Skip to main content

ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย

1. ตำรวจในภาพที่ดูน่ากลัว ชอบข่มขู่ชาวบ้าน หายไปเมื่อเขาเผชิญหน้ากับอำนาจอย่างอื่น ผมเองอาจเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่กลับไปข่มขู่ตำรวจได้ ตำรวจชั้นผู้น้อยแทบจะมือไม้สั่นเมื่อเอาเอกสารมายื่นให้ผมลงนาม ตำรวจไม่กล้าสบตาเมื่อผมซักไปจนเขาจนมุมด้วยเหตุผล

 

เมื่ออยู่ต่อหน้าอำนาจที่ "สูงสุด" ในกระบวนการยุติธรรมไทย คือผู้พิพากษา ตำรวจระดับ "ผู้กอง" ก็ลุกลี้ลุกลนมากได้ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มากอำนาจและบารมี มือไม้สั่น ตอบคำถามตะกุกตะกัก แทบสิ้นสติ ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาเตรียมตัวมาไม่ดี หรือไม่ก็เพราะเขารู้อยู่แก่ใจว่าเขาไม่มีหลักฐานมากพอตามที่กล่าวหาผู้ต้องหาด้วย

 

2. ภาษาเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของตำรวจไม่น้อยไปกว่าอาวุธและเครื่องมือหนักอื่นๆ ตำรวจใช้ภาษาเป็นเครื่องมือของอำนาจผ่านการจดบันทึก การทำเอกสาร การอ่าน การลงนาม ในเกมของอำนาจนี้ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าใครภาษาไม่ดี ใครตรรกของการสื่อสารไม่ดี ก็จะตกเป็นเบี้ยล่างได้ง่ายๆ  

 

ความน่าเป็นห่วงก็คือ ในเกมอำนาจของภาษานี้ ตำรวจใช้ภาษาได้แย่มาก ทั้งพิมพ์ผิดมาก ผิดแม้กระทั่งหัวเอกสารลงชื่อผู้ต้องหาคนหนึ่ง แต่ในเอกสารลงชื่ออีกคนหนึ่ง พิมพ์ชื่อสถานที่เกิดเหตุผิด เว้นวรรคผิด ใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด สะกดผิดมาก ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ใช้ภาษาไม่ค่อยเป็นตรรกเหตุผลมากนัก การจัดเตรียมเอกสาร การพิมพ์เอกสารต่างๆ ทั้งๆ ที่มีผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก กระทำโดยแทบจะไม่มีการไตร่ตรองตรวจทาน

 

นี่ยังไม่นับว่า ถ้อยคำทางกฎหมาย หรือ technical terms ทางกฎหมายต่างๆ มีอีกมาก ถ้าประชาชนไม่รู้เท่าทัน ถ้าทนายไม่เก่ง ไม่จริงจังพอ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีประสบการณ์มากพอ ก็ตกหลุมพรางของอำนาจภาษามั่วๆ ของตำรวจได้ง่ายๆ

 

3. งานส่วนใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมคืองานเอกสาร กระดาษจำนวนมากถูกใช้ในงานเอกสาร ในการจัดการกับผู้ต้องหาหนึ่งคน ระบบทั้งหมดมีต้นทุนสูงมาก แค่คดีเล็กๆ ของคนคนหนึ่ง เอกสารของตำรวจก็เกือบร้อยหน้า ที่พิมพ์ซ้ำๆ ซากๆ เอกสารของทนายอีกนับร้อยหน้า ภาระของระบบในการพิจารณาชีวิตคนหนึ่งคนไม่มีน้อยทีเดียว แม้ว่าจะเป็นเพียงคดีเล็กน้อยเท่านั้น

 

เอกสารที่ทั้งกระบวนการผลิตมาให้ผู้รับผิดชอบต้องอ่านต้องพิจารณากันเหล่านี้ ไม่แน่ใจว่าทุกตัวอักษร ทุกหน้า จะได้รับการพิจารณาถี่ถ้วนแค่ไหน ยังไม่นับว่า ภาษาเขียนไม่ดีอีก ทำให้อาจจะอ่านเนื้อความคลาดเคลื่อนได้ง่าย แล้วผลคือจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้มากขนาดไหนจากเอกสารยุ่งเหยิงเหล่านี้

 

4. ในกระบวนการยุติธรรมมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันของอำนาจหลายระดับ ศาลตรวจสอบตำรวจ ธุรการศาลมีอำนาจนอกเหนือจากศาล ทนาย ถ้าเก่ง แม่นยำ มีไหวพริบ และมีศักดิ์ศรีพอ ก็พอจะตรวจสอบถ่วงดุลตำรวจและศาลได้บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ "อะไรอื่นๆ" อีกมากมายที่มองไม่เห็น ที่นอกเหนือสถานการณ์เฉพาะหน้าของการดำเนินคดี หากดูไปหลายๆ คดี คงได้เห็นการใช้อำนาจกันหลายลักษณะมากกว่าแค่ครึ่งวันนี้

 

5. เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมไทยไม่น้อย มีกรณีที่ศาล "พิจารณา" (เขาเรียกว่า "ชี้" คืออะไรไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการ) ผ่านเทเลคอม สื่อสารกันผ่านหน้าจอทีวี ไม่ได้เจอตัวกันตรงๆ บางกรณีก็พบเจอกันตรงๆ (ไม่ค่อยเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร หรือด้วยเหตุผลอะไร) สนทนากันต่อหน้าต่อตา

 

อีกเทคโนโลยีคือเครื่องมือ dictate น่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้พิพากษากับเสมียนศาล เป็นการบอกให้พิมพ์คำพิพากษากันสดๆ ต่อหน้าผู้ร้อง ทนาย ผู้ต้องหา ผู้รวมเข้าฟัง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วผู้พิพากษาจะแก้ด้วยมืออีกที

 

น่าจะมีการศึกษาการพิจารณาคดีและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยด้วยวิธีการแบบมานุษยวิทยากันอย่างจริงๆ จังๆ เสียที หรืองานแบบนี้จะทำแทบไม่ได้หากไม่ได้เป็นผู้ต้องคดีเสียเองก่อน การศึกษาอย่างมีส่วนร่วมด้วยการตกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบนี้เสียก่อนคงเป็นวิธีการที่ไม่มีนักมานุษยวิทยาคนไหนอยากทำ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร