Skip to main content

ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 

หากใครยังไม่ได้เห็นคำแนะนำในการเขียนงานของผม ผมเขียนแนวทางเบื้องต้นในการเขียนงานวิชาการไว้ที่นี่ https://blogazine.pub/blogs/yukti-mukdawijitra/post/5561

 

แต่เพียงแค่นั้นก็ยังไม่ทำให้งานเป็นงานขึ้นมาได้ งานเขียนมีระดับความลึกของมันอีกหลายชั้น ชั้นแรกเลยคือคำถามที่สังคมวิชาการ (ที่แคบที่สุดในระยะเริ่มต้นคือกรรมการวิทยานิพนธ์หรือ reviewers งานวิจัย จากนั้นก็ไปสู่แวดวงที่กว้างขึ้นอีกมาก) เขาจะถามคว่า งานชิ้นนี้มีข้อเสนออะไร อะไรคือ thesis ของงาน นั่นคือคุณต้องวิเคราะห์ หรือตีความ หรืออธิบายข้อมูลรายละเอียดของปรากฏการณ์ที่คุณศึกษา

 

นี่เป็นเรื่องที่ฟังดูง่ายๆ เป็นเรื่องที่เหมือนที่รู้ๆ กันอยู่ แต่ทำได้ยากมาก

 

ในขั้นเริ่มแรกที่สุด ตั้งแต่ที่คุณเสนอว่าจะศึกษาเรื่องนี้ จะเสนอแนวการวิเคราะห์แบบนี้ เขาจะตรวจสอบแต่แรกว่า ข้อเสนอคุณมีคุณูปการอะไรต่อวงวิชาการด้านที่เกี่ยวข้องกับคุณหรือไม่ มีแค่ไหน สมควรทำแค่ไหน แล้วเขาต้องประเมินก่อนว่าข้อเสนอนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะทำแค่ไหน คุณจะทำมันได้จริงไหม

 

เมื่อคุณมีข้อเสนอ งานมีคุณูปการต่อวงวิชาการ และมีความเป็นไปได้ที่จะทำ เขาจึงให้คุณทำวิจัย 

 

แล้วเมื่อคุณเขียนงานมาส่ง แวดวงวิชาการเขาจึงจะตรวจสอบว่า ข้อเสนอคุณนั้น "ยกเมฆ" มาหรือเปล่า "นั่งเทียน" มาหรือเปล่า คือมีหลักฐาน ข้อมูล รายละเอียดของปรากฏการณ์ที่นำไปสู่ข้อสรุปนั้นได้แค่ไหน จริงหรือเปล่า เพียงพอไหม คุณสรุปมากเกินไปหรือเปล่า คุณวิเคราะห์น้อยเกินไปหรือเปล่า หรือคุณยังไม่ได้วิเคราะห์อะไรเลยหรือเปล่า

 

อยากจะบอกนักศึกษาว่า วิทยานิพนธ์ไม่ใช่รายงานการสำรวจแร่ในถ้ำ ที่พอพวกเขาไปเจอมาแล้วเห็นว่าในถ้ำมีแร่มีหินอะไรก็เล่าๆๆๆ มา ต่อให้เป็นนักธรณีวิทยา แค่ทำอย่างนั้นเขาก็คงไม่ให้ปริญญาหรอก ดังนั้นใครก็ตาม เขียนงานอะไรก็ตาม จงถามตัวเองตลอดเวลาขณะเขียนว่า จะเขียนไปเพื่ออะไร จะเล่าไปทำไม เล่าแล้วได้สาระอะไรขึ้นมา ทำไมคนอ่านต้องอ่านสิ่งที่เล่ามาด้วย

 

การให้การศึกษาระดับสูงนี่เหนื่อยจริงๆ บางครั้งแทบจะต้องจับมือนักศึกษาเขียน แต่ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว เมื่อเขาจบปริญยาเอก ปริญญาโทไป ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ของผมเขาก็จะไปสอนหนังสือ เขาจะไปสอนใครได้ เขาจะไปเริ่มทำวิจัยเองได้อย่างไร แล้วผมจะนับถือเขาว่าเป็นนักวิชาการเช่นกันได้อย่างไร

 

ปัญหาพวกนี้มันคงเริ่มมาจากการที่นักศึกษาในระบบการศึกษาไทยอ่านหนังสือดีๆ น้อย ไม่ได้ถูกสอนวิธีการอ่านจึงอ่านหนังสือไม่ละเอียด ลำพังอ่านแค่จับใจความไม่พอ ต้องอ่านให้ได้ว่าหนังสือเขาประกอบเรื่องราวขึ้นมาอย่างไร คนเขียนเขาทำข้อเสนอให้เป็นประเด็นขึ้นมาได้อย่างไร 

 

แต่แค่นั้นก็ยังไม่พอ ยิ่งการอ่านในระดับอุดมศึกษา ถ้าอ่านกันจริงๆ ต้องตั้งคำถามให้ได้ว่า ด้วยข้อมูลเดียวกันกับที่หนังสือให้มานั้น จะวิเคราะห์ตีความอย่างอื่นได้ไหม แล้วมีข้อมูลอื่นที่จะทำให้สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้อีกไหม หรือมีแนวการวิเคราะห์อื่นที่จะช่วยให้ได้ข้อเสนอ ข้อสรุป ที่แตกต่างจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีที่หนังสือนั้นเสนอหรือไม่

 

งานให้การศึกษาในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย เป็นงานที่เหนื่อยมาก บางทีอ่านงานนักศึกษาหรืองานนักวิจัยแล้วท้อแท้มาก แต่ผมพยายามข่มอารมณ์ พยายามคิดถึงตัวเองตอนเริ่มทำงานวิชาการ แล้วคิดว่าเหนื่อยแค่ไหนก็ต้องทำ เพราะหากไม่ทำก็เท่ากับละทิ้งหน้าที่การทำงานวิชาการ

 

บางทีคิดว่า ตัวเองทำงานก่ออิฐโบกปูน จะมาบ่นว่าทำไมอิฐมันไม่รู้จักเรียงตัวกันขึ้นไปเองบ้าง ทำไมปูนมันไม่เกาะอิฐเองสักที ก็คงไม่ได้ เพียงแต่นี่เป็นงานสร้างคน จึงยังหวังว่าสักวันคนที่เรียนจะก่ออิฐ โบกปูนเองได้บ้าง แต่เมื่อยังไม่ถึงวันนั้น ก็สอนเขาก่ออิฐโบกปูนไปเรือยๆ อย่างนี้แหละ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้