นจะไม่เกินถั่วขนาดยักษ์และน้ำตกหน้าคน มีลำธารให้เด็กวิ่งเล่นน้ำกระจาย ให้คนนั่งหย่อนเอาเท้าแช่น้ำ มีลานแสดงดนตรีวงเล็กๆ แต่ที่ไม่ควรพลาดคือ สวนขนาดใหญ่ที่ให้ภาพดอกหญ้าตัดกับตึกระฟ้าอย่างน่าประทับใจ
 
แต่เหนือจากนั้น ผมโชคดีอย่างยิ่งที่ชาวชิคาโกแนะนำให้รู้จัก Chicago Botanic Garden หรือสวนพฤกษศาสตร์ชิคาโก แม้จะอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองสัก 20 นาทีได้ แต่สวนแห่งนี้ก็ตั้งชื่อตามชื่อเมือง คงเนื่องจากทุนสนับสนุนมหาศาลที่น่าจะมาจากชิคาโก
 
สวนแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่โตมหึมา เกือบ 1,000 ไร่ มีพืชพันธ์ุต่างๆ มากมายขนาดไหนคงไม่ต้องพูดถึง แต่ที่น่าประทับใจคือ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ไม่ว่าจะมองมุมไหน ก็ล้วนงดงาม ลงตัว เพียบพร้อมไปด้วยการจัดแต่งจัดวางองค์ประกอบอย่างดีเยี่ยมไปเสียทั้งหมด หากคิดแค่ว่า ลำพังสวนหลังบ้านของใครต่อใครที่ไม่ว่าจะมีพื้นที่เล็กใหญ่ขนาดไหน ที่จะจัดให้ได้งดงามน่าชมไปเสียทุกมุมมองนั่นก็ยากแล้ว สวนที่ใหญ่ขนาดร่วมพันไร่จะจัดการกันอย่างไรก็ยิ่งน่าทึ่งมากเข้าไปอีก
 
แน่นอนว่าความอุตสาหะของการทำสวนแห่งนี้ไม่ได้อยู่เพียงการจัดวาง หากแต่สวนแห่งนี้ยังคัดเลือกพันธ์ุไม้มาแสดงเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนด้วย สวนย่อยสวนหนึ่งในบรรดาเกินสิบสวนที่น่าสนใจคือสวนพันธ์ุไม้พื้นเมือง ทางสวนเลือกไม้ของทวีปอเมริกามาเป็นหลัก ปลูกอัดกันแน่นแต่คละสีสันและรูปทรงของลำต้น ใบไม้ จนทำให้หากจะดูเพื่อความงามก็ได้ หรือจะควานหาความรู้จากป้ายอธิบายพันธ์ุไม้อย่างพินิจพิจารณาก็ได้
 
นอกจากจะจัดระบบตามพันธ์ุพืชเช่นสวนไม้พื้นเมืองที่ว่า และยังมีสวนกุหลาบแล้ว สวนแห่งนี้ยังจัดแบ่งหย่อมๆ ออกตามระบบนิเวศน์ ดังเช่นอีกสวนหนึ่งนี่ผมชอบคือสวนสน ที่เขารวบรวมพันธ์ุสนมากมาย มีกระทั่งสนที่โตเรี่ยดิน กระทั่งสนต้นสูงใหญ่ สนใบสีเหลือง สนใบเขียวอ่อน สนสามใบ ฯลฯ ลำพังต้นสนก็มีมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว 
 
สวนที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นอันสะท้อนออกมาจากระบบนิเวศน์เฉพาะของตนของกลางทวีปอเมริกาคือทุ่งแพรรี่ (prarie) เดิมทุ่งแพรรี่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของควายไบสันตัวใหญ่มหีมาแต่ถูกล่าตายด้วยอาวุธปืนไปจำนวนมากในช่วงบุกเบิกตะวันตกของคนขาว ทุ่งแพรรี่มีหญ้าและดอกทานตะวันพื้นเมืองขนาดเล็กๆ ขึ้นอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกันเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สูญหายไปเมื่อที่ดินถูกแปลงเป็นที่เพาะปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
อีกสวนหนึ่งที่โดดเด่นคือสวนญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับความรู้สึกให้ได้เหมือนกับไปญี่ปุ่นตั้งแต่สะพานข้ามน้ำที่เป็นสะพานไม้ดิบๆ แต่นุ่มนวลด้วยรูปทรงและการตกแต่งเรียบง่าย เมื่อข้ามไปจะพบกับต้นสนที่ตัดแต่งแบบญี่ปุ่น แต่ละต้นมีกิ่งไม่มาก เว้นช่วงกิ่งเป็นระยะ ตัดแต่งกิ่งให้มีใบเป็นหย่อมๆ บางต้นมีการดัดลำต้นให้คดงอและเตี้ยม่อต้อ นับเป็นการถ่ายทอดสุนทรีย์ศาสตร์การดัดแปลงธรรมชาติเพื่อชื่นชมธรรมชาติได้อย่างดี นอกจากนั้นยังมีเรือนญี่ปุ่นผนังดินปนไม้ที่มักเห็นตามชนบทในญี่ปุ่น บริเวณบ้านยังจัดสวนญี่ปุ่นขนาดเล็ก ได้บรรยากาศที่จำลองมาจากญี่ปุ่นอย่างประณีต มีแม้แต่มอสที่มักขึ้นในวัง วัด ศาลเจ้า และบ้านเก่าๆ ในชนบทญี่ปุ่น
 
ที่ต้องชื่นชมอีกอย่างคือ สวนแห่งนี้ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อให้ชื่นชมด้วยตาหรือจมูก แต่ยังให้การศึกษาอย่างเข้มข้น ต้นไม้หลากพันธ์ุได้รับการอธิบายด้วยชื่อสารพัดชื่อ และเพราะความซับซ้อนของชื่อต่างๆ เขาจึงทำป้ายอธิบายป้ายอีกว่าแต่ละป้ายนั้นบอกอะไรบ้าง นอกจากนันยังมีป้ายบอกเป็นระยะๆ ว่า พื้นที่บางพื้นที่ หรือต้นไม่บางต้น ได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากปัญหาอะไร เนื่องจากเขาได้เรียนรู้อะไรและต้องปรับปรุงอะไร ในสวนญี่ปุ่น มีคำอธิบายหลักปรัชญาเบื้องหลังการจัดหิน การดัดต้นสน และการจัดวางสิ่งสิ่งของ เช่น ความหมายของสะพาน ทำให้ทั้งเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน
 
ที่น่าผิดหวังอยู่หน่อยตรงที่ไม่ได้เห็นข้าวป่าเมล็ดยาว ไม่ได้เห็นระบบนิเวศน์แบบชื้อแฉะ (wet land) ที่ดูรกร้าง แต่เท่าที่มีนั่นก็มากเกินพอกว่าจะไปเรียกร้องเอาจากสวนแห่งนี้แล้ว ยิ่งเขาไม่เก็บค่าเข้าชม (เก็บแต่ค่ารถ) ด้วยแล้ว ก็ยิ่งต้องขอบคุณเขามากกว่าที่จะไปเรียกร้องอะไรเพิ่มเติมจากเขาอีก
 
หากใครจะไปสวนพฤกษศาสตร์แห่งชิคาโกในฤดูร้อน คนชิคาโกแนะนำว่าให้ไปก่อน 10 โมง จะได้ไม่ลำบากหาที่จอดรถ และจะได้มีมุมถ่ายรูปที่ไม่ติดคนมากนัก ซึ่งก็จริง เพราะดูเหมือนคนชิคาโกจะนิยมไปชมสวนมากกว่าไปเดินห้าง  
 
อันที่จริงกรุงเทพฯไม่ได้ด้อยไปกว่าชิคาโกในแง่ของเศรษฐกิจ แต่คนกรุงเทพฯ น่าสงสารที่ไม่มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ให้ผู้คนได้ชื่นชมและหาความรู้ โชคร้ายที่ผู้บริหารเมืองไม่เคยสามารถจัดการอะไรได้ ไร้วาสนาที่มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งจากการให้เช่าที่ดินในกรุงเทพฯกลับไม่ค่อยบริจาคเงินให้สาธารณชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"