Skip to main content

เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว

 
ชื่อนิธิ เอียวศรีวงศ์เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางก็ด้วยมติชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิตยสารสำคัญคือ "ศิลปวัฒนธรรม" ผมคิดว่า "ศิลปวัฒนธรรม" และอาจารย์นิธิได้ร่วมกันสร้างความหมายหนึ่งให้กับ "วัฒนธรรม" ในสังคมไทย คือการทำให้วัฒนธรรมเป็นเรื่องร้อยแปดสารพัดอย่าง ไม่ใช่จะต้องเป็นเรื่อง "ความเจริญงอกงาม" ตามนิยามแบบเก่าเท่านั้น ผมว่าถ้าจะมีสำนัก cultural studies ของไทยขึ้นมาสักสำนัก อาจารย์นิธิและศิลปวัฒนธรรมนี่แหละที่จะเป็นขุมความรู้สำคัญของสำนักนี้
 
อาจารย์มานุษยวิทยาที่ผมเคารพมากท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ในการสอบเข้านักศึกษาปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ที่ผ่านมานับสิบปี หากถามนักศึกษาว่าประทับใจงานเขียนทางวิชาการของใครบ้าง ชื่อนิธิ เอียวศรีวงศ์ก็มักจะเป็นชื่อแรกๆ ผมเองก็เคยเจอแบบนั้นบ่อยๆ และเมื่อถามนักศึกษาว่า แล้วคุณมีอะไรโต้เถียงหรือเห็นแย้งกับแนวคิดอาจารย์นิธิไหม นักศึกษาก็มักจะตอบว่า "ไม่มีหรอกครับ/ค่ะ เพราะนี่อาจารย์นิธิพูดนะครับ/คะ"
 
จะว่าไป อาจารย์นิธิน่าจะเป็นหนึ่งในเป้าใหญ่ของการทำงานทางวิชาการของนักวิชาการรุ่นหลังหลายๆ คนรวมทั้งผมเองก็อาศัยการถกเถียงกับงานเขียนของอาจารย์นิธิเพื่อเป็นฐานในการคิดต่อยอดไปสู่อะไรใหม่ๆ เรียกว่าหากพบอะไรที่อาจารย์นิธิยังไม่ได้คิด ยังไม่ได้เขียน แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกันประเด็นเดียวกันกับที่อาจารย์เขียนแล้วก็ตาม นั่นก็นับว่ามีวาสนาอย่างที่สุดแล้ว 
 
ในระยะหลังที่อาจารย์เขียนบทวิจารณ์การเมืองไทยมากขึ้น ทัศนะทางการเมืองของอาจารย์ก็ยิ่งมักถูกวิจารณ์ตรวจสอบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม ที่ทำให้ผมนับถืออาจารย์นิธิยิ่งขึ้นไปอีกไม่ใช่เพียงความกล้าหาญต่อกรกับผู้มีอำนาจผ่านการคิด การเขียน แต่อาจารย์ยังเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าวิจารณ์ผู้ใหญ่ แบบซึ่งหน้า ตรงไปตรงมา บทความลง "มติชน" หลังรัฐประหารในแนวนี้หลายชิ้นนับเป็นชุดผลงานที่ต้องเก็บไว้ในทำเนียบประวัติศาสตร์ปัญญาชนสยามที่มีการเปิดวิวาทะอย่างเข้มข้นทีเดียว
 
ย้อนกลับมาที่งาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่น่ายินดีอีกอย่างคือ กองทัพไทยละเว้นไม่บุกรุกล้ำพื้นที่งานนี้ ต่างกับการจัดงานวิชาการในมหาวิทยาลัยขณะนี้ที่ต้องขออนุมัติจากทหารก่อน ต่างจากงานเวทีเสวนาของชาวบ้านในท้องถิ่นที่อาจถูกบุกเข้าไปให้ระงับได้ง่ายๆ ต่างจากงานระลึกโอกาสต่างๆ ของปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตย ที่ถูกทหารไปข่มขู่เสมอมา
 
นี่ก็แสดงว่า มติชนได้เข้ามาทำบทบาทเป็นสถาบันทางวิชาการแทนที่มหาวิทยาลัยที่เข้าไปรับใช้เผด็จการกันเต็มที่แล้ว งานที่มติชนเมื่อวานจึงกลายเป็นงานแสดงพลังเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กฎอัยการศึกงานเดียวกระมังที่ไม่มีเสียงข่มขู่คุกคามจากทหาร
 
ในด้านหนึ่ง นี่ก็นับเป็นความกล้าหาญของมติชน ในอีกด้านหนึ่ง ก็ชี้ให้เห็นว่าหากสื่อมวลชนยืนยันบทบาทการรักษาพื้นที่เสรีภาพทางความเห็น สังคมก็จะยิ่งยอมรับ และพร้อมกันนั้นก็น่าจะเป็นพลังต่อรองเพียงพอที่จะทัดทานการรุกล้ำพื้นที่ของสื่อมวลชน 
 
งาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" จึงเป็นทั้งหมุดหมายของวัฒนธรรมศึกษาแบบไทยและหมุดหมายของการสร้างพื้นที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง