Skip to main content

รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโจร เพราะไม่อยากรับความจริงว่าตนเองเป็นโจร รัฐบาลทหารอยากให้ประชาชนรักใคร่ ทั้งๆ ที่ยึดอำนาจ พรากสิทธิเสรีภาพไปจากประชาชน เหมือนโจรที่ปล้นของเขาไปแล้วจะให้เจ้าของเขามารักตนเองได้อย่างไร 

ทุกวันนี้ รัฐบาลทหารไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลทหารพยายามแยกตัวเองออกจากการเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง แต่กาลได้เผยให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลทหารกำลังผลักให้ตนเองกลายไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มคนสำคัญ 4 กลุ่ม 

หนึ่ง กลุ่มประชาชนคนยากคนจน คนเหล่านี้มีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิที่ทำกิน และผู้ที่มีความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพดำเนินชีวิตผู้ต้องการให้รัฐบาลรับฟังปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องปากท้อง เรื่องผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลก่อนหน้า เช่น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล 

สอง กลุ่มเอ็นจีโอ คนกลุ่มนี้ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนมาตลอด เอ็นจีโอจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารตั้งแต่ต้น ในขณะนี้พวกเขายิ่งได้เห็นถึงปัญหาของการรัฐประหารจากการร่วมแก้ปัญหากับประชาชนผู้เดือดร้อนมาโดยตลอด พวกเขาจำนวนมากอยู่แนวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิของประชาชนเสียยิ่งกว่าองค์กรด้านสิทธิที่ได้รับเงินเดือนเป็นแสนจากภาษีของประชาชน   

สาม กลุ่มประชาชนทั่วไปผู้รักสิทธิเสรีภาพ คนเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสื้อแดง แต่พวกเขาคือประชาชนทั่วไปที่ต้องการให้ประเทศกลับเข้าสู่ระบอบการปกครองอย่างปกติ พวกเขาเพียงต้องการมีสิทธิแสดงอำนาจแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งและการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติ  

สี่ กลุ่มนักศึกษาผู้รักประชาธิปไตย นักศึกษาเหล่านี้เรียนรู้อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยไม่จำเป็นที่จะต้องถูกปลูกฝังหว่านล้อมโดยใคร พวกเขามีความคิดเป็นของตนเอง พวกเขาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ศึกษาอยู่ และเมื่อวันนี้ที่พวกเขารับรู้ถึงการถูกกักขังทางความคิด พวกเขาจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องขออำนาจคืน 

คนสี่กลุ่มนี้ไม่ได้มีโยงใยกับพรรคการเมือง คนสี่กลุ่มนี้รักประเทศชาติ รักประชาชน รักชีวิต รักสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่ได้น้อยไปกว่าทหาร คนเหล่านี้เป็นพลเมืองผู้เสียภาษีให้ทหาร พวกเขาแสดงตนออกมาในวันนี้ก็เพื่อทวงคืนสิทธิในการปกครองตนเองของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าอำนาจที่ทหารยึดไปนั้น เอาไปใช้อย่างสูญเปล่า ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศชาติอีกต่อไป 

นี่ยังไม่นับว่ารัฐบาลทหารกำลังสร้างความร้าวฉานในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ด้วยการคุกคามคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย คุกคามนักการเมืองพรรคเพื่อไทย แต่กลับอวยอำนาจให้กับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้โค่นล้มพรรคเพื่อไทย พร้อมๆ กับทำลายศักดิ์ศรีของสื่อมวลชนภาคสนามอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายสิบปี รวมทั้งยังใช้กฎหมาย ม. 112 อย่างบิดเบือนและก่อผลร้ายแรงต่อชีวิตประชาชนจำนวนมาก แถมยังพยายามคงอำนาจในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยพรบ.ดิจิทัล และการขยายอำนาจของศาลทหาร 

ยอมรับความจริงกันได้หรือยังว่า รัฐบาลทหารไม่ได้กำลังสู้อยู่กับนักการเมืองคอร์รัปชั่น รัฐบาลทหารล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่ได้มีความเป็นกลางทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่สามารถซื้อใจให้คนอีกจำนวนมากหันมารักได้ รัฐบาลทหารเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง  

รัฐบาลทหารกำลังสู้อยู่กับความรักชาติ รักประชาชน รักประชาธิปไตยของผู้คนอีกจำนวนมาก และวิธีจัดการกับคนรักชาติ รักประชาธิปไตย รักประชาชนด้วยการใช้กำลังรุนแรงแบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็กำลังยิ่งผลักให้รัฐบาลทหารเป็นศัตรูของประชาชนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน