Skip to main content

รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 


นับตั้งแต่การไม่เข้าเผ้าตั้งแต่นาทีแรกๆ ไม่เล่นงานนักการเมืองอย่างเฉียบขาด ไม่ตั้งคณะกรรมการยึดทรัพย์ ไม่ยุบพรรคการเมือง นอกจากนั้นแล้ว สิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งคือ การไล่บี้เรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย งัดทั้งมาตรา 112 และพรบ.คอมฯ รวมทั้งอำนาจดิบอื่นๆ ปราบปราม ขยายนิยามความผิดเรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีในการรัฐประหารครั้งก่อนนี้ 

ที่ผมว่าใหม่อีกอย่างคือ นอกจากการรัฐประหารเพื่อยืนยันการมีอยู่ของอำนาจทหารและ "ชนชั้นนำเก่า" ในการเมืองไทยแล้ว รัฐประหารครั้งนี้ยังเป็นรัฐประหารเพื่อ "ชนชั้นกลางเก่า" ก็ได้แก่บรรดาผู้ที่ทรงอิทธิพลในการสนับสนุนมวลชนให้ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ที่ต่างได้ดิบได้ดี ชักแถวเดินหน้ากันเข้าไปรับใช้คณะรัฐประหารกันไม่ขาดสาย 

ไม่ว่าจะแวดวงนักวิชาการ แวดวงเอ็นจีโอ แวดวงสื่อมวลชน แวดวงช่างเทคนิคคนเรียนเก่งจบแล้วไปทำงานในภาคธุรกิจหรือรัฐกิจที่เป็นองค์การมหาชนต่างๆ (ไม่อยากเรียกว่าเทคโนแครท มันหรูเกินไป) คนเหล่านี้เกลียดและไม่เคยนับถือนักการเมืองมากก่อน ไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้ง ดูถูกเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วทำเป็นตีหน้านับถือทหารมากกว่า 

แต่ที่จริง รัฐประหารครั้งนี้สำเร็จก็เพราะว่าทหารได้ที่พึ่งจาก "ชนชั้นกลางเก่า" เหล่านี้ ทหารไม่มีความรู้ มีแต่อำนาจดิบจากปืน ก็ต้องพึ่งนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ช่างเทคนิค ฝ่ายหลังก็ต้องพึ่งทหาร เพราะตนเองไม่มีปัญญาได้อำนาจ ก็เลยเป็นอาการน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นผีเน่ากับโลงผุกันอยู่อย่างนี้แหละ

อย่างในแวดวงนักวิชาการ ก็ชักแถวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งรุ่นใหญ่ไล่มาตั้งแต่อธิการบดี จนรุ่นรองๆ ลงมา กระทั่งล่าสุดผมก็เพิ่งรู้ว่ารุ่นน้องผมที่จบจากสถาบันเดียวกัน ที่เคยเหมือนพูดคุยภาษาเดียวกัน บัดนี้ก็เข้าไปกินเงินเดือนคณะรัฐประหารเรียบร้อยแล้ว คงไปเป็นเนติบริกรฝึกหัดเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทำงานกับใครก็ได้ขอให้จ่ายหนักๆ เป็นพอ

ทิศทางของการรวบอำนาจกลับคืนจากนักการเมืองจึงไม่ใช่เพียงการรวบอำนาจกลับคืนสู่อำนาจราชการ แต่จะเป็นการสร้างองค์กรและกลไกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ไม่เพียงแต่ข้าราชการ แต่ยังมีบรรดาชนชั้นนำเก่าเหล่านี้ คือนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน และบรรดาช่างเทคนิค น่าจับตาดูว่ากลไกอำนาจและองค์กรใหม่ๆ เหล่านี้จะเป็นหลักประกันรับรองอำนาจของชนชั้นกลางเก่าอย่างไร กลไกเหล่านี้จะสร้างสถาบันการเมืองแบบใหม่มากยิ่งกว่าที่องค์กรอิสระ (อย่างตลก. กกต. ปปช.) เคยมีอำนาจอย่างไร แล้วกลไกใหม่ๆ เหล่านี้จะส่งผลเลวร้ายระยะยาวต่อประชาธิปไตยไทยต่อไปอย่างไรในอนาคต

เมื่อทิศทางเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองรอบต่อไปก็จะยังเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นแบบเดิม แต่จะยิ่งฝังลึกลงเรื่อยๆ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก "ชนชั้นกลางเก่า" และ "ชนชั้นนำเก่า" ซึ่งเกรงกลัวการสูญเสียอำนาจก็จึงจับมือกันโค่นล้มอำนาจ "ชนชั้นกลางใหม่" ที่ให้อำนาจ "ชนชั้นนำใหม่" ผ่านการเลือกตั้ง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนทางการเมืองเพื่อกระจายทรัพยากรของรัฐไปยังพวกเขา

ชาวโลกเขารู้กันดีว่า คำว่าการปราบทุจริต ปราบคอร์รัปชั่นน่ะ เป็นคาถาเท่านั้นแหละครับ ชนชั้นนำเก่ามี agenda อะไรจริงๆ ที่ยอมจับมือกับชนชั้นกลางเก่าที่ก็มี agenda ของตัวเองเหมือนกันน่ะ ใครๆ เขาก็ดูกันออก นี่คืออาการของผีเน่ากับโลงผุน่ะครับ จะเผาผีก็อย่าลืมเผาโลงไปด้วยพร้อมกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ