Skip to main content

รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 


นับตั้งแต่การไม่เข้าเผ้าตั้งแต่นาทีแรกๆ ไม่เล่นงานนักการเมืองอย่างเฉียบขาด ไม่ตั้งคณะกรรมการยึดทรัพย์ ไม่ยุบพรรคการเมือง นอกจากนั้นแล้ว สิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งคือ การไล่บี้เรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย งัดทั้งมาตรา 112 และพรบ.คอมฯ รวมทั้งอำนาจดิบอื่นๆ ปราบปราม ขยายนิยามความผิดเรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีในการรัฐประหารครั้งก่อนนี้ 

ที่ผมว่าใหม่อีกอย่างคือ นอกจากการรัฐประหารเพื่อยืนยันการมีอยู่ของอำนาจทหารและ "ชนชั้นนำเก่า" ในการเมืองไทยแล้ว รัฐประหารครั้งนี้ยังเป็นรัฐประหารเพื่อ "ชนชั้นกลางเก่า" ก็ได้แก่บรรดาผู้ที่ทรงอิทธิพลในการสนับสนุนมวลชนให้ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ที่ต่างได้ดิบได้ดี ชักแถวเดินหน้ากันเข้าไปรับใช้คณะรัฐประหารกันไม่ขาดสาย 

ไม่ว่าจะแวดวงนักวิชาการ แวดวงเอ็นจีโอ แวดวงสื่อมวลชน แวดวงช่างเทคนิคคนเรียนเก่งจบแล้วไปทำงานในภาคธุรกิจหรือรัฐกิจที่เป็นองค์การมหาชนต่างๆ (ไม่อยากเรียกว่าเทคโนแครท มันหรูเกินไป) คนเหล่านี้เกลียดและไม่เคยนับถือนักการเมืองมากก่อน ไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้ง ดูถูกเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วทำเป็นตีหน้านับถือทหารมากกว่า 

แต่ที่จริง รัฐประหารครั้งนี้สำเร็จก็เพราะว่าทหารได้ที่พึ่งจาก "ชนชั้นกลางเก่า" เหล่านี้ ทหารไม่มีความรู้ มีแต่อำนาจดิบจากปืน ก็ต้องพึ่งนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ช่างเทคนิค ฝ่ายหลังก็ต้องพึ่งทหาร เพราะตนเองไม่มีปัญญาได้อำนาจ ก็เลยเป็นอาการน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นผีเน่ากับโลงผุกันอยู่อย่างนี้แหละ

อย่างในแวดวงนักวิชาการ ก็ชักแถวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งรุ่นใหญ่ไล่มาตั้งแต่อธิการบดี จนรุ่นรองๆ ลงมา กระทั่งล่าสุดผมก็เพิ่งรู้ว่ารุ่นน้องผมที่จบจากสถาบันเดียวกัน ที่เคยเหมือนพูดคุยภาษาเดียวกัน บัดนี้ก็เข้าไปกินเงินเดือนคณะรัฐประหารเรียบร้อยแล้ว คงไปเป็นเนติบริกรฝึกหัดเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทำงานกับใครก็ได้ขอให้จ่ายหนักๆ เป็นพอ

ทิศทางของการรวบอำนาจกลับคืนจากนักการเมืองจึงไม่ใช่เพียงการรวบอำนาจกลับคืนสู่อำนาจราชการ แต่จะเป็นการสร้างองค์กรและกลไกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ไม่เพียงแต่ข้าราชการ แต่ยังมีบรรดาชนชั้นนำเก่าเหล่านี้ คือนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน และบรรดาช่างเทคนิค น่าจับตาดูว่ากลไกอำนาจและองค์กรใหม่ๆ เหล่านี้จะเป็นหลักประกันรับรองอำนาจของชนชั้นกลางเก่าอย่างไร กลไกเหล่านี้จะสร้างสถาบันการเมืองแบบใหม่มากยิ่งกว่าที่องค์กรอิสระ (อย่างตลก. กกต. ปปช.) เคยมีอำนาจอย่างไร แล้วกลไกใหม่ๆ เหล่านี้จะส่งผลเลวร้ายระยะยาวต่อประชาธิปไตยไทยต่อไปอย่างไรในอนาคต

เมื่อทิศทางเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองรอบต่อไปก็จะยังเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นแบบเดิม แต่จะยิ่งฝังลึกลงเรื่อยๆ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก "ชนชั้นกลางเก่า" และ "ชนชั้นนำเก่า" ซึ่งเกรงกลัวการสูญเสียอำนาจก็จึงจับมือกันโค่นล้มอำนาจ "ชนชั้นกลางใหม่" ที่ให้อำนาจ "ชนชั้นนำใหม่" ผ่านการเลือกตั้ง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนทางการเมืองเพื่อกระจายทรัพยากรของรัฐไปยังพวกเขา

ชาวโลกเขารู้กันดีว่า คำว่าการปราบทุจริต ปราบคอร์รัปชั่นน่ะ เป็นคาถาเท่านั้นแหละครับ ชนชั้นนำเก่ามี agenda อะไรจริงๆ ที่ยอมจับมือกับชนชั้นกลางเก่าที่ก็มี agenda ของตัวเองเหมือนกันน่ะ ใครๆ เขาก็ดูกันออก นี่คืออาการของผีเน่ากับโลงผุน่ะครับ จะเผาผีก็อย่าลืมเผาโลงไปด้วยพร้อมกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"