Skip to main content

ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508

ในวาระ 50 ปีนี้ คณะฯ เห็นว่า แทนที่เราจะรำลึกย้อนหลัง สู้เราลองคิดกันไปข้างหน้าไม่ดีกว่าหรือ เราจะลองคิดไปข้างหน้าดูว่า ในอีก 50 ปีข้างหน้า ทิศทางของคณะฯ น่าจะไปทางไหน แต่กระนั้นก็ตาม เราก็ต้องคิดไปข้างหน้าบนต้นทุนทางความรู้และต้นทุนทางเครือข่ายสังคมที่เรามีอยู่

สุดท้ายเราก็จึงตกผลึกกันมาที่การวางกรอบข้อเสนอต่อวงการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยและสากลว่า สาขาวิชาทั้งสองนี้ควรจะคิดถึงเรื่องอะไรต่อไปในอนาคต อันเป็นที่มาของชื่องานว่า “ออกมาข้างใน เข้าไปข้างนอก” ซึ่งเป็นการพยายามก้าวข้ามจากความจำเจคุ้นเคยของความรู้ในหลายๆ มิติ ดังนี้

หนึ่ง ก้าวข้ามศาสตร์ ได้แก่การข้ามพรมแดนของความเป็นสาขาวิชาทั้งสองสาขา สู่สาขาวิชาอื่นๆ แม้ว่าความเป็นสหวิทยาการจะถูกพูดถึงกันมามากแล้ว แต่เราก็ยังต้องการตอกย้ำความจำเป็นของการหาความรู้ข้ามสาขาที่จะทั้งส่งเสริม ทัดทาน หรือแม้แต่ทักท้วงกันทั้งในระดับวิธีการทำความเข้าใจมนุษย์ จุดเน้นของความรู้ และแนวทางการเข้าถึงความรู้ นอกจากนั้น เราต้องการเน้นให้เห็นถึงความได้เปรียบของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการก้าวข้ามศาสตร์ เพราะมักสนใจมิติต่างๆ ของมนุษย์พร้อมๆ กันเสมอ

สอง ก้าวข้ามพื้นที่ สังคมศาสตร์ไทยมักจำกัดความรู้อยู่เฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา นักวิชาการไทยมักตั้งคำถามเพียงว่า จะนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร ทั้งๆ ที่โลกนี้มีมนุษย์อยู่ทั่วไปหมด โลกนี้มีพื้นที่อย่างน้อยตรงตะเข็บชายแคนของพื้นที่ประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงเพื่อนบ้านประเทศไทยที่อาศัยต่อเนื่องกับคนในประเทศไทย โลกนี้มีโลกทั้งใบให้เรียนรู้ คณะฯ ไม่เพียงเห็นความจำเป็นแต่ยังมีความเชี่ยวชาญของนักวิชาการทั้งสองสาขาที่ศึกษาพื้นที่พรมแดน ศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน และศึกษาประเทศที่ไกลออกไปทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

สาม ก้าวสู่อมนุษย์ ศาสตร์ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสนใจศึกษาไม่เพียงสังคมและมนุษย์ แต่ยังศึกษาก้าวล่วงเข้าไปยังโลกของ “อมนุษย์” อมนุษย์ในที่นี้ไม่ใช่ภูติผีที่ไหน หากแต่เป็นวัตถุสิ่งประดิษฐ์ วัตถุธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งสัตว์และพืช ความรู้ของทั้งสองสาขาในอดีตวางอยู่บนการเข้าใจมนุษย์และอมนุษย์เสมอ แม้ว่าเราจะไม่เน้นจนเด่นชัด ส่วนความรู้ในอนาคตกำลังจะยิ่งให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อกันระหว่างมนุษย์และอมนุษย์มากยิ่งขึ้น

สี่ ก้าวสู่สาธารณะ คณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้ไปรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่องเสมอมา ทั้งบุคคลากรของคณะในอดีต และที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือศึกษาอยู่ในคณะฯ ต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมนอกรั้วมหาวิทยาลัย นอกห้องเรียน เป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง นับได้ว่า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีส่วนในการสร้างสังคมนอกห้องเรียน ด้วยการนำเสนอประเด็นข้อคิดต่อสังคมและการก้าวออกไปร่วมงานทางด้านนโยบายไม่ว่าจะของเอกชนหรือรัฐ ในอนาคต ทิศทางเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่อย่างชัดเจน

ทั้งสี่มิตินั้น ในเบื้องต้นได้รับการถ่ายทอดผ่านตราสัญลักษณ์งาน 50 ปีฯ และจะได้นำเสนอผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี 2558 นี้ โดยเริ่มแรก ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2558 คณะฯ จัดกิจกรรมทั้งสองวัน ทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และรังสิต ประกอบไปด้วบการปาฐกถา การเสวนาวิชาการ กิจกรรมสังสรรค์ การระดมทุนจัดตั้ง “กองทุนกึ่งศตวรรษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา” 

จากนั้น ในวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 จะมีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติร่วมกับ International Union of Anthropological and Ethnological Sciences (IUAES) ในหัวข้อใหญ่ชื่อ Re-imagining Anthropological and Sociological Boundaries ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการ “ออกมาข้างใน เข้าไปขางนอก” วงวิชาการหลากหลายสาขา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ไม่เพียงกิจกรรมบรรยายและประชุมวิชาการ ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก เพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับกัลยาณมิตรของคณะฯ และร่วมกับ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ จัดพิมพ์หนังสือวิชาการ 4 เล่ม ได้แก่ ศาสตร์-อศาสตร์ เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน|| ไม่ใช่เรื่อง ‘หมู หมา กา ไก่’ || รอยต่อ – รอยตัด สังคมศาสตร์ไทย || บทจร: บทอ่านมานุษยวิทยาไทย ซึ่งจะได้วางจำหน่ายต่อเนื่องกันในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ.2558 นี้

(คัดมาจาก http://socanth.tu.ac.th/news/department-news/about-tusocanth50/)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ