Skip to main content

"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า" 

นั่นเป็นประโยคแรกๆ ที่เพื่อนอาจารย์ "ผู้ถูกคุมขังทางความคิด" กล่าวต่อผมหลังคำทักทาย ผมตกใจและแอบปลาบปลื้มใจที่อาจารย์ก้าวพ้นความตระหนกกลัวไปสู่ประสบการณ์ของขอบฟ้าที่แปลกใหม่แม้อยู่ในที่แคบๆ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ถูกละเมิดสิทธิ์การประกันตัว อันเป็นสิทธิ์ที่พึงได้รับในระหว่างดำเนินคดี หากใครติดตามกระบวนการในการดำเนินคดีลักษณะนี้อย่างใกล้ชิดเพียงพอ ก็จะเข้าใจได้ว่าผมไม่ได้กล่าวเกินเลยไปหรอก

 

แรกๆ ที่คุยกันอาจารย์คงเกร็ง ก็เลยเล่าเร็วๆ ว่าตื่นเช้าขึ้นมาจนเข้านอนในแต่ละวันก็มีกิจวัตรที่อาจารย์สรุปว่า "เหมือนกับที่ฟูโกต์กล่าวถึง docile body เลยนั่นแหละครับ" 

 

เมื่อผ่อนคลายขึ้น อาจารย์ก็เริ่มสนุก แล้วก็เล่าเรื่องประทับใจอย่างตื่นเต้นตาเป็นประกายเหมือนนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งกลับจากการวิจัยภาคสนามในดินแดนไกลโพ้น เช่น 

 

"ข้างในแมวเยอะมาก พวกมันจะนอนรวมกันอยู่มุมนึง นักโทษบางคนเขาก็ไม่ชอบแมว"

 

"แดนนี้เป็นแดนขังเด็กๆ (อายุไม่เกิน 30) ดีกว่าแดนที่เคยอยู่แม้จะแออัดกว่า เด็กๆ ดูสดใสกันมาก แต่ละคนต้องโทษคดีต่างๆ แต่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นมาก หลายคนชอบมาคุยกับผม ชอบมาถามโน่นถามนี่ เขาอยากเรียนรู้"

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ตื่นเต้นมากคือการนิยามพื้นที่ อาจารย์เล่าว่า "พวกเขาจัดการพื้นที่หลายอย่างด้วยวิธีของพวกเขา แม้แต่ห้องน้ำเอง เป็นที่รู้กันว่าหากมีม่านซึ่งพวกเขาทำกันเองกั้นอยู่ ทำที่เกี่ยวผนังกันเอง ก็อย่าไปรบกวน เพราะคนข้างในกำลัง "มาสเตอเบท" อยู่"

 

อาจารย์บอกว่าได้พบปะคนมากมายหลายแบบ จึงได้เขียนบันทึกไว้มากทีเดียว 

 

ส่วนกับครอบครัว อาจารย์เล่าว่าครอบครัวเข้าใจแกดี คุยกันตลอด พวกเขาดำเนินชีวิตตามปกติ 

 

สุดท้าย ผมฝากคำพูดกับอาจารย์ไว้ว่า "นักวิชาการจากทั่วโลกกำลังเฝ้าดูอยู่ ปีนี้จะมีการประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทย 3 รายการ นักวิชาการเหล่านี้รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น" 

 

อาจารย์แทรกว่า "งานผมได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอด้วย" ผมเลยกำชับว่า "หวังว่าอาจารย์จะได้ออกมาและได้ไปเสนองาน แต่หากอาจารย์ไม่ได้ออกมาทันเสนองานที่อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอ นักวิชาการเหล่านี้ก็จะต้องทำอะไรบางอย่าง"

 

ผมเห็นอาจารย์กระตือรือล้นมาก เห็นอาจารย์ตื่นเต้นกับเรื่องราวและผู้คนแปลกใหม่ ได้รับรู้ความรู้สึกแรกที่อาจารย์อยากบอกเล่าที่เป็นเรื่องประสบการณ์ต่อที่ว่าง จากมุมของคนที่อยู่ในที่แคบ แล้วก็ตื้นตันใจและมั่นใจว่าอาจารย์มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิตช่วงนี้อย่างเปี่ยมล้น

 

ที่จริงหลังจากที่อาจารย์บอกว่า "ฟ้าข้างในกว้างกว่าข้างนอก" อาจารย์ก็บอกอีกว่า "แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นพระจันทร์นะ เพราะตอนกลางคืนต้องเข้าห้อง" 

 

ผมคิดว่าคำพูดอาจารย์เป็นประสบการณ์ที่เยาะเย้ยเสรีภาพจอมปลอมนอกห้องคุมขัง พร้อมๆ กับเป็นคำดูแคลนการกักขังเรือนร่างกลวงเปล่า เพราะอย่าว่าแต่ความสำนึกคิดของอาจารย์เลย แม้แต่เลือดเนื้อ ผัสสะ ที่ก่อรูปประสบการณ์ของอาจารย์ ก็ไม่อาจถูกคุมขังได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์