Skip to main content

สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน

แต่เร็วๆ นี้ได้ฟังบรรยายของนักมานุษยวิทยาหญิงแกร่งเก่งกาจที่เชี่ยวชาญเรื่องพม่า ฉาน ไทย คนหนึ่ง ชื่อเจน เฟอร์กูสัน เมื่อเธอผ่านมายังมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เธอเล่าเรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับคติชนในสนามบิน การบิน เครื่องบิน แล้วก็ทำให้มองการบินเปลี่ยนไปบ้าง 

นักมานุษยวิทยาหรือนักภูมิศาสตร์หรือนักประวัติซาสตร์ศิลป์ที่สนใจสถาปัตยกรรม แล้วไปศึกษาสนามบิน มักเสนอว่า สนามบินเป็นพื้นที่กลางๆ เป็นที่ซึ่งคนหลากหลายพบปะกันแบบแทบจะไร้ตัวตน เป็นที่ที่คนไม่รู้สึกรู้สากับความหมายเฉพาะของมัน เป็นที่ซึ่งคนไม่ผูกพันด้วย นักต่างๆ เหล่านี้บางคนจึงนับพื้นที่อย่างสนามบินว่าเป็น ที่ไม่ใช่ที่ หรือ non-space แต่เฟอร์กูสันไม่เห็นด้วย 

แม้การบินจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็ดูจะเป็นการเดินทางที่คนกลัวมากที่สุด แล้วแต่ละสังคมก็แสดงความกลัวนั้นออกมาต่างกัน นั่นคือคำถามใหญ่คำถามหนึ่งของงานวิจัยนั้น 

เรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับการบินจึงมีทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เรื่องยูเอฟโอ เรื่องเล่าต่อเนื่องจาก 9/11 จนกระทั่งเรื่องผีในสนามบิน เรื่องเหตุเครื่องบินตกแบบลึกลับ เรื่องสารพัด หังไปฟังมาแล้วก็ให้สงสัยว่า ทำไมนักวิชาการแถวบ้านเราถึงไม่หาหัวข้อวิจัยเท่ๆ แบบนี้ทำกันมั่งนะ 

ผมว่า ที่จริงความกังวลจากการบินคงไม่ใช่มีแค่กลัวอุบัติเหตุ แต่ยังมีความกังวลอื่นๆ กลัวตกเครื่องบิน กลัวลืมบัตรประจำตัว กลัวกระเป๋าน้ำหนักเกิน กลัววีซ่าไม่ผ่าน กลัวเข้าเมืองไม่ได้ กลัวกระเป๋าหาย กลัวต่อเคนื่องบินไม่ทัน กลัวหาประตูทางออกไม่เจอ 

นอกจากความกลัว แต่ละคนคงมีเรื่องเล่าขำๆ ขื่นๆ แปลกๆ เปิ่นๆ เกี่ยวกับการบินมากมาย รวมทั้งเรื่องราวเฉพาะถิ่นของสนามบิน ตลอดจนลูกเรือและการบริการบนเครื่องบิน  

ประสบการณ์หนึ่งที่ผมคงจดจำไปไม่ลืมคือการต่อเครื่องบินที่บินจากบอสตัน ไปแมดิสัน ที่ต้องต่อเครื่องที่ซินสิเนติ เนื่องจากเครื่องที่ออกจากบอสตันบินจากที่อื่นมาถึงช้า ผมก็เลยมีเวลาแค่ 15 นาทีเมื่อเครื่องลงจอดกับเวลาที่อีกเครื่องหนึ่งจะออก เมื่อตัดเวลาจัดการต่างๆ แล้ว ก็เหลือเวลาวิ่งจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งเพียง 5 นาที  

พอเครื่องลงจอดปุ๊บ มีคนอยู่ในสถานการณ์เดียวกันสัก 10 กว่าคนได้ กัปตันประกาศว่าใครไม่รีบให้นั่งรอก่อน ผู้คนที่เดินทางบ่อยคงรู้ คนไม่รีบก็ยังไม่ลุก คนลุกขึ้นยืนมองหน้ากันเหมือนจรดมือเข้าเส้นเตรียมวิ่งร้อยเมตรพร่อมคว้ากระเป๋า เมื่อประตูเครื่องเปิด สิบกว่าคนนั้รก็กรูกันออกไปคนละทิศคนละทาง ไปสู่เส้นชัยของตนเอง ผมตาบีตาเหลือกดูทาง ดูเกต เห็นเค้าท์เตอร์ยังมีคนอยู่ บริกรให้ขึ้นเครื่องอย่างอบอุ่น แล้วก็ได้ขึ้นไปนั่งหอบบนเครื่องบิน 

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบหากมีเวลาคือ หาของกินท้องถิ่นของสนามบินต่างๆ กรณีนี้จะชัดเจนเมื่อบินไปประเทศต่างๆ แต่ทร่จริงการบินในประเมศอย่างประเทศไทย ก็ให้ความบันเทิงเรื่องอาหารถิ่นได้เหมือนกัน ไม่เหมือนที่สหรัฐอเมริกา ที่อาหารสนามบินมักครือๆ กันจนสุดท้ายส่วนใหญ่ก็พึ่งแซนด์วิช 

อยู่เมืองไทย ถ้าบินไปหาดใหญ่ ผมก็หาซื้อลูกหยีกวนไร้เมล็ดกลับบ้าน สนามบินท่าศาลาเมืองนครฯ มีร้านอาหารใต้พอพึ่งได้อยู่ สนามยินเชียงใหม่แทบไม่มีใครเสียเวลาในสนามบิน คงเพราะใกล้เมืองจนคนมาถึงได้เร็ว แต่ก็มีร้านของฝากเชียงใหม่มากมายที่สนามบิน ทางอีสาน สนามบินอุบลฯ แม้จะดูไม่มีอะไร ร้านเล็กๆ ที่มีหมูยอร้อนๆ ขายก็มักเป็นที่พึ่งได้ ราคาก็ไม่ได้แตกต่างจากข้างนอกมากนัก 

แน่นอนว่าสนามบินนานาชาติก็มักจะมีอาหารที่คนทั่วโลกยอมกินกัน พวกไก่ทอด เบอร์เกอร์ กาแฟ แต่บางที่ก็หาของกินท้องถิ่นได้เช่นกัน อย่างที่หนึ่งที่ผมว่าเขาโปรโมตอาหารถิ่นดีที่หนึ่งคือสนามบินไทเป ที่นั่นมีอาหารจีนแบบไต้หวัน ซึ่งคงไม่ใช่มีเฉพาะที่ไต้หวัน เพียงแต่เจอมากในไต้หวัน พวกเกี๊ยวซ่า เสี่ยวหลงเปา บะหมี่เนื้อตุ๋น อาหารพวกนี้ขายราคาไม่ต่างจากข้างนอกนัก  

หรือที่มาเลเซีย สนามบินเปิดโล่งไร้เคาื่องประบอากาศของสายการยินราคาประหยัดสายหนึ่ว มีร้านอาหารถิ่นร้านหนึ่ง ที่คนท้องถิ่นหลายคนไม่ชอบนัก เพราะเป็นที่นั่งชิลของคนชั้นกลางที่ดูไม่เคร่งครัดรสนิยมนัก แต่ผมชอบบรรยากาศร้านแบบร้านน้ำชาตามย่านคนจีนสมัยก่อน โต๊ะ-เก้าอี้ไม้ พื้นกลม ปูพื้นโต๊ะ-เก้าอี้ด้วยหินอ่อน ขายชานมรสจัด มีก๋วยเตี๋ยวแปลกๆ ที่ไม่ทีทางรู้ว่าเป็นรสชาติอย่างที่คนท้องถิ่นชอบจริงไหม  

แต่ที่ขัดใจมากคือขนมปังทางเนยผสมน้ำตาลหวานเจี๊ยบ ถึงอย่างนั้นมันก็ชวนให้คิดว่า นี่คงเป็นการ "แปล" ขนมปังให้เป็นกึ่งอาหารกึ่งขนม แบบเดียวกับที่คนไทยเอามาจารีน (มาการีน) ทาขนมปังย่างเตาถ่านแล้วโรยน้ำตาล หรือเอาขนมปังไปนึ่งจนนุ่มแล้วจิ้มสังขยา หรือตักไอติมโปะขนมปัง "บัน" ที่คนอเมริกันไว้กินกับฮ็อตด็อก  

ที่เกาหลี ผมตื่นตาตื่นใจกับร้านอาหารเกาหลีซึ่งมีของกินดูดี ดูเกาหลีๆ ให้ชิมมากมาย แม้เกาหลีมักจะเป็นทางผ่าน มากกว่าเป็นปลายทางที่เคยไปเพียงครั้งเดียว ร้านอาหารที่สนามบินสำหรับต่อเครื่องก็ชวนให้สนุกลิ้นได้เช่นกัน  

ส่วนที่ญี่ปุ่น นอกจากบะหมี่และเบียร์หลายยี่ห้อแล้ว สงสัยว่าสำหรับชาวญี่ปุ่น ระหว่างเดินทางคงไม่อำนวยให้กินอาหารญี่ปุ่นที่ลึกซึ้งมากนัก ส่วนใหญ่ผมมักได้กินราเมนสักชาม กับซื้อบรรดาขนมโมจิ หรือที่เดี๋ยวนี้คนไทยมักเรียกชื่อไดฟูกุ เป็นของฝาก  

ของกินที่เป็นของฝากน่าสนุกจากญี่ปุ่นได้อีกอย่างหนึ่งคือ บรรดาปลาหมึกแห้ง ที่ช่างสรรหาวิธีดัดแปลง และหลากหลายพันธ์ุ ส่วนใหญ่ก็ไม่หนีกับที่พอจะจินตนาการได้จากในภูมิทัศน์ปลาหมึกแห้งแบบไทย เพียงแต่ไม่รู้ทำไมคนญี่ปุ่นขยันจับของขบเคี้ยวเหล่านี้ใส่ห่อพลาสติกให้ชวนชิมได้มากนัก 

อาคารสนามบิน เครื่องบินในฐานะพาหนะ ความสัมพันธ์ระหว่างคนเดินทาง ไม่ได้ว่างเปล่าชวนเหนื่อยหน่ายจนกลายเป็น ที่ไม่ใช่ที่ ไปเสียทุกที่ทุกการเดินทาง ขึ้นอยู่กับว่าคนเดินทางสื่อสารอะไรกับเส้นทาง ขึ้นอยู่กับว่าที่ระหว่างทางต่างๆ พยายามสร้างความหมายและสายสัมพันธ์ุให้สัมผัสกับผู้คนอย่างไร  

ในระหว่างการเดินทาง ผมก็แค่เขียนเพื่อหาความหมายให้กับการเคลื่อนย้ายไปมา แล้วก็ชวนให้ตนเองอยากท่องเที่ยวไปเพียงบนเส้นทาง ซึ่งต่างก็สร้างความเป็นปลายทางให้กับตัวเองไปพร้อมๆ กับการเป็นที่ผ่านทาง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน