Skip to main content

ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508

ในวาระ 50 ปีนี้ คณะฯ เห็นว่า แทนที่เราจะรำลึกย้อนหลัง สู้เราลองคิดกันไปข้างหน้าไม่ดีกว่าหรือ เราจะลองคิดไปข้างหน้าดูว่า ในอีก 50 ปีข้างหน้า ทิศทางของคณะฯ น่าจะไปทางไหน แต่กระนั้นก็ตาม เราก็ต้องคิดไปข้างหน้าบนต้นทุนทางความรู้และต้นทุนทางเครือข่ายสังคมที่เรามีอยู่

สุดท้ายเราก็จึงตกผลึกกันมาที่การวางกรอบข้อเสนอต่อวงการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยและสากลว่า สาขาวิชาทั้งสองนี้ควรจะคิดถึงเรื่องอะไรต่อไปในอนาคต อันเป็นที่มาของชื่องานว่า “ออกมาข้างใน เข้าไปข้างนอก” ซึ่งเป็นการพยายามก้าวข้ามจากความจำเจคุ้นเคยของความรู้ในหลายๆ มิติ ดังนี้

หนึ่ง ก้าวข้ามศาสตร์ ได้แก่การข้ามพรมแดนของความเป็นสาขาวิชาทั้งสองสาขา สู่สาขาวิชาอื่นๆ แม้ว่าความเป็นสหวิทยาการจะถูกพูดถึงกันมามากแล้ว แต่เราก็ยังต้องการตอกย้ำความจำเป็นของการหาความรู้ข้ามสาขาที่จะทั้งส่งเสริม ทัดทาน หรือแม้แต่ทักท้วงกันทั้งในระดับวิธีการทำความเข้าใจมนุษย์ จุดเน้นของความรู้ และแนวทางการเข้าถึงความรู้ นอกจากนั้น เราต้องการเน้นให้เห็นถึงความได้เปรียบของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการก้าวข้ามศาสตร์ เพราะมักสนใจมิติต่างๆ ของมนุษย์พร้อมๆ กันเสมอ

สอง ก้าวข้ามพื้นที่ สังคมศาสตร์ไทยมักจำกัดความรู้อยู่เฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา นักวิชาการไทยมักตั้งคำถามเพียงว่า จะนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร ทั้งๆ ที่โลกนี้มีมนุษย์อยู่ทั่วไปหมด โลกนี้มีพื้นที่อย่างน้อยตรงตะเข็บชายแคนของพื้นที่ประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงเพื่อนบ้านประเทศไทยที่อาศัยต่อเนื่องกับคนในประเทศไทย โลกนี้มีโลกทั้งใบให้เรียนรู้ คณะฯ ไม่เพียงเห็นความจำเป็นแต่ยังมีความเชี่ยวชาญของนักวิชาการทั้งสองสาขาที่ศึกษาพื้นที่พรมแดน ศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน และศึกษาประเทศที่ไกลออกไปทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

สาม ก้าวสู่อมนุษย์ ศาสตร์ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสนใจศึกษาไม่เพียงสังคมและมนุษย์ แต่ยังศึกษาก้าวล่วงเข้าไปยังโลกของ “อมนุษย์” อมนุษย์ในที่นี้ไม่ใช่ภูติผีที่ไหน หากแต่เป็นวัตถุสิ่งประดิษฐ์ วัตถุธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งสัตว์และพืช ความรู้ของทั้งสองสาขาในอดีตวางอยู่บนการเข้าใจมนุษย์และอมนุษย์เสมอ แม้ว่าเราจะไม่เน้นจนเด่นชัด ส่วนความรู้ในอนาคตกำลังจะยิ่งให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อกันระหว่างมนุษย์และอมนุษย์มากยิ่งขึ้น

สี่ ก้าวสู่สาธารณะ คณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้ไปรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่องเสมอมา ทั้งบุคคลากรของคณะในอดีต และที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือศึกษาอยู่ในคณะฯ ต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมนอกรั้วมหาวิทยาลัย นอกห้องเรียน เป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง นับได้ว่า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีส่วนในการสร้างสังคมนอกห้องเรียน ด้วยการนำเสนอประเด็นข้อคิดต่อสังคมและการก้าวออกไปร่วมงานทางด้านนโยบายไม่ว่าจะของเอกชนหรือรัฐ ในอนาคต ทิศทางเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่อย่างชัดเจน

ทั้งสี่มิตินั้น ในเบื้องต้นได้รับการถ่ายทอดผ่านตราสัญลักษณ์งาน 50 ปีฯ และจะได้นำเสนอผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี 2558 นี้ โดยเริ่มแรก ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2558 คณะฯ จัดกิจกรรมทั้งสองวัน ทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และรังสิต ประกอบไปด้วบการปาฐกถา การเสวนาวิชาการ กิจกรรมสังสรรค์ การระดมทุนจัดตั้ง “กองทุนกึ่งศตวรรษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา” 

จากนั้น ในวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 จะมีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติร่วมกับ International Union of Anthropological and Ethnological Sciences (IUAES) ในหัวข้อใหญ่ชื่อ Re-imagining Anthropological and Sociological Boundaries ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการ “ออกมาข้างใน เข้าไปขางนอก” วงวิชาการหลากหลายสาขา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ไม่เพียงกิจกรรมบรรยายและประชุมวิชาการ ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก เพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับกัลยาณมิตรของคณะฯ และร่วมกับ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ จัดพิมพ์หนังสือวิชาการ 4 เล่ม ได้แก่ ศาสตร์-อศาสตร์ เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน|| ไม่ใช่เรื่อง ‘หมู หมา กา ไก่’ || รอยต่อ – รอยตัด สังคมศาสตร์ไทย || บทจร: บทอ่านมานุษยวิทยาไทย ซึ่งจะได้วางจำหน่ายต่อเนื่องกันในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ.2558 นี้

(คัดมาจาก http://socanth.tu.ac.th/news/department-news/about-tusocanth50/)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน