Skip to main content

รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 


นับตั้งแต่การไม่เข้าเผ้าตั้งแต่นาทีแรกๆ ไม่เล่นงานนักการเมืองอย่างเฉียบขาด ไม่ตั้งคณะกรรมการยึดทรัพย์ ไม่ยุบพรรคการเมือง นอกจากนั้นแล้ว สิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งคือ การไล่บี้เรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย งัดทั้งมาตรา 112 และพรบ.คอมฯ รวมทั้งอำนาจดิบอื่นๆ ปราบปราม ขยายนิยามความผิดเรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีในการรัฐประหารครั้งก่อนนี้ 

ที่ผมว่าใหม่อีกอย่างคือ นอกจากการรัฐประหารเพื่อยืนยันการมีอยู่ของอำนาจทหารและ "ชนชั้นนำเก่า" ในการเมืองไทยแล้ว รัฐประหารครั้งนี้ยังเป็นรัฐประหารเพื่อ "ชนชั้นกลางเก่า" ก็ได้แก่บรรดาผู้ที่ทรงอิทธิพลในการสนับสนุนมวลชนให้ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ที่ต่างได้ดิบได้ดี ชักแถวเดินหน้ากันเข้าไปรับใช้คณะรัฐประหารกันไม่ขาดสาย 

ไม่ว่าจะแวดวงนักวิชาการ แวดวงเอ็นจีโอ แวดวงสื่อมวลชน แวดวงช่างเทคนิคคนเรียนเก่งจบแล้วไปทำงานในภาคธุรกิจหรือรัฐกิจที่เป็นองค์การมหาชนต่างๆ (ไม่อยากเรียกว่าเทคโนแครท มันหรูเกินไป) คนเหล่านี้เกลียดและไม่เคยนับถือนักการเมืองมากก่อน ไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้ง ดูถูกเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วทำเป็นตีหน้านับถือทหารมากกว่า 

แต่ที่จริง รัฐประหารครั้งนี้สำเร็จก็เพราะว่าทหารได้ที่พึ่งจาก "ชนชั้นกลางเก่า" เหล่านี้ ทหารไม่มีความรู้ มีแต่อำนาจดิบจากปืน ก็ต้องพึ่งนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ช่างเทคนิค ฝ่ายหลังก็ต้องพึ่งทหาร เพราะตนเองไม่มีปัญญาได้อำนาจ ก็เลยเป็นอาการน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นผีเน่ากับโลงผุกันอยู่อย่างนี้แหละ

อย่างในแวดวงนักวิชาการ ก็ชักแถวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งรุ่นใหญ่ไล่มาตั้งแต่อธิการบดี จนรุ่นรองๆ ลงมา กระทั่งล่าสุดผมก็เพิ่งรู้ว่ารุ่นน้องผมที่จบจากสถาบันเดียวกัน ที่เคยเหมือนพูดคุยภาษาเดียวกัน บัดนี้ก็เข้าไปกินเงินเดือนคณะรัฐประหารเรียบร้อยแล้ว คงไปเป็นเนติบริกรฝึกหัดเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทำงานกับใครก็ได้ขอให้จ่ายหนักๆ เป็นพอ

ทิศทางของการรวบอำนาจกลับคืนจากนักการเมืองจึงไม่ใช่เพียงการรวบอำนาจกลับคืนสู่อำนาจราชการ แต่จะเป็นการสร้างองค์กรและกลไกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ไม่เพียงแต่ข้าราชการ แต่ยังมีบรรดาชนชั้นนำเก่าเหล่านี้ คือนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน และบรรดาช่างเทคนิค น่าจับตาดูว่ากลไกอำนาจและองค์กรใหม่ๆ เหล่านี้จะเป็นหลักประกันรับรองอำนาจของชนชั้นกลางเก่าอย่างไร กลไกเหล่านี้จะสร้างสถาบันการเมืองแบบใหม่มากยิ่งกว่าที่องค์กรอิสระ (อย่างตลก. กกต. ปปช.) เคยมีอำนาจอย่างไร แล้วกลไกใหม่ๆ เหล่านี้จะส่งผลเลวร้ายระยะยาวต่อประชาธิปไตยไทยต่อไปอย่างไรในอนาคต

เมื่อทิศทางเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองรอบต่อไปก็จะยังเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นแบบเดิม แต่จะยิ่งฝังลึกลงเรื่อยๆ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก "ชนชั้นกลางเก่า" และ "ชนชั้นนำเก่า" ซึ่งเกรงกลัวการสูญเสียอำนาจก็จึงจับมือกันโค่นล้มอำนาจ "ชนชั้นกลางใหม่" ที่ให้อำนาจ "ชนชั้นนำใหม่" ผ่านการเลือกตั้ง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนทางการเมืองเพื่อกระจายทรัพยากรของรัฐไปยังพวกเขา

ชาวโลกเขารู้กันดีว่า คำว่าการปราบทุจริต ปราบคอร์รัปชั่นน่ะ เป็นคาถาเท่านั้นแหละครับ ชนชั้นนำเก่ามี agenda อะไรจริงๆ ที่ยอมจับมือกับชนชั้นกลางเก่าที่ก็มี agenda ของตัวเองเหมือนกันน่ะ ใครๆ เขาก็ดูกันออก นี่คืออาการของผีเน่ากับโลงผุน่ะครับ จะเผาผีก็อย่าลืมเผาโลงไปด้วยพร้อมกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง