Skip to main content

เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไรจากบทสนทนา ผมจับได้ว่าเธอคงคาดหวังให้ผมตอบอะไรประเภทที่ว่า สังคมควรช่วยกันตรวจสอบการสะกดผิด และคนใช้ภาษาควรใช้ภาษาให้ถูกต้องไม่วิบัติ แต่ผมกลับตอบไปตรงกันข้าม จนทำให้ผมต้องบอกเธอว่า "นี่เป็นความเห็นของผม คุณจะไม่เอาไปพิมพ์ในวารสารของคุณก็ได้นะ"

ผมตอบว่า หนึ่ง สังคมคาดหวังกับเรื่องนี้มากเกินไป การพิมพ์ผิดไม่ได้มีแต่การพิมพ์คะ ค่ะ แต่คำง่ายๆ อื่นๆ อย่าง "เพิ่ง" ก็พิมพ์เป็น "พึ่ง" หรือแม้แต่ผมเอง บางทีก็เขียน "มั้ย" เป็น "ไม๊" ซึ่งผิดหลักการเขียนภาษาไทย แต่คนก็พิมพ์ผิดกันเป็นประจำอยู่แล้ว

ผมว่าที่เป็นอย่างนี้เพราะมันเป็นการใช้ภาษาอย่างไม่เป็นทางการ ภาษาที่ไม่เป็นทางการ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน มันไม่จำเป็นต้องถูกต้องตรงตามหลักอะไรชัดเจนหรอก ผมถามนิสิตคนนั้นดูว่า "คุณคิดว่าถ้าในระหว่างที่มีการสนทนากัน แล้วใครมาคอยบอกคุณทุกคำควบกล้ำและการออกเสียง "ร" ว่าต้องออกเสียงให้ชัดทุกคำ คุณจะอยากคุยกับเขามั้ย" แล้วผมถามอีกว่า "คุณพิมพ์ "การันต์" ทุกตัว ทุกคำ ในการเขียนบทสนทนากับเพื่อนคุณเหรอ"

ความคาดหวังนี้ ผมว่ามาจากการที่สังคมเรามีสำนึกอำนาจนิยมในการใช้ภาษา ต้องการสร้างความมาตรฐานของภาษาแล้วเอามาตรฐานนั้น ที่กำหนดโดยคนบางกลุ่ม ในกรุงเทพฯ ไปครอบคนใช้ภาษาปากทั่วๆ ไป และคนใช้ภาษาถิ่นอื่นๆ

อีกประเด็น ผมว่าการแยกคำว่า "คะ" กับ "ค่ะ" เป็นภาระของผู้หญิงมากเกินไป ทำไมผู้ชายไม่ใช้ "ครับ" "ขรั่บ" บ้างล่ะ ออกเสียงให้ต่างกันและเขียนให้ต่างกันในการถามและตอบรับบ้างสิ ผมว่ามันเป็นภาระของผู้หญิงที่จะต้องทำเสียงให้แตกต่างออกไป ส่วนผู้ชายสบายกว่า ไม่ว่าจะออกเสียงอย่างไร ก็เขียนแบบเดียวพอ อันนี้เป็นอุดมการณ์เพศที่แบ่งแยกหญิง-ชายในภาษา แยกเพศแบบมีแค่คู่หญิง-ชายเท่านั้นยังไม่พอ ยังไปคาดคั้นให้ผู้หญิงมีความลำบากในการใช้ภาษามากกว่าอีก

ประเด็นสุดท้าย ผมถามเธอว่า "แล้วคุณคิดว่าทำไม "ไ" กับ "ใ" ถึงเขียนไม่เหมือนกัน" เธอตอบว่า "คงเพราะเป็นเอกลัษณ์ของภาษาไทย" ผมบอก ถ้าตอบแค่นั้นมันไม่พอ คุณต้องลองค้นคว้าดูแล้วจะพบว่า "ไ" กับ "ใ" เดิมทีมันออกเสียงไม่เหมือนกัน แล้วคุณจะไปบอกว่าปู่ย่าตาทวดคุณทำไมไม่อนุรักษ์ภาษาไทย ทำไมทำลายภาษาไทย ไม่คงความแตกต่างของเสียงไว้แล้วมาทำให้คนรุ่นหลังสับสนทำไม อย่างนั้นหรือ

เธอถามผมว่า "แล้วอาจารย์คิดว่าเราไม่ต้องทำอะไรเหรอคะ" ผมตอบว่า "ตราบใดที่มันเป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ ก็ไม่เห็นต้องทำอะไรเลย ถ้าในการเขียนแบบเป็นทางการ ค่อยว่ากัน มันแค่เป็นคนละบริบทการใช้ภาษากัน ก็ใช้ภาษาไม่เหมือนกัน เท่านั้นเอง"

ภาษาเปลี่ยนแปลงตลอด เราไม่ได้พูดแบบเดียวกันกับที่คนเมื่อร้อย สองร้อยปีที่แล้วพูดหรอก เราไม่ได้เขียนแบบเดียวกับที่คนเมื่อก่อนเขียนเหมือนกันหรอก อย่าไปใช้อำนาจนิยมภาษากับอุดมการณ์ความเป็นเพศแบบตายตัวกำหนดอะไรในภาษาให้มากนักเลย ไม่ต้องคาดคั้นให้คนใช้ภาษาแบบเดียวตลอดเวลาหรอก สังคมไทยมันไม่ล่มสลายเพราะภาษาเปลี่ยนไปทุกวันหรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ