Skip to main content

นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 

ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นกระทั่งกลุ่มคนที่ตนเองก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือกำลังหลงใหลตนเองนั่นแหละ 

บางที การเออออนั้นอาจมีที่มาจากจิตใจเบื้องลึกของนักมานุษยวิทยาคนนั้นเองอยู่ก่อนแล้ว ที่เห็นดีเห็นงามไปกับสังคม-วัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา โดยไม่ได้คิดว่าวัฒนธรรมนั้นก่อผลแบ่งแยกสร้างความเหลื่อมล้ำ เอาเปรียบผู้คนกันเองในสังคมอย่างไร 

หรือไม่ก็โรแมนติกจากจริตของนักมานุษยวิทยา ที่ถูกสั่งสอนให้พยายามอินกับคนกลุ่มที่ตนศึกษา เสียจนยอมละทิ้งการตัดสินเชิงคุณค่าของนักมานุษยวิทยาเอง  

จริตทางวิชาการแบบนี้มีที่มาจากสองทาง หนึ่งคือฟรานซ์ โบแอส ที่เป็นหลานศิษย์ของฮุมโบลด์ต แนวคิดโรแมนติกของเขาทำให้เขาเองก็หลุดไม่พ้นจากความคิดแบบนาซีที่เขาเองเริ่มเห็นแววจึงหลบมาอยู่อเมริกา เพราะโบแอสเป็นยิว ในแง่นี้ นักมานุษยวิทยาจึงเป็นยิวที่เห็นดีเห็นงามกับแนวคิดแบบอารยันเยอรมันโดยไม่รู้ตัวอยู่ลึก ๆ 

สองคืออิทธิพลของแมกซ์ เวเบอร์ ซึ่งสั่งสอนให้นักสังคมศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องปลอดค่านิยม แต่เป็นวิทยาศาสตร์ของการตีความ นั่นก็คือพยายามเข้าใจความหมายโดยไม่ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า ผลก็คือนักสังคมศาสตร์แบบเวเบอร์ต้องเข้าใจสังคมโดยไม่วิพากษ์ เวเบอร์จึงไม่มีทางออกให้สังคมที่เขาเองก็ไม่ได้พอใจนัก แต่เขาก็ไม่วิพากษ์ 

สรุปแล้ว ทั้งสองจึงมีฐานคติแบบเยอรมันโรแมนติกซิสม์ ตามแนวทางแบบแฮร์เดอร์ ที่ยกย่องวัฒนธรรมชาวบ้านว่าเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมชาติเยอรมันก่อนที่อิทธิพลของกรีก-โรมันจะเข้ามาครอบงำ 

โรแมนติกซิสม์ดีที่ช่วยให้พยายามเข้าใจความแตกต่างได้ ช่วยให้พยายามรู้จักก่อนที่จะตัดสิน พิพากษา หรือวิพากษ์  

แต่ข้อเสียของโรแมนติกซิสม์คือ จะทึกทักจนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆ มีหลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ได้เท่าเทียมกัน พื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันนั้นมีวัฒนธรรมเป็นสิ่งฉาบเคลือบการกดขี่เอารัดเอาเปรียบไว้ นี่คือพื้นฐานของแนวคิดแบบ "พหุนิยม" หรือ "พหุวัฒนธรรม" แบบเชื่อง ๆ ซื่อ ๆ ทื่อ ๆ 

ผมว่ามีอย่างน้อยสามวิธีที่จะทัดทานหรือถ่วงดุลความโรแมนติกคือ หนึ่ง การศึกษาเชิงวิพากษ์ เช่นวิธีการแบบมาร์กซิสม์ สอง การถอดรื้อความเป็นอัตลักษณ์แน่นิ่งของวัฒนธรรมที่ศึกษา สาม การถอดรื้อตัวตนของนักมานุษยวิทยาเอง ว่าตนเองหลงใหลฟูมฟายกับผู้คนที่ตนเองศึกษามากเกินไปหรือยัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยุกติ มุกดาวิจิตร  
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 สุนทรียศาสตร์และการเมืองของสิ่งไร้รสนิยม (aesthetics and politics of kitsch)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 หากจำเป็นต้องหักหาญมิตรภาพกัน ก็ขอให้แน่ใจว่ามิตรสหายเราได้ละเมิดหลักการใหญ่ๆ ที่มิตรภาพไม่ควรได้รับการปลอบประโลมโอบอุ้มกันอีกต่อไป แต่หากเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไป ก็โปรดอย่าเปิดแนวรบจิกกัดมิตรสหายที่แทบไม่มีที่ยืนอยู่บนผืนหนังเดียวกันไปเสียทุกอนูความหมายเลยครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทต่อไป เมื่อนักมานุษยวิทยามานั่งศึกษาชุมชนเกรียนออนไลน์ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี