Skip to main content

ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้


เคยได้ยินไหมครับว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยโด่งดังบางคนสอนมากมายจนกระทั่งนับได้ว่า 8 วิชาต่อหนึ่งภาคการศึกษา เคยได้ยินไหมครับว่าอาจารย์บางคนเข้าห้องสอนแล้วสอนไปจนหมดชั่วโมงก็เพิ่งจะรู้ว่าสอนเนื้อหาผิดวิชา ผมไม่ได้จะโทษอาจารย์หรอก แต่จะโทษระบบมหาวิทยาลัยไทยมากกว่า ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโดยทั่วๆ ไปมหาวิทยาลัยมักกำหนดภาระการสอนที่ "ต้องสอน" ไว้เพียง 4 วิชาต่อปี (บางคณะในธรรมศาสตร์เคยกำหนดไว้เพียง 2 วิชาต่อปีเท่านั้น แต่เกิดอะไรไร้สาระบางอย่างขึ้น ขอไม่เล่า สุดท้ายต้องสอน 4 วิชาต่อปี) แต่เมื่อทำตารางสอนจริงๆ อาจารย์ส่วนใหญ่จะสอนมากกว่านั้น จนอาจจะถึง 10 วิชาต่อปีทีเดียว

ในต่างประเทศ ที่อื่นผมไม่แน่ใจ แต่ที่สหรัฐอเมริกา เขาแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 กลุ่ม1. มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย 2. มหาวิทยาลัยเพื่อการสอน 3. มหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ (liberal arts college*) แบบที่สามเป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่เน้นการสอนระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะเรียนร่วมกันหมดร่วม 2 ปี เรียนวิชาคละเคล้ากันแล้วแต่จะชอบ แล้วค่อยมาระบุเอาในปีสูงๆ ว่า ตกลงสนใจจะเน้นสาขาวิชาอะไร เท่าที่ผมรู้ มหาวิทยาลัยแบบนี้ไม่มีในประเทศไทย 

แต่สองแบบแรกเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ และผมอยากจะบอกว่า ที่จริงมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่เป็นแบบที่สอง คือเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการจัดการเรียนการสอน มากกว่าที่จะเน้นการส่งเสริมการวิจัย ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ ก็ดูจากภาระการสอนก็ได้ อาจารย์ส่วนใหญ่สอนกันอย่างน้อย 3-4 วิชาต่อภาคการศึกษา แล้วจะเอาเวลา เอาสมอง เอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปคิดทำงานวิจัย ไปเขียนบทความวิชาการ ไปสัมมนาวิชาการ ไปเขียนหนังสือ ไปแต่งตำราได้ล่ะ

ไม่ใช่ว่าอาจารย์ที่ทำได้จะไม่มี แต่มีน้อย และด้วยเงื่อนไขพิเศษบางอย่างเท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ระบบมหาวิทยาลัยไทยไม่เอื้อกับการสร้างมหาวิทยาลัยวิจัย ที่คุยกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยน่ะ ก็แค่โอ้อวดกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าเอาภาระงานสอนตั้งหารด้วยผลงานวิชาการแล้วล่ะก็ ภาระงานสอนจะมากกว่าผลงานวิชาการหลายเท่าตัวทีเดียว

ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงเน้นการสอน เดิมที ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ที่ผมเพิ่งเริ่มเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย (ผมเริ่มงานปี 2539) คณะผมเพิ่งจะพัฒนาระบบการคิดภาระงานของอาจารย์ ผมได้รับมอบหมายให้ร่างระบบภาระงานขึ้นมา ขณะนั้นยังไม่มีแนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยวิจงวิจัยอะไร ผลงานอาจารย์จะตีค่าออกมาเป็นคะแนน เมื่อดูระบบที่เคยใช้อยู่จึงได้รู้ว่า ระบบเดิมไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเขียนงานวิชาการ ผมเสนอว่า หากใครจะได้สองขั้น ควรมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเป็นอย่างน้อย หลายคนทักว่า จะเอาอย่างนั้นเลยเหรอ จะไม่มีคนได้ 2 ขั้นเลยนะ

การเร่งให้คณาจารย์ผลิตงานวิจัยเพิ่งจะมีมาเมื่อไม่ถึง 10 ปีมานี้เอง ที่จริงผมคิดว่าไม่ถึง 5 ปีดีด้วยซ้ำ เมื่อผมกลับไปทำงานหลังจบปริญญาเอกใหม่ๆ ผมเสนอให้คณะมีฝ่ายวิจัยเป็นตัวเป็นตน คณะยังไม่ทำเลย มาจนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมานี้เองที่เริ่มมีฝ่ายวิจัยทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดิมไม่มีหรอกครับ ไม่ใช่เพียงเพราะโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอะไรนั่นหรอก แต่เพราะระบบประกันคุณภาพกับการแข่งขันในระดับโลกที่ทบวงฯ นำเข้ามาใช้อย่างงูๆ ปลาๆ นั่นเอง ที่เพิ่งจะมากระตุ้นให้มหาวิทยาลัยไทยเร่งงานวิจัย โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 

พูดแบบนักเศรษฐศาสตร์การเมืองก็คือ เพราะระบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาทำให้เกิดการแปลงสินค้าสาธารณะให้เป็นสินค้าเอกชนให้หมด เกิดการ privatization มหาวิทยาลัยกันทั่วโลก รวมทั้งเกิดการ privatization กิจการของรัฐ ทั้งการสาธารณะสุข โรงพยาบาล การศึกษาระดับต่างๆ นั่นหละ ที่ส่งผลกระทบให้มหาวิทยาลันต้องแข่งขัน ต้องเร่งสร้างงานวิจัย

แต่ผลมันไม่อย่างนั้น เพราะแทนที่ระบบทั้งหมดมันจะปรับไปทางนั้น แต่มันกลับกลายเป็นว่า อาจารย์ทุกวันนี้มีแรงบีบทั้งด้านการสอนและการวิจัย เดิมที อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยก็มักทำงานสอนไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ทำวิจัยไปเรื่อยๆ เมื่อผลงานมากพอ ถ้าไม่ยอมบากหน้าหอบเอกสารไปขอตำแหน่งทางวิชาการเอง ก็มักจะมีลูกศิษย์ลูกหาที่เห็นใจ อยากให้อาจารย์ตนมีหน้ามีตา ก็ช่วยกรอกผลงาน ช่วยขอตำแหน่งให้ อาจารย์ไทยส่วนใหญ่จึงเป็นศาสตราจารย์กันยากใกล้เกษียณ หรือจนเกษียณแล้วไม่ขอตำแหน่งทางวิชาการเลยก็มี

แต่ทุกวันนี้ไม่อย่างนั้น ถ้าใครเข้ามาทำงาน ต้องขอตำแหน่งภายในกี่ปีกี่ปี เขาระบุไว้ในสัญญาเลย หากได้ ผศ. แล้ว จะต้องได้ รศ. ภายในกี่ปี เขาก็ระบุไว้ หากไม่ได้ ศ. หรือเป็น รศ. แต่ไม่มี ดร. เขาก็จะไม่ต่ออายุหลังเกษียณให้ ระบบนี้ดีไหม ก็ดีนะครับถ้าเห็นว่าเป็นการเร่งรัดและบีบให้อาจารย์ทำงานวิชาการ แต่ในทางกลับกัน ภาระงานสอนมากมายมันค้ำคออาจารย์อยู่ 

ถามว่าทำไมอาจารย์ต้องสอนมากด้วยเล่า ผมว่ามีสองสาเหตุด้วยกัน หนึ่ง อาจารย์เลือกสอนมากเอง เพราะงานสอนในมหาวิทยาลัย เมื่อสอนเกินจากภาระงานขั้นต่ำ ก็จะมีรายได้พิเศษ พูดง่ายๆ คือ รับสอนเกินภาระงานก็เพราะจะได้ค่าสอนพิเศษเพิ่มขึ้น ยิ่งหากสอนโครงการพิเศษ ก็จะได้รายได้มากมาย มากขนาดที่อาจารย์บางคนสอนหนังสืออย่างเดียวอาจมีรายได้เดือนละเป็นแสนเลยทีเดียว

สอง เลือกไม่ได้ เพราะหากไม่สอนมากกว่าภาระขั้นต่ำ ก็จะกลายเป็นคนไร้น้ำใจ เพราะเพื่อนๆ อาจารย์สอนกันเป็นส่วนใหญ่ ที่ต้องช่วยๆ กันสอน เพราะแต่ละคณะ แต่ละภาควิชาในมหาวิทยาลัยขณะนี้จะมีแหล่งรายได้พิเศษของตนเองกัน นั่นก็คือบรรดาโครงการพิเศษต่างๆ นั่นเอง พวกนักศึกษาที่เรียนโครงการพิเศษจงรู้ไว้เถิดว่า เงินจากกระเป๋าสตางค์พ่อแม่ผู้ปกครองคุณขณะนี้เป็นเงินหลักที่ใช้เลี้ยงดูระบบมหาวิทยาลัยไทยอยู่ ดูอย่างคณะผม มีเพียงโครงการพิเศษปริญญาตรีโครงการเดียว รับนักศึกษาปีละ 100 คน เพียงเท่านี้ รายได้จากโครงการพิเศษก็เป็นสัดส่วนหลักของงบประมาณของคณะแล้ว 

คณะใหญ่ๆ บางคณะก็จัดการคนละแบบ เช่น บางที่ให้อาจารย์ทุกคนเฉลี่ยภาระงานกันอย่างเสมอหน้า แล้วนำเอารายได้ทั้งหมดมาเฉลี่ยให้อาจารย์ หรือบางคณะก็จ่ายเป็นโบนัสแทน บางคณะจ่ายเป็นการพาเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ โดยรวมแล้ว พลังงานของแต่ละคณะล้วนทุ่มเทไปที่การสอน ลองคิดดูว่า คณะที่มีโครงการพิเศษเป็น 10 โครงการ จะมีรายได้ปีละมากเท่าไร แล้วอย่างนี้ใครจะมีแรงมาทำวิจัย หรือไม่ก็คือ ใครจะอยากทุ่มเททำวิจัย

เอาเป็นว่าขอเล่าเรื่องภาระงานสอนที่เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนางานวิชาการไว้แค่นี้ก่อน ตอนต่อไปค่อยเล่าปัญหาใหญ่ๆ อื่นๆ ต่อครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้