Skip to main content

เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู

คนต่างชาติมักไม่สนใจว่า เดียนเบียนฟูเป็นชายแดนของเวียดนามกับลาว และคงลืมไปว่า พื้นที่ระหว่างเดียนเบียนฟูกับเมืองคนเวียดในที่ราบลุ่มน้ำแดงนั้น เต็มไปด้วยคนไตและชนชาติอื่น ๆ ในที่สูงและที่ราบระหว่างหุบเขา และก็คงไม่มีใครสนใจว่า ใจกลางของเมืองคนไตก่อนที่คนไตจะรู้จักแค่เมืองแถงกับเมืองไลจากพงศาวดารเมืองแถง พงศาวดารเมืองไล ซึ่งจดบันทึกจากเชลยที่จับไปจากสองเมืองนั้น อยู่ที่ใด และยังมีเมืองอื่น ๆ อะไรอีกบ้างไล่เรียงมาจนเกือบถึงฮานอย

เมื่อเริ่มทำวิจัยใหม่ ๆ เมืองลา หรือเมืองไหน ๆ สำหรับผมก็ดูไม่แตกต่างจากเมืองเวียด คือมีความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาเสมอ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมและนักวิจัยแบบผมทำคือ ต้องเข้าไปในบ้านในเรือน ต้องกินข้าวกินเหล้า ต้องสนทนาพูดคุยกับผู้คนในพื้นที่และเวลาของผู้คน เพื่อจะได้เห็นได้รับรู้ชีวิตของพวกเขา (หมายความว่า ยังมีนักวิจัยแบบอื่นที่หลีกเลี่ยงการกินข้าวกับชาวบ้าน เลี่ยงการดื่มเหล้ากับชาวบ้าน เลี่ยงการนั่งคุยในบ้านชาวบ้าน) จึงทำให้เห็นว่า แม้ในเมืองที่นักวิจัยประเภทฉาบฉวยมองข้ามไปอย่างเมืองลา ก็มีสาระเฉพาะตัวของคนไตในเวียดนามอยู่อย่างสืบเนื่องนับสิบ ๆ ปี

เมื่อได้เดินทางมาอย่างสม่ำเสมอ ผมจึงกลับแปลกใจที่การมาเมืองลาเที่ยวนี้ผมกลับไม่สนใจความเปลี่ยนแปลงมากเท่ากับความคงเส้นคงวาหรือการยืนยันในตัวตนของผู้คนที่เมืองลาอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะจากอาหารการกิน ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนการจัดการเรื่องเหนือธรรมชาติ ในเรือนที่ผมคุ้นเคย มักมีความเปลี่ยนแปลงเสมอ ๆ ในเรื่องที่อยู่อาศัย แต่เมื่อเข้ามาในครัวเรือน เมื่อได้ร่วมสนทนา เมื่อเริ่มการทักทายอย่างคนสนิทชิดเชื้อ เครื่องเรือน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจำนวนหนึ่งถูกนำมาใช้ และยังคงได้รับการรักษาไว้และถูกใช้ในแบบ "ดั้งเดิม"

การพบเห็นสิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน สำคัญยิ่งกว่าวิธีวิจัยแบบนักวิจัยบางประเภท ที่เที่ยวบังคับบ้าง ขอร้องบ้าง ให้คนนุ่งเสื้อ แต่งกายแบบในตำรามาแสดงหน้ากล้อง เพื่อให้ได้ความเป็น “คนพื้นเมืองแท้” ตามจินตนาการของนักวิจัย แทนที่จะสนใจว่าคนในท้องถิ่นจัดการต่อรองกับความเปลี่ยนแปลงและการคงตัวตนไว้อย่างไร

สิ่งหนึ่งที่มักยังไม่เปลี่ยนแปลงคือที่นั่ง การนั่ง และพานกินข้าวที่สานด้วยหวาย ซึ่งเริ่มมีการดัดแปลงจากชั้นเดียวเป็นสองชั้น จากสานแบบหนึ่งไปเป็นสานแบบใหม่ ๆ บางเรือนยังยืนยันท่านั่งแบบยองๆ เก้าอี้เตี้ยที่วางบนพื้น หรือไม่ก็การนั่งบนฟูกรองพื้น แต่เก้าอี้ขายาวขึ้น หรือฟูกหนาขึ้น ส่วนภาชนะใส่ข้าวเหนียว ที่มักจะสรรหากันมาประดับโต๊ะอาหาร ก็ยังจะต้องเป็นของดั้งเดิมที่มีรูปทรงและวัสดุที่หลากหลาย ปัจจุบันข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้กลายเป็นสินค้าไปหมดแล้ว หากแต่ผู้ซื้อไม่ใช่นักท่องเที่ยวเท่ากับเป็นคนในวัฒนธรรมนี้เอง

สิ่งที่ได้รับการสืบทอดมาในระยะเกือบ 20 ปีที่ผมมาเมืองลาคือความเคร่งครัดในการจัดโต๊ะอาหาร และความเคร่งครัดในการต้อนรับแขก จานพริกกับเกลือสำหรับสำรับข้าวที่ "เป็นทางการ" และจอกเหล้าสองจอกสำหรับผีเรือน การดื่มเหล้าเพื่อรับขวัญผู้มาเยือน การสรรหาอาหารพื้นเมืองตามฤดูกาลที่หาได้ไม่ยากในตลาด สิ่งเหล่านี้ทำให้อาหารมื้อพื้น ๆ ธรรมดา ๆ กลายเป็นมื้ออาหารที่ยืนยันตัวตนของเจ้าเรือนจนแขกผู้มาเยือนตื่นตะลึง

สำหรับเรือนที่ผมคุ้นเคยและมักต้องขอไหว้ผีเรือน แน่นอนว่าห้องหับที่เคยเป็นที่บูชาผีเรือนแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่มีรูป ไม่มีข้อความใด ๆ มีแต่สัญลักษณ์แทนผีขวัญ ขณะนี้เปลี่ยนไปเป็นแบบคนเวียด หรือคล้ายคนจีน คือเป็นโต๊ะบูชา แถมมีรูปประดับกันแทบจะหมดแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่บางเรือนพยายามแสดงความแตกต่างคือ การประดับประดาด้วยสิ่งแสดง "ความเป็นคนไต" อย่างเรือนที่ผมคุ้นเคยก็เอาข้อความเขียนอักษรไตดำมาประดับหิ้งบูชาผีเรือน

เรื่องราวของผียังคงอยู่ในชีวิตประจำวัน ก่อนกินข้าว เมื่อจะจิบเหล้า ก็มีการพรมเหล้าข้ามไหล่ แสดงการเลี้ยงผี ที่ผมประทับใจคือเมื่อหมอรักษาโรคด้วยวิธีการสมัยใหม่คนหนึ่งเปิดปากแนะนำเจ้าของร้านขายอาหารคนหนึ่งว่า "แม่ของพี่คนนี้เป็นมดนะ เก่งมากเลย ที่เรือนเรา (ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์) เมื่อไหร่ก็ตามที่จะทำพิธี แม่ก็จะต้องให้มดคนนี้มาทำพิธี)" น่าเสียดายที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าเจ้าของร้านขายอาหารที่ทำอาหารไตได้หลากหลายจานและรสชาติเป็นที่ชื่นชอบของคนที่นี่ ไม่ได้น่าสนใจแค่พูดภาษาไตได้ไพเราะและทำธุรกิจเก่งเท่านั้น

แต่ถ้าจะให้ดูการยืนยันความเป็นไตกันให้จริงจังเข้าไปอีก ผมก็จะแนะนำว่าควรเดินไปให้ถึงท้ายหมู่บ้าน ที่จะมี "ป๋าแฮว" หรือป่าช้าของแต่ละหมู่บ้านตั้งอยู่ ป่าช้าจะมีสิ่งก่อสร้างถาวร ซึ่งมักจะเป็นคอนกรีตทรงเหมือนหลุมฝังศพคนจีนและคนเวียด แต่หากดูให้ทั่ว ก็จะเห็นศพที่เพิ่งประกอบพิธี ที่ยังมีเครื่องประดับประดาแบบ "ดั้งเดิม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เพิ่งเสียชีวิตใหม่ ๆ มาครั้งนี้ ผมก็ไม่พลาดที่จะต้องเข้าไปดูป่าช้าของหมู่บ้านที่คุ้นเคยแห่งหนึ่ง แล้วก็พบกับหลุมฝังศพของคนที่เพิ่งเวียชีวิตไม่กี่วันที่ผ่านมา ยิ่งเธอเป็นคนอายุยืนถึงร้อยปี ก็ยิ่งทำให้เห็นเครื่องเคราต่าง ๆ ค่อนข้างครบครัน

ในท่ามกลางการพยายามกลืนกลายคนไตให้กลายเป็นเวียดในทุก ๆ มิติ ผมก็ยังเห็นการยืนยันในความเป็นไตอยู่ทั้งในชีวิตประจำวันและพิธีกรรม หรือว่าพลังการกลืนกลายที่นี่ไม่รุนแรงนัก หรือว่าความสืบเนื่องของสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ที่นี่มีสูง การคงความเป็นตัวตนไว้จึงไม่ต้องพยายามขุดคุ้ยรื้อฟื้นอะไรมากนัก แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ใช่ว่าคนที่นี่ไม่อยากเปลี่ยน เพียงแต่เนื้อหาสาระดั้งเดิมยังคงมีน้ำหนักอยู่ในชีวิตของพวกเขาอยู่ไม่น้อย

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มค. ยังความรื่นรมย์มสู่แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์อีกครั้ง ถูกต้องแล้วครับ งานนี้เป็นงาน "เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7" หากแต่อุดมคับคั่งไปด้วยนักสังคมศาสตร์ (ฮ่าๆๆๆ) น่ายินดีที่ได้พบเจอเพื่อนฝูงทั้งเก่าทั้งใหม่มากหน้าหลายตา แต่ที่น่ายินดียิ่งกว่านั้นคือการได้สนทนาทั้งอย่างเป็นทางการ ผ่านงานเขียนและการคิดอ่านกันอย่างจริงจัง บนเวทีวิชาการ กับเพื่อนๆ นักวิชาการรุ่นใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดือนที่แล้ว หลังเสร็จงานเขียนใหญ่ชิ้นหนึ่ง ผมกะจะหลบไปไหนสัก 4-5 วัน ระยะนั้นประเด็นวันเลือกตั้งยังไม่เข้มข้นขนาดทุกวันนี้ ลืมนึกไปจนกลายเป็นว่า ตัวเองกำหนดวันเดินทางในช่วงวันเลือกตั้ง 2 กพ. 57 พอดี เมื่อมาคิดได้ เมื่อวันที่ 14 มค. ก็เลยถือโอกาสที่ที่ทำงานให้หยุดงานไปลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตตนเอง ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีก็ได้เอกสารมาเก็บไว้ รอไปเลือกตั้งล่วงหน้าวันอาทิตย์ที่ 26 มค.
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เหตุที่ประโยค Respect My Vote. กลายเป็นประโยคที่นำไปใช้ต่อ ๆ กันแพร่หลายกินใจผู้รักประชาธิปไตยในขณะนี้ ไม่เพียงเพราะประโยคนี้มีความหมายตามตัวอักษร แต่เพราะประโยคนี้ยังเป็นถ้อยแถลงทางการเมืองของประชาชน ที่ประกาศว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิวัติประชาชนของอาจารย์ธีรยุทธไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การปฏิวัติประชาชนตามข้ออ้างจากประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆ ของอาจารย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มผู้กุมอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมเพราะผูกขาดอำนาจเป็นของตนเอง ตลอดจนเป็นการโค่นอำนาจรัฐที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้น หากแต่เราจะถือว่า “มวลมหาประชาชน” หนึ่งล้านห้าแสนคน หรือต่อให้สองล้านคนในมวลชนนกหวีดเป็น “ประชาชน” ในความหมายนั้นได้หรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม"