Skip to main content

รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโจร เพราะไม่อยากรับความจริงว่าตนเองเป็นโจร รัฐบาลทหารอยากให้ประชาชนรักใคร่ ทั้งๆ ที่ยึดอำนาจ พรากสิทธิเสรีภาพไปจากประชาชน เหมือนโจรที่ปล้นของเขาไปแล้วจะให้เจ้าของเขามารักตนเองได้อย่างไร 

ทุกวันนี้ รัฐบาลทหารไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจำนวนมาก รัฐบาลทหารพยายามแยกตัวเองออกจากการเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง แต่กาลได้เผยให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลทหารกำลังผลักให้ตนเองกลายไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มคนสำคัญ 4 กลุ่ม 

หนึ่ง กลุ่มประชาชนคนยากคนจน คนเหล่านี้มีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิที่ทำกิน และผู้ที่มีความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพดำเนินชีวิตผู้ต้องการให้รัฐบาลรับฟังปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องปากท้อง เรื่องผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลก่อนหน้า เช่น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล 

สอง กลุ่มเอ็นจีโอ คนกลุ่มนี้ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนมาตลอด เอ็นจีโอจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารตั้งแต่ต้น ในขณะนี้พวกเขายิ่งได้เห็นถึงปัญหาของการรัฐประหารจากการร่วมแก้ปัญหากับประชาชนผู้เดือดร้อนมาโดยตลอด พวกเขาจำนวนมากอยู่แนวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิของประชาชนเสียยิ่งกว่าองค์กรด้านสิทธิที่ได้รับเงินเดือนเป็นแสนจากภาษีของประชาชน   

สาม กลุ่มประชาชนทั่วไปผู้รักสิทธิเสรีภาพ คนเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสื้อแดง แต่พวกเขาคือประชาชนทั่วไปที่ต้องการให้ประเทศกลับเข้าสู่ระบอบการปกครองอย่างปกติ พวกเขาเพียงต้องการมีสิทธิแสดงอำนาจแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งและการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติ  

สี่ กลุ่มนักศึกษาผู้รักประชาธิปไตย นักศึกษาเหล่านี้เรียนรู้อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยไม่จำเป็นที่จะต้องถูกปลูกฝังหว่านล้อมโดยใคร พวกเขามีความคิดเป็นของตนเอง พวกเขาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ศึกษาอยู่ และเมื่อวันนี้ที่พวกเขารับรู้ถึงการถูกกักขังทางความคิด พวกเขาจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องขออำนาจคืน 

คนสี่กลุ่มนี้ไม่ได้มีโยงใยกับพรรคการเมือง คนสี่กลุ่มนี้รักประเทศชาติ รักประชาชน รักชีวิต รักสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่ได้น้อยไปกว่าทหาร คนเหล่านี้เป็นพลเมืองผู้เสียภาษีให้ทหาร พวกเขาแสดงตนออกมาในวันนี้ก็เพื่อทวงคืนสิทธิในการปกครองตนเองของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าอำนาจที่ทหารยึดไปนั้น เอาไปใช้อย่างสูญเปล่า ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศชาติอีกต่อไป 

นี่ยังไม่นับว่ารัฐบาลทหารกำลังสร้างความร้าวฉานในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ด้วยการคุกคามคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย คุกคามนักการเมืองพรรคเพื่อไทย แต่กลับอวยอำนาจให้กับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้โค่นล้มพรรคเพื่อไทย พร้อมๆ กับทำลายศักดิ์ศรีของสื่อมวลชนภาคสนามอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายสิบปี รวมทั้งยังใช้กฎหมาย ม. 112 อย่างบิดเบือนและก่อผลร้ายแรงต่อชีวิตประชาชนจำนวนมาก แถมยังพยายามคงอำนาจในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยพรบ.ดิจิทัล และการขยายอำนาจของศาลทหาร 

ยอมรับความจริงกันได้หรือยังว่า รัฐบาลทหารไม่ได้กำลังสู้อยู่กับนักการเมืองคอร์รัปชั่น รัฐบาลทหารล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่ได้มีความเป็นกลางทางการเมือง รัฐบาลทหารไม่สามารถซื้อใจให้คนอีกจำนวนมากหันมารักได้ รัฐบาลทหารเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง  

รัฐบาลทหารกำลังสู้อยู่กับความรักชาติ รักประชาชน รักประชาธิปไตยของผู้คนอีกจำนวนมาก และวิธีจัดการกับคนรักชาติ รักประชาธิปไตย รักประชาชนด้วยการใช้กำลังรุนแรงแบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็กำลังยิ่งผลักให้รัฐบาลทหารเป็นศัตรูของประชาชนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"