Skip to main content

บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน 

ผมพบครูฉลบครั้งแรกๆ ในบริบทที่เป็นส่วนตัวมากๆ คือเมื่อ 20 ปีที่แล้วที่ครูฉลบไปงานแต่งงานผมกับฆัสรา เจอครูทีไรครูก็จะบอกฆัสราว่า "ชุดแต่งงานหนูสวยมาก วันนั้นหนูสวยมาก" ฆัสราเรียกครูว่า "ยายฉลบ" เสมอ ทั้งที่ไม่ใช่ยายผู้ให้กำเนิดแม่ของเธอหรอก แรกๆ ผมก็งงๆ ว่า ครูฉลบคือใครกันแน่ ทำอะไรกันแน่

 

แต่บทบาทครูที่ผมรู้จักแม้เพียงผิวเผินนั้น สั่งสมมาหลายต่อหลายปี จากการเทียวรับเทียวส่งฆัสรากับแม่เธอ ซึ่งไปเยี่ยมครูทุกปีในวันเกิดครู และเมื่อใดที่ครูเจ็บป่วยหนักก็ได้ตามไปเยี่ยมครูด้วย 

 

สิ่งที่ได้ค่อยๆ เรียนรู้มาจากการที่ได้พบปะกับบรรดาป้าๆ แม่ๆ น้าๆ เหล่านี้ก็คือ เกือบทุกคนหรืออาจจะทุกคนเลยก็ได้ ที่ครอบครัวมีประวัติโชคโชน บรรดานักเรียนดรุโณฯ รุ่นแรกๆ เหล่านี้คือลูกๆ ของผู้ประสบภัยทางการเมือง หรือจะเรียกใช้ชัดก็คือ "ลูกกบฏ" ของความผันผวนของการเมืองเมื่อ 70 ปีที่แล้ว 

 

ลูกผู้ประสบภัยทางการเมืองรุ่นแรกๆ ที่ครูรับเลี้ยงและน่าจะเป็นที่มาของการเปิดโรงเรียนดรุโณฯ คือลูกของบรรดา "กบฏวังหลวง" สองคนในนั้นก็คือแม่และน้าของฆัสรานั่นเอง พ่อของพวกเธอลี้ภัยการเมืองไปพร้อมกับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ แต่โชดดีที่หลังจากอยู่เมืองจีนร่วม 10 ปีก็กลับไทยได้ แต่ลูกคนอื่นๆ  รวมทั้งครูฉลบเองไม่โชคดีอย่างนี้ เพราะพ่อของพวกเขา และคุณจำกัด พลางกูรเอง เสียชีวิตที่ประเทศจีน

 

ส่วนลูกๆ อีกจำนวนหนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแม่และน้าฆัสราก็เช่น ลูกของสามเหยื่อ "คดีสวรรคต" ลูกของ "สี่สส.อีสาน" คนเหล่านี้เป็นใคร เป็นหน้าที่ของคนรุ่นหลังที่ควรจะศึกษาเพิ่มเติมเอาเอง แต่สำหรับคนที่พอจะรู้จประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงนั้นอยู่บ้าง เรียกว่าถ้าได้เจอลูกๆ คนเหล่านี้ ก็เหมือนเห็นวิญญาณกบฏและความทุกข์ยากจากภัยการเมืองของพวกเขาเดินตามมาด้วย 

 

ยิ่งหากใครรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นใคร เหตุการณ์ทางการเมืองเหล่านี้เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างใครกับใคร และไม่ใสซื่อทางการเมืองเกินไปแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากว่า ครูฉลบอยู่ข้าง "ผู้พ่ายแพ้ทางการเมือง" ในการเมืองไทยมาโดยตลอด แม้จนกระทั่งรุ่นนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519

 

ถึงอย่างนั้น เจอกันทีไรในหมู่เพื่อนๆ รุ่นแรกๆ ของดรุโณฯ ลูกๆ ผู้ประสบภัยเหล่านี้ก็จะมาสังสรรค์กัน พวกเขาไม่ได้แสดงท่าทีเคียดแค้นชิงชังใครในอดีต หรือแสดงความทุกข์ยากลำเค็ญแต่อย่างใด แทบทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งนี้สาวนสำคัญก็เนื่องมาจากการสานต่อชีวิตโดยครูฉลบทั้งสิ้น 

 

ดังนั้น เท่าที่ได้รู้จักพวกเขามาร่วม 20 ปรมี่พวกเขามาพบปะกันทีไร พวกเขาก็จะร่าเริง แจ่มใส สนุกสนาน และกลายเป็นเด็กนักเรียนในยามที่มาอยู่ต่อหน้าครู ความผูกพันต่อครูของพวกเขาลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน เกินกว่าที่ผมจะเล่าในที่นี้ได้ บางคนเล่าว่า แม้เมื่อยามที่คุยโทรศัพท์กับครูฉลบ พวกเขาก็ยังต้องนั่งพับเพียบเรียบร้อย เสมือนนั่งต่อหน้าครูด้วยซ้ำ

 

เมื่อใดที่พวกเขาพบปะกัน นอกจากฟังลุงๆ ป้าๆ และยายฉลบคุยกันเรื่องเก่าๆ ผมก็ได้พลอยรู้อะไรมาอีกหลายเรื่อง เช่น วีรกรรมที่ครูฉลบเล่าเรื่องการไปเยี่ยมนักศึกษา 6 ตุลาฯ ที่ติดคุก ครูหาซื้อข้าวปลาอาหารไปให้ ครูจำได้ว่าใครชอบกินอะไร พอบอกว่าผมไปเรียนกับ อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล แกก็ยิ่งเล่าเรื่องนี้บ่อยขึ้น 

 

บางทีครูก็เล่าย้อนไปถึงวีรกรรมที่ครูช่วยเสรีไทยและพวกเวียดนาม รวมทั้งที่ครูเป็นพี่สาวป้าลมภรรยานายผี รงมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวกับครอบครัวอาจารย์ปรีดี ซึ่งไปมาหาสู่กับครูเป็นประจำจนผมเองก็ได้เห็นคนในครอบครัวอาจารย์ปรีดีที่บ้านครูบ่อยๆ 

 

ช่วงการเมืองสีเสื้อ ลูกผู้ประสบภัยเหล่านี้ก็มีทัศนะต่างกันไปคนละทิศละทาง บางคนคิดเห็นไปในทางที่ผกผันกับอดีตตนเองอย่างเหลือเขื่อ พวกเขาคงไม่เชื่อมโยงชะตากรรมของบุพการีตนเองว่าเป็นขบวนเดียวกันต่อเนื่องมาถึงการเมืองปัจจุบัน แต่ฆัสราตั้งข้อสังเกตว่า นั่นก็อาจเป็นเพราะครูไม่ได้ปลูกฝังยัดเยียดความคิดทางการเมืองของครูให้เด็กๆ เหล่านั้น

 

ในงานสวดพระอภิธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้คนที่มางานนี้แต่ละคนต่างก็แปลกใจว่าป้าๆ แม่ๆ น้าๆ เหล่านี้เป็นใครกัน แล้วผมกับฆัสราทำไมมานั่งด้านหน้า มากันได้อย่างไร บังเอิญเจออาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งผมก็คุ้นเคยกับอาจารย์เป็นอย่างดี อาจารย์ก็ถามผมว่า "เกี่ยวข้องอย่างไรกับครูเหรอครัย" ผม ก็ต้องให้ฆัสราหลานกบฏวังหลวงมาตอบให้กระจ่าง 

 

น่าตกใจที่แม้แต่คนรุ่นนั้นก็ไม่รู้ว่าลูกหลานกบฏเหล่านั้นเติบโตกันขึ้นมาได้อย่างไร ไม่ค่อยมีคนสนใจว่าทำไมครูเปิดโรงเรียนดรุโณฯ ขึ้นมากันแน่ พวกนักเรียนรุ่นแรกๆ เองก็ไม่แน่ใจว่า ใครกันที่จัดหาให้พวกเขามาอยู่โรงเรียนประจำแห่งนี้ด้วยกัน ครูฉลบเอาจิตใจชนิดไหนและระดมทรัพยากรอย่างไรกันมาสร้างโรงเรียนและเลี้ยงดูเด็กๆ เหล่านี้จนเติบโตเป็นผู้เป็นคนขึ้นมา 

 

และยิ่งคิดไม่ออกเลยว่า หากครูไม่ทำแล้ว เด็กๆ เหล่านี้จะเป็นอย่างไร ครอบครัวของพวกเขาจะแบกรับภาระที่ส่วนใหญ่แล้วคนหารายได้หลักต้องลี้ภัยไปต่างประเทศไม่ก็เสียชีวิตไปเพราะถูกสังหาร ไหวหรือไม่ อันที่จริง แม่ๆ ป้าๆ น้าๆ เหล่านี้ก็พอจะรู้อยู่ว่า ลูกหลานคนเหล่านี้หลายคนที่ครูหาจนพบทีหลัง ลำบากกันขนาดไหน

 

ผมจึงค่อยๆ เข้าใจขึ้นมาว่า ครูฉลบเป็นแม่ของลูกกบฏเหล่านี้ เธอหล่อเลี้ยงเลือดเนื้อเชื้อไขของคนเหล่านี้ขึ้นมากับมือ ป้าๆ แม่ๆ น้าๆ เหล่านี้จึงรักใคร่ครูฉลบในฐานะแม่คนที่สอง ครูเป็นแม่ของพวกเขาตลอดกาล ความยิ่งใหญ่ของครู พวกเขารู้ดี แต่ไม่เท่ากับที่ครูเลี้ยงดูสานต่อชีวิตให้พวกเขา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้