Skip to main content

ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้

 
เมื่อไม่กี่วันก่อนมีหนังสารคดีที่ผมอยากดูสองเรื่อง ก็เลยดั้นด้นไปดู แล้วก็จึงพลอยได้ดูหนังตัวอย่างเรื่อง "อาบัติ" ไปด้วย ดูหนังตัวอย่างแล้วก็คิดว่า หนังก็พูดเรื่องทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แถมเป็นพุทธแบบบ้านๆ มีผี มีเปรต สอนบาปบุญคุณโทษ ไม่ได้ท้าทายอะไรเลย คิดว่าเดาเนื้อเรื่องได้เลยด้วยซ้ำ มันจืดมาก
 
ประเด็นเดียวของหนังเท่าที่ผมรู้สึกได้ว่าน่าสนใจคือ บอกว่าพระเป็นคนธรรมดา แต่ดูทรงแล้ว เรื่องมันไม่ได้จี๊ดจ๊าดขนาด แบบว่า "นี่สังคมไทยคะ/ครับ พระก็เป็นนะครับ/คะ" ไม่ใช่ขนาดจะบอกว่า "เป็นการท้าทายความเป็นปุถุชนในคราบไคลของนักบวช" หรือว่า "คือการปะทะกันของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการบริสุทธิกับความดิบเถื่อสามัญของมนุษย์" มันไม่ได้มีอะไรเท่ๆ ขนาดนั้นสักนิด
 
เพียงแต่ในสังคมนี้ ขณะนี้ "พระ ไม่ใช่ คน" พระก็เลยเป็นได้แค่ตัวประกอบในหนัง แต่เป็นตัวประกอบที่ดีเกินจริง เป็นตัวประกอบที่เป็นภาคงดงามของสังคม 
 
ในสังคมจริงๆ พระก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครสนใจว่าพระจะดีหรือไม่ดี (นี่ก็เซ็นเซอร์ตัวเอง แทนที่จะใช้คำว่า เลว หรือ ชั่ว) พระเป็นเพียงตัวประกอบของสังคม 
 
ในสังคมไทย อย่างแย่ที่สุด พระก็เป็นแค่กรรมกรทางพิธีกรรม สวดมนต์เหมือนพระก็เป็นพระได้ ไม่จำเป็นต้องแสดงว่าเข้าใจบทสวดหรือไม่ ไม่จำเป็นว่าจะสามารถสร้างคำสั่งสอนจากบทสวดได้หรือไม่ จะคิดถึงว่าสามารถค้นพบอะไรในทางธรรมได้หรือไม่ ก็ไม่จำเป็น
 
อย่างดีขึ้นมาหน่อย พระก็เป็นหนุ่มนั่งดริ๊งในผับบาร์ความดี หรือผู้บำบัดจิต เป็นนักปลด(เปลื้อง)ทุกข์ชั่วคราวให้ชาวบ้าน นั่นดีมากแล้ว คือพระสามารถปลอบประโลมผู้คนได้ แต่นั่นก็เป็นกรรมกรทางวิญญาณ ส่วนมากก็แค่นั้น พอหมดกิจของสงฆ์ คือหมดหน้าที่ใช้แรงงานทางวิญญาณเมื่อไหร่ พระก็ต้องออกไปจากชีวิตคน
 
ไม่มีใครสนใจว่าพระเป็นอยู่อย่างไรกันแน่ พระเป็นคนหรือไม่ พระต่อสู้กับความเป็นคนในตัวเองอย่างไร แล้วคนก็ไม่มีใครอยากเป็นพระ แค่มีพระไว้ข้างกาย พระที่เดินไปเดินมาก็มีค่าเท่าพระคล้องคอหรือพระที่หิ้งพระ เอาไว้กราบไหว้เป็นที่พึ่งห่างๆ เอาเป็นตัวประกอบด้านดีของละครสังคม
 
ฉะนั้น ถ้าพระจะปรากฏตัวในหนัง ก็ต้องปรากฏตัวแบบพระในสังคม คือเป็นตัวประกอบด้านดี ถ้าพูดถึงพระในแง่ดีอย่างเดียว พระในแง่ที่ "ควรจะเป็น" อย่างเดียว ก็ฉายได้แน่ แต่นี่หนังอาบัติพูดถึงพระในแง่ที่ "อาจจะเป็น" หรือที่จริงพระที่ "เป็นๆ กัน" คือพระที่เป็นคนสามัญแบบในหนังนี้แหละ ฉายไม่ได้ ส่วนใหญ่พระจึงไม่ได้เป็นตัวแสดงเอก
 
หรือถ้าเป็น ก็ต้องเป็นเรื่องพระๆ มากๆ อย่างในอดีต พระที่เล่นบทตลก ฉายได้และขายได้ดีด้วย เพราะพระตลกก็ยังเล่นบทเป็นพระ ไม่ใช่คน แต่ถ้าพระไม่ตลก ก็มีแต่ด้านดี หนังพระตัวเอกที่ดีอย่างเดียวก็คงเป็นหนังที่ไม่รู้ว่าใครจะไปดูทำไม สู้ไปเดินดูภาพจิตกรรมเอาตามผนังโบสถ์ไม่ดีกว่าหรือ 
 
โจทย์คือพระต้องไม่ใช่คน แค่นั้นเอง ถึงหนังจะสอนว่า "นี่นะ แบบนี้เป็นพระที่ไม่ดีนะ ทำตัวเป็นคนมากเกินไป" ก็ฉายไม่ได้ 
 
สงสัยนิดเดียวว่า ทำไมคนสร้างหนังถึงคิดว่าเรื่องนี้น่าจะผ่านกองเซ็นเซอร์ หรือคนสร้างไม่รู้ว่า พล็อตเดิมๆ ของพระในหนังน่ะ ก็คือพล็อตเดียวกับบทบาทพระในชีวิตจริงนั่นแหละ ถ้าในชีวิตจริงยังพูดถึงความเป็นคนของพระไม่ได้ ในหนังก็ยิ่งพูดว่าพระเป็นคนไม่ได้เข้าไปใหญ่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้